วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การใช้เครื่องมือในการดำเนินงาน


ชื่อ  นางวาสนา  กุลละวณิชย์
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด...สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อสะดวก...085 - 9102930
เหตุการณ์นี้บันทึกเป็นความรู้จากการปฏิบัติงาน
เมื่อดำรงตำแหน่งพัฒนากร อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา

ในปัจจุบันได้เกิดกองทุนชุมชนขึ้นเป็นจำนวนมากภายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) กองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ กลุ่มต่างๆเหล่านี้ได้เกิดขึ้นมาหลายปี ทำให้มีการเจริญเติบโตมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณของเงินทุน และปริมาณของสมาชิก ความเสี่ยงต่างๆก็สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆกรณี เช่น  การทำงานอย่างหละหลวม ความขัดแย้งที่เกิดจากคณะกรรมการ สมาชิก เอกสารกองทุน  การผิดสัญญา เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่อาจจะนำไปสู่การฟ้องร้องกันขึ้นได้

จากการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนในช่วงเกือบสองปี พบว่ากองทุนที่มีการบริหารจัดการเรื่องเอกสารหลักฐาน ครบถ้วน จะไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องเป็นการทำงานที่สามารถตรวจสอบได้ โปร่งใส สมาชิกเกิดความไว้วางใจในการดำเนินงาน แต่ในกองทุนที่คณะกรรมการกองทุนทำเอกสารไม่ครบถ้วน ทำงานไม่ตามตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่ได้รับแต่งตั้ง มักจะพบปัญหาในการดำเนินงานอยู่เสมอ ในการติดตามสนับสนุนการดำเนินงานการเงินกองทุนชุมชน คือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) โดยใช้เครื่องมือ “ปรอทวัดสุขภาพทางการเงิน” ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยวัดสุขภาพทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน เพราะมีเกณฑ์ในการประเมินสุขภาพในด้านต่างๆ ทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติงานและเป็นไปตามกรอบที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดขึ้น

โดยให้มีการตั้งทีมตรวจสุขภาพ ศึกษาข้อมูลสถานการณ์กองทุนชุมชนเบื้องต้น ประเมินสุขภาพกองทุนชุมชนโดยการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย และร่วมกันวิเคราะห์ผลการประเมินสุขภาพกองทุนการเงินชุมชน เมื่อพบสาเหตุสุขภาพกองทุนชุมชนที่เป็นปัญหา ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ก็นำสาเหตุมากำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยแบ่งช่วงระยะการติดตามประเมินผลตามแผนการพัฒนาของกองทุนออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 หลังจากตรวจสุขภาพ 6 เดือน และระยะที่ 2 หลังจากติดตามประเมินผลระยะที่ 1 อีก 6 เดือน

จะเห็นได้ว่าการตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนชุมชน มีผลดีสำหรับกองทุนที่ได้รับการตรวจสุภาพ ซึ่งจะได้นำเอาประเด็นปัญหาที่ตรวจพบ และคำแนะนำของทีมตรวจสุขภาพฯ ไปเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนากองทุนต่อไป

ขุมความรู้
1. ปรอทวัดสุขภาพทางการเงิน เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการตรวจสอบกองทุน
2. การบริหารจัดการที่ดี ทำให้มีผลการตรวจสุขภาพการเงินในระดับที่ดี

แก่นความรู้
1. ต้องทราบปัญหาและสาเหตุจึงจะแก้ไขปัญหาและวางแผนพัฒนาได
2. ระดับการประเมินสุขภาพจะช่วยให้กองทุนทราบสถานการณ์ภาพรวมกองทุนและเป็นตัวกระตุ้นให้มีการแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อให้มีระดับการประเมินที่ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น