ชื่อ-นามสกุล นายชลิต นพรัตน์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
เบอร์โทรศัพท์ 08-6113-8742
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2553-2554
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
จากการเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่
8 ตุลาคม 2553 จนกระทั้งถึงปัจจุบัน (31 พฤษภาคม 2555) ในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านของอำเภอท่าตะเกียบ
(ตามแผนผัง) เริ่มต้นจากเมื่อครบกำหนดการชำระหนี้เงินกู้ยืมตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดประชุมเพื่อชี้แจง และกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้หรือการทวงถาม
หลังจากนั้นผู้กู้ยืมเงินจะนำเงินมาชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนด
ซึ่งอาจเป็นการส่งเงินคืนด้วยตนเอง หรือฝากผู้อื่นมาชำระแทน โดยในกรณีหลังมักจะมีปัญหาการยักยอกเงินเกิดขึ้น
นอกจากนั้นในบางรายพบว่าไม่มีเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน
ซึ่งอาจจะไม่มีเพียดอกเบี้ย หรือไม่มีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจึงจำเป็นต้องกู้ยืมเงินระยะสั้นจากญาติพี่น้อง
นายทุน ทำให้เกิดการสร้างหนี้นอกระบบ นอกจากนั้นยังพบปัญหาการชำระหนี้ผิดบัญชีในบางครั้งเมื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืม
ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเสร็จสิ้น จะเป็นการจัดทำงบดุล และสรุปยอดเงินจัดสรรต่างๆ
แต่คณะกรรมการหลายชุดไม่สามารถจัดทำได้อย่างถูกต้อง เมื่อสรุปยอดเงินจัดสรรได้แล้ว
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านประกาศทำสัญญาเงินกู้ยืมขึ้น
ซึ่งพบว่าหลายกองทุนเป็นการทำสัญญาฉบับเดียว
ด้วยการเขียนทำให้ใช้ระยะเวลานาน อีกทั้งการจดบันทึกวาระการประชุมยังไม่ถูกต้อง
และมีการร้องเรียนความไม่เป็นธรรมในการอนุมัติเงินกู้อยู่บ่อยครั้ง
เมื่อจัดทำสัญญาเงินกู้เสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการกองทุนฯ นำสัญญาเงินกู้ประกอบกับเอกสารอื่นๆ
มาตรวจสอบที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ โดยเจ้าหน้าที่เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านจะดำเนินการตรวจสอบเอกสารต่างๆ
พร้อมกับทำหนังสือนำส่งธนาคาร และหักเงินค่าสวัสดิการความเสี่ยงร้อยละ 0.8 เข้าสมทบในบัญชีเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ
เพื่อรับผิดชอบในการชำระหนี้เงินกู้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นทดแทนสมาชิกกู้ยืมเงินที่เสียชีวิต
นอกจากนั้นกองทุนหมู่บ้านได้กำหนดภาระหน้าที่ในความรับผิดชอบรวมกันพร้อมที่จะชำระเงิน
เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล/อำเภอ จำนวนกองทุนฯ
ละ 1,000 บาท แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นพบว่าคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านขาดความเข้าใจในเรื่องการประกันความเสี่ยงในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเสียชีวิต
และการนำเงินเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ นอกจากนั้นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่ทราบและเห็นประโยชน์ที่ชัดเจนจากการสนับสนุนเงินสมทบกองทุนเครือข่ายกองทุนระดับอำเภอ
เมื่อเอกสารต่างๆ ถูกตรวจสอบเป็นการเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจะนำส่งที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เพื่อทำการโอนเงินเข้าบัญชีลูกหนี้
แต่พบปัญหาเกี่ยวกับระบบเอกสาร
และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไม่ตรงกัน
ระหว่างการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ
และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งบางครั้งการพิมพ์ข้อมูลอาจผิดพลาดทำให้เงินไม่เข้าบัญชี
จึงต้องแก้ไขปัญหาเป็นรายกรณีไป การกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านจะจบสิ้นกระบวนการและเริ่มใหม่อีกครั้งเมื่อครบกำหนดสัญญาการชำระหนี้ของปีต่อไป
บันทึกขุมความรู้ในเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
1. ผู้กู้เงิน
- ขาดความรู้ ความเข้าใจ
ในกระบวนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
- ไม่สามารถเดินทางมาติดต่อที่ธนาคารด้วยตนเอง
- ไม่มีเงินชำระหนี้ตามกำหนดเวลา
- ชำระหนี้ผิดบัญชี
๒. คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
- ไม่มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการตามช่วงเวลาที่กำหนด
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูง
- ทำรายงานงบดุล รายงานการประชุม และสรุปยอดเงินจัดสรร
ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็น
- รับภาระหนักในการเขียนสัญญาเงินกู้
- ได้รับการร้องเรียนในการอนุมัติสัญญาเงินกู้อยู่เสมอ
3.
คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนระดับตำบล/อำเภอ
- คณะกรรมการฯ ขาดความเข้มแข็งในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านในภาพรวมของตำบล/อำเภอ
- คณะกรรมการฯ ไม่ได้ทำงานตามบทบาทและหน้าที่ของตน
- ไม่มีการชี้แจงการใช้เงิน/กิจกรรมต่างๆ ให้ชัดเจน
- กองทุนหมู่บ้านขาดความเข้าใจในการใช้เงินประกันความเสี่ยง
๔. เจ้าหน้าที่เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน
- ไม่มีการกำหนดภาระหน้าที่ การทำงานที่ชัดเจน
- ขาดระบบบริหารการทำงาน
5. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ
- ขาดระบบบริหารการทำงาน
- มีความล่าช้าในการรับรองผลการพิจารณาอนุมัติเงินกู้
- ขาดการประสานงานเพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินงานตามระเบียบกับธนาคาร
แก่นความรู้ในเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
1.ปัญหาและอุปสรรคจากกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
๒.ปัญหาและอุปสรรคจากธรรมาภิบาล ความรู้ความเข้าใจของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
และเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล/อำเภอ
๓.ขาดการบูรณาการงานระหว่างคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยในการแก้ไขปัญหา
กลยุทธ์ในการทำงาน
จากปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านของอำเภอท่าตะเกียบ
จึงได้วางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาไว้ 3 ด้าน ดังนี้
1.
ด้านระบบการบริหาร จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานขึ้น
ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล/อำเภอ ธนาคาร
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
2.
ด้านระบบพัฒนาบุคคล เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านทั้งในระดับตัวกองทุนหมู่บ้านเองกับผู้กู้ยืมเงิน
สมาชิก ตลอดทั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล/อำเภอ
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
จึงควรกำหนดระบบพัฒนาบุคลากรขึ้น ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายการฝึกอบรมตามสมรรถนะของบุคคลากรเหล่านั้นที่ควรจะมี
นอกจากนั้นเพื่อให้เกิดผลการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม
จึงควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานขึ้น
ซึ่งจะก่อให้เกิดแนวทางและเป้าหมายของการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลา
และการเชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาหมู่บ้าน และแผนพัฒนาท้องถิ่น
3.
ด้านระบบสารสนเทศ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านจึงควรจัดสร้างระบบสารสนเทศทุนชุมชนขึ้น
เพื่อรองรับการดำเนินงานทางด้านธุรการ การสรุปผลทั้งทางด้านการเงิน บัญชี รายรับ และรายจ่าย
นอกจากนั้นจะต้องจัดให้มีการสื่อสารภายในของแต่ละกองทุนหมู่บ้านให้เกิดประสิทธิภาพ
และการประเมินผลการดำเนินงาน
เพื่อใช้ในการปรับปรุงและแก้ไขการดำเนินงานในลำดับต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น