วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การใช้ประโยชน์จากแผนชุมชน

ชื่อ - นามสกุล   นายสาโรช   วันประสาท
ตำแหน่ง   เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
เบอร์โทรที่สามารถติดต่อได้  084 - 7107451       end_of_the_skype_highlighting
ชื่อเรื่อง     การใช้ประโยชน์จากแผนชุมชน
สถานที่เกิดเหตุการณ์   อำเภอสนามชัยเขต   จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง 
แผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันเพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง ให้เป็นไปตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกันได้ โดยคนในชุมชนได้มาร่วมกันคิด ร่วมกำหนดแนวทาง และกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก ด้วยการคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก
อ่านออกเสียง

แผนชุมชนที่มีคุณภาพ   คือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง   การจะทำให้แผนชุมชนมีคุณภาพ ต้องมีขั้นตอน/กระบวนการแผนชุมชน  วิธีการได้มาของแผนชุมชนต้องทราบข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชน มีจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรคอะไรบ้าง ศักยภาพเป็นอย่างไร เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนสู่แผนชุมชนได้ วิธีการดังกล่าวเกิดผลสำเร็จคือ การประเมินคุณภาพ แผนชุมชน  แผนที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ ๓ เอ  เนื่องจากมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำสตรี, กลุ่มผู้นำชุมชน  มีส่วนในการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนซึ่งสะท้อนความต้องการ/ปัญหาของชุมชนอย่างละเอียด มีโอกาสได้รับงบประมาณสนับสนุน/ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย โดยแผนชุมชนแบบพึ่งตนเอง (ทำเอง) มีโอกาสแก้ไขปัญหาในชุมชนได้สูง  ปัญหาชาวบ้านไม่นำแผนชุมชนไปใช้ประโยชน์ 

วิธีการแก้ไข คือ หลังจากได้แผนชุมชนให้ชาวบ้านสำนึกเสมอว่า  ต้องทำตามแผนชุมชนที่ร่วมกันคิดขึ้นมาและต้องติดต่อประสานหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุนได้  แล้วพยายามผลักดันให้แผนชุมชนได้รับการสนองตอบ กระบวนการแผนชุมชน  ต้องนำองค์ความรู้ให้ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน โดยเน้นกระบวนการแผนชุมชน ตามขั้นตอน ซึ่งจะทำให้มีแผนชุมชนตามความต้องการของชุมชน ในทางปฏิบัติปัญหาการจัดทำแผนชุมชนเกิดจากไม่รู้วิธีการ/ขั้นตอนกระบวนการแผนชุมชน  และวิธีการให้คนเข้ามามีส่วนร่วม วิธีการได้มาของข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล วิธีแก้ไขคือต้องให้องค์ความรู้ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน ให้สามารถเป็นวิทยากรกระบวนการของชุมชนเอง สามารถตั้งคำถามแก่ชุมชน และกระตุ้นให้ชุมชนได้ตอบปัญหาของตนเอง หาแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเอง การบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบลและระดับอำเภอ ต้องพูดคุยกันและทำความเข้าใจเพื่อกำหนด
ทิศทางของตำบล/อำเภอหรือแนวทางของตำบล/อำเภอ นำแผนชุมชนมาบูรณาการ โดยบูรณาการโครงการที่สอดรับและสามารถตำเนินการไปในทิศทางเดียวกันได้ คือหัวใจการบูรณาการแผนชุมชน     

อ่านออกเสียง
ขุมความรู้
  • แผนชุมชนมีคุณภาพต้องมีขั้นตอน/กระบวนการแผนชุมชน คำนึงถึงวิธีการได้มาของแผนชุมชน ไม่คำนึงถึงรูปเล่ม   
  • หัวใจการบูรณาแผนชุมชน คือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงระหว่างท้องถิ่นกับท้องที่ ต้องเป็นไปแนวทางเดียวกัน   
  • แผนชุมชนควรเริ่มที่ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน  เน้นจากล่างสู่บน  โดยนโยบายให้ความสำคัญแผนชุมชนยังไม่ต้องกำหนดกรอบ/รูปแบบ  แต่ควรเน้นการจัดทำแผนให้ครบทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ  ความปลอดภัย  โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ                
  • ทำไปเรียนรู้ไป แก้ไขปัญหาไป                                                                     
  • ให้เกียรติและความสำคัญกับทีมงานให้ความสำคัญกับคนเก่งทุกระดับ 
  • เป็นนักประสานงานที่ดีมีมนุษย์สัมพันธ์ เป็นนักประชาสัมพันธ์  เป็นนักจุดประกายขาย
    ความคิดและขยายผล   
  • เชื่อมโยงหลักการตามตำรากับสถานการณ์เฉพะหน้าให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม ตื่นตัวอยู่เสมอๆ มีความสามารถในการตัดสินใจ จูงใจ มีความรอบรู้ทันเหตุการณ์                                          
แก่นความรู้                                                                                    
  • จัดเวทีประชาคม ยึดหลักการมีส่วนร่วมได้ทุกโอกาส
  • สร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นสร้างกติกา กฎระเบียบ ยึดเป็นหลักปฏิบัติภายในชุมชน
  • การจัดทำแผนชุมชนต้องมีข้อมูลและเกิดจากความต้องการของชุมชนนำพาผลประโยชน์ที่เกิดจากแผนย้อนกลับสู่ชุมชนด้วยหลักธรรมาภิบาล
  • การเข้าใจปัญหาให้คำปรึกษาและไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น