วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ครัวเรือนยากจน...แก้ได้ด้วยพลังชุมชน

ชื่อ - สกุล   ว่าที่ ร.ต.จักพันธ์   คำแท้
ตำแหน่ง    นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก      08-7780-4436
ชื่อเรื่อง     ครัวเรือนยากจน...แก้ได้ด้วยพลังชุมชน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ  ความยากจน
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ  ปี พ.ศ.2554-2555
สถานที่    ตำบลคลองจุกกระเฌอ

เกริ่นนำ    
กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพหลัก  ในการแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้โครงสร้างของ "ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย (ศจพ.มท.) โดยหลักการสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ได้น้อมนำ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" และ “หลักการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ”
เชิงพื้นที่มาเป็นแนวทางปฏิบัติงาน และให้บูรณาการทำงานกับหน่วยงานภาคีทุกภาคส่วน ร่วมกับชุมชน
ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา (ศจพ.อ.) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลครัวเรือนยากจนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ที่ได้จากเวทีประชาคม และข้อมูลผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี 2554 จากนั้น ศจพ.ต.ทำการจัดเวทีประชาคมตรวจสอบครัวเรือนยากจนซึ่งมีรายได้เฉลี่ย ต่ำกว่า 23,000  บาท/คน/ปี  นำมาวิเคราะห์ปัญหารายครัวเรือน และรับรองผลการตรวจสอบข้อมูลครัวเรือนยากจน โดย ศจพ.อ. รับรองข้อมูล ซึ่งมีครัวเรือนยากจนที่ผ่านการตรวจสอบจากเวทีประชาคม  จำนวน  12  ครัวเรือน  แยกประเภทครัวเรือนเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่  1  หมายถึงครัวเรือนยากจนที่ต้องได้รับการสงเคราะห์เพียงอย่างเดียว จำนวน 8 ครัวเรือน
ประเภทที่  2  หมายถึงครัวเรือนยากจนที่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพเพียงอย่างเดียว จำนวน 4 ครัวเรือน

ในส่วนของตำบลคลองจุกกระเฌอ มีครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ.ปปี54. ที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 23,000 บาท/คน/ปี จำนวน 4 ครัวเรือน 1, .นางเจริญ  ใจรักธรรม(สงเคราะห์) 2.น.ส.ประทิน  เจียมอาต(สงเคราะห์ 3.น.ส.อนงค์ แปลกสกุลสมบัติ(พัฒนาได้) 4.นายสุพล เป้าสูงเนิน(พัฒนาได้) การติดตามครัวเรือนเหล่านี้ก็ใช้ทีมปฏิบัติการตำบล (ทีมเคาะประตู) แก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ 

วิธีเคาะประตูบ้านจากทีมปฏิบัติการ และตรวจสอบข้อมูลความเป็นไปได้เพื่อดำเนินการ โดยการจัดทำเวทีประชาคม หรือใช้ข้อมูล จปฐ.และใช้การพิจารณาจากทัศนะต่อชีวิตหรืองานที่ทำ ศึกษาทักษะฝีมือการทำงานโดยการประเมินจากทรัพยากร ที่ดิน ปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ ตัดสินใจและหาทางออกให้กับครอบครัวยากจนเหล่านั้นโดยแยกเป็น กลุ่มที่ควรสงเคราะห์ หรือกลุ่มที่สามารถพึ่งตนเองได้และบันทึกลงในสมุดแก้ไขปัญหาความยากจนรายครัวเรือน (Family Folders) เพื่อสร้างความตระหนักและยอมรับสาเหตุของความยากจนของตนให้ได้ เพื่อใช้เป็นคู่มือในแก้ไขปัญหาและติดตามผลในการแก้ไขปัญหาความยากจน สำรวจปัญหา ศักยภาพและความต้องการในการแก้ไขปัญหาความยากจน ตามแนวทาง   4 ท. คือ ทักษะ  ทัศนะ ทรัพยากร ทางออก เป็นรายครัวเรือน   

เมื่อได้ข้อมูล..ทำการประชุมศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท  ตามปรัขญาเศษรษฐกิจพอเพียงระดับตำบลคลองจุกกระเฌอ (ศจพ.ต.)  เพื่อนำข้อมูลมากำหนดทิศทางให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น โดย องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ ดูแลเบี้ยยังชีพ และเบี้ยพิการ ตามหลักเกณฑ์ ฌาปนกิจตำบล สร้างบ้านเทิดไท้ นำเข้าแผน อบต.ส่งเสริมอาชีพครัวเรือนยากจน / โรงเรียนวัดคลองจุกกระเฌอให้เด็กนักเรียนนำผลผลิตของครัวเรือนยากจน(ถ้ามี) ขายในตลาดนัดข้าง อบต. วันอังคารและวันเสาร์ซึ่งนักเรียนได้ขายเห็ดของโรงเรียนที่ปลูกได้อยู่แล้ว และจะให้เด็กนักเรียนทำบุญช่วยเหลือครัวเรือนยากจนหน้าเสาธงในวันพระ /วัดคลองจุกกระเฌอ  บริจาคตู้ใส่เงินขนาด 30x30 ซม.เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนยากจน โดยตั้งตู้ที่วัดฯ เพื่อให้ผู้ใจบุญได้ทำบุญช่วยเหลือ/ กศน. ส่งเสริมอาชีพผู้พิการ การเพาะเห็ด การทำปุ๋ยชีวภาพ/กาชาดจังหวัด มอบเตาแก๊สปิกนิก/พัฒนาสังคมฯมอบเงิน 2,000 บาทให้ครัวเรือนสงเคราะห์/กองทุนหมู่บ้านช่วยข้าวสารอาหารแห้ง เงินช่วยเหลือ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนการตรวจสุขภาพ การทำข้อมูลขอใบรับรองความพิการเพื่อให้แพทย์เป็นผู้ประเมิน/พัฒนาชุมชน แนะนำการจัดทำบัญชีครัวเรือน การดำรงชีวิตแบบพอเพียง และการเยี่ยมเยียนเพื่อเป็นกำลังใจ/พัฒนาชุมชน กรรมการหมู่บ้าน โรงพยาบาลชุมชน ดำเนินการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของ น.ส.ประทิน  เจียมอาต เพื่อได้รับสิทธิต่างๆ

แก่นความรู้   
ครัวเรือนยากจน...แก้ได้ด้วยพลังชุมชน ต้องยอมรับว่าการมีข้อมูลที่ดีนั้นมีชัยชนะไปกว่าครึ่ง นั้นก็หมายถึง การจัดทำข้อมูลในระดับพื้นที่ของทีมเคาะประตูบ้าน และการส่งต่อโดยการใช้กลไก ศจพ.ต/อ/จ. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารชีวิต และดูแลชีวิต ทำให้คุณภาพชีวิตครัวเรือนเป้หมายดีขึ้นมองเห็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาได้ชัดเจน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน

แนวคิด
ทฤษฎีที่นำมาใช้    การทำงานเป็นทีม/การจัดการความรู้/การมีส่วนร่วม/การบริหารจัดการ
เจ้าของความรู้.. ว่าที่ ร.ต.จักพันธ์   คำแท้  ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น