ชื่อ-นามสกุล นางวันวิสา
ทองหาญ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อได้สะดวก 081-8643859
ชื่อเรื่อง บทบาทใหม่กับงานนักวิชาการจังหวัด
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ต้นปี 2555
สถานที่เกิดเหตุ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
บทบาทของการรับราชการครั้งแรก
เมื่อปี 2539 ในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ในปี 2541 ก็ได้รับบทบาทในการเป็นพัฒนากรประจำตำบลเป็นครั้งแรก
และในปี 2555 ได้รับบทบาทให้เป็นนักวิชาการจังหวัดซึ่งก็ไม่ค่อยมั่นใจในตนเองนัก
ว่าจะสามารถปฏิบัติงานได้ดีสักแค่ไหน แต่เมื่อได้ปฏิบัติงานดูแล้ว
ทำให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจในหลายด้านทางวิชาการ
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เป็นงานที่รับผิดชอบงานหนึ่ง เมื่อมาบทบาทนักวิชาการจังหวัดและโครงการส่งเสริมการตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นโครงการแรกที่ต้องดำเนินการ
ซึ่งเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่เนื่องจากมีเพื่อนร่วมงานที่ดี
ทำให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
โครงการส่งเสริมสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อตรวจสุขภาพทางการเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ให้มีการกำกับ ควบคุมการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส
เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีการจัดทำ Mobile Clinic
เพื่อเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า
“ปรอทวัดสุขภาพทางการเงิน” วิธีการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินนี้
เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพร่างกายมนุษย์
ซึ่งจะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงและป้องกันด้วย
และมีวิธีการวางเป้าหมายในการพัฒนาแก่องค์กรการเงินชุมชนได้อย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การสร้างทีมตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นวิธีการที่ทำให้การตรวจสุขภาพทางการเงินมีประสิทธิภาพ
ถูกต้อง
จังหวัดได้แต่งตั้งทีมตรวจสุขภาพทางการเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับอำเภอให้ดำเนินการตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตามแบบประเมินสมุดตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์ออมทรัพย์เพื่อการผลิต จังหวัดฉะเชิงเทรามีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เป้าหมาย จำนวน 30 กลุ่ม (เฉลี่ยอำเภอละ 2-3 กลุ่ม)
บันทึกขุมความรู้
การทำงานทุกอย่างที่ได้ทำคือการได้เรียนรู้และทำให้เราได้เกิดประสบการณ์ที่ดี
มีความรู้ ความเข้าใจในงานนั้นๆ มากยิ่งขึ้นและผู้ร่วมงานคือบุคคลสำคัญที่จะทำให้งานทุกงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
หลักการ
1.เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้มีความเข้มแข็งมีธรรมาภิบาล
โดยอาศัยหลักคุณธรรม 5 ประการ คือ มีความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ
ความไว้วางใจ และความเห็นอกเห็นใจ
2.เพื่อให้ทีมตรวจสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ระดับจังหวัด/อำเภอ สามารถพัฒนาและ
ทำแผนพัฒนาให้กลุ่มอมทรัพย์เพื่อการผลิตได้มีการพัฒนาไปสู่ความโปร่งใส
ยุติธรรม และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
3.เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กันประชาชนในการต่อสู้กับปัญหา
4.เพื่อเป็นการสร้างเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม
แก่นความรู้
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดของสหกรณ์การเกษตรเครดิตยูเนี่ยน
และสินเชื่อเพื่อการเกษตรโดยใช้ “เงินเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน”
ทำให้คนมีคุณธรรม มีการช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้ออาทร แบ่งปันซึ่งกันและกัน
เกิดกระบวนการเรียนรู้การทำงานร่วมกันตามวิถีทางประชาธิปไตย
มีการยอมรับฟังความคิดเห็นของเสียงส่วนใหญ่ เคารพในกติกาที่มาจากข้อตกลงร่วมกัน
เกิดการเรียนรู้ การบริหารจัดการเงินทุนของตนเองเพื่อจัดสรรผลประโยชน์
และจัดเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิก
ทำให้ชุมชนมีแหล่งทุนในการประกอบอาชีพเป็นของตนเอง ลดการพึ่งพิง ทำให้ชุมชนมีแหล่งทุนจากภายนอกชุมชน
และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นการฝึกคนให้มีความอดทน มีสัจจะ
มีระเบียบวินัยในการใช้เงิน รู้จักใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุ มีผล มีความเหมาะสม
พอประมาณกับตนเองและครอบครัวเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กันครอบครัวและชุมชน
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
กลยุทธ์ในการทำงาน
1.แต่งตั้งทีมตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับอำเภอ
เพื่อความสะดวกรวดเร็วและแม่นยำ
ในการตรวจสุขภาพทางการเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
2.กำหนดขั้นตอน และวิธีการ
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3.ประชุม สร้างความรู้ความเข้าใจ
แก่ทีมตรวจสุขภาพให้สามารถดำเนินการตรวจสุขภาพได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
กฎระเบียบ
แนวคิดและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการประชุมระหว่างประเทศ
พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และคำสั่งจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ 1975/2553
ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น