ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 089-7547241
ชื่อเรื่อง วิธีหารายได้แก้จนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เนื้อเรื่อง
สภาวะปัจจุบันที่สินค้าอุปโภค/บริโภคมีราคาแพง
ค่าครองชีพสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้เท่าเดิม แต่รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น
ไม่มีเงินเก็บออมเพื่อวางรากฐานการดำรงชีวิตในอนาคต
ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนลง เกิดการแก่งแย่งการประกอบอาชีพทำกินมากขึ้น
ความขัดแย้ง ความเห็นแก่ตัว ต่างคนต่างอยู่ มุ่งแต่ที่จะเอาตัวรอด
ไม่เกิดการพึ่งพา/พึ่งพิงซึ่งกันและกัน ขาดความสามัคคี แตกแยกทางความคิด
สังคมสับสนวุ่นวาย ประชาชนส่วนหนึ่งที่อ่อนแอ
ไม่สามารถต่อสู่ต่อสภาพความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบันได้ เกิดความท้อแท้สินหวัง เครียด
สุขภาพจิตใจแย่ลง อยู่ไปวันวัน ไม่มีอนาคต ไม่มี
กำลังใจที่จะก้าวเดินต่อสู่ชีวิต
ผลร้ายก็จะเกิดแก่ตนเองครอบครัวและประเทศชาติ
ซึ่งเราคงจะไม่ปล่อยให้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น
มาเป็นตัวทำลายชีวิตและความเป็นอยู่ของครัวเรือนของเราต่อไป
ชีวิตเราต้องกำหนดด้วยตัวเราเอง เราต้องสู่ สู่ชีวิตตราบที่เรายังมีลมหายใจ
ถ้าเราไม่สู่เพื่อตัวเราเอง แล้วใครจะมาสู่ชีวิตแทนเรา คนเราเกิดมาชาติหนึ่ง
ถึงเวลาก็ต้องตายจากโลกนี้ไป หนีไม่พ้น อย่างไรก็ต้องตายอยู่แล้ว
อยู่ให้มีความสุขในช่วงชีวิตนี้ อย่าท้อแท้ อย่าสิ้นหวัง เรามาสู่ชีวิตด้วยการแก้ไขปัญหาความยากจนของตัวเราเองด้วยการพึ่งพาตนเองมากขึ้น
และพึ่งพาคนอื่นน้อยลงทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน
โดยการหารายได้แก้จนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอพียง
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัว
ชุมชน จนถึงระดับประเทศ เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นทางสายกลาง ได้แก่ พอประมาณ
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และความรู้คู่กับคุณธรรม
- ความพอประมาณ ถ้าตัวเราเองพอใจความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ทำอะไรไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก ตัวเราก็อยู่มีความสุข
- ความมีเหตุผล ถ้าเราทำอะไรด้วยเหตุผล ประหยัดแต่ไม่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ่มอล่วยกัน ทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง
- ความมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ ที่เกิดจากจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน เช่นการใช้จ่ายอย่างประหยัด จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า
- ความรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และตนเองต้องมีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
วิธีการหารายได้เพื่อแก้จนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มี 2 แนวทาง
แนวทางที่
1
การลดรายจ่ายของตนเองและครัวเรือน
ซึ่งการลดรายจ่ายลงจะทำให้มีเงินเหลือจ่ายมากขึ้น
ทำให้ตนเองและครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยต้องดำเนินการดังนี้
- การจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยจัดเป็นทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือนเป็นรายวันทุกวัน สรุปเป็นรายเดือนเพื่อทราบรายรับรายจ่ายของครัวเรือน รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย รายจ่ายที่ไม่จำเป็น และรายจ่ายที่ควรตัดลง
- การประหยัด ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดและอดออม เพื่อเป็นหลักประกันในวันข้างหน้า โดยการออมเงินกับธนาคาร/กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต/กองทุนหมู่บ้าน/สถาบันการเงินต่างๆ/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มฌาปนกิจฯ
- การลด ละ เลิกอบายมุข โดยให้ตนเองและสมาขิกครัวเรือน ไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่เล่นการพนัน
- การทำของใช้เอง โดยตนเองและครัวเรือนผลิตของใช้ที่ใช้ในชีวิตประจำวันใช้เอง เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน เช่น การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม การทำปุ๋ยน้ำหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ/การปลูกใบหม่อน/เลี้ยงไหม/การทอผ้า/ทอเสื่อ
- การทำสวนครัว โดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้าน หรือใช้กระถาง/ภาชนะที่ทิ้งแล้ว หรือปลูกผักแบบแขวน ปลูกผักไว้กินเองในครอบครัว
- การหาเก็บผักข้างทาง/รั้วข้างบ้าน/จากป่า/ท้องไร่ท้องนา/ห้วยหนองคลองบึง
- การเลี้ยงสัตว์ (ไก่,เป็ด/กบ/นกกระทา)และหาสัตว์(หาปลา/ปู/ไข่มดแดง/แมลงที่กินได้
แนวทางที่
2
การเพิ่มรายได้ เป็นการประกอบเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับตนเองครัวเรือน
โดยดำเนินการ ดังนี้
- การปลูกพืชสวนครัวและพืชสวน เช่น ปลูกข่า ตะไคร้ ใบมะกูด สะระแหน่ พริก ขิง โหระพา ผักบุ้ง ผักชี,แตงกวา,ผักคะน้า,มะเขือต่างๆ ถั่วต่างๆ กล้วยต่างๆ (ขายได้ทั้งผลและใบตอง/หัวปลี) ต้นแค (เก็บดอกแค) ต้นชะอม (เก็บยอดชะอม)
- การหาเก็บพืชผักจากธรรมชาติ เช่น เห็ดต่าง ๆ หน่อไม้ ผักหวาน ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักพื้นเมืองต่าง ๆ
- การเลี้ยงสัตว์ เช่นเลี้ยงปลา(ปลาหมอพื้นบ้าน,ปลาดุก,ปลานิล,) กบ นกกระทา เป็ดไก่ สุกร จิ้งหรีด ไส้เดือน หนอนเลี้ยงนก ตุ๊กแก
- การหาจับสัตว์ เช่น หาปลา กบ อึ่งอ่าง ไข่มดแดง แมลงต่าง ๆ
- การเพิ่มมูลค่าผลผลิต เข่น การพับถุงกระดาษขาย การพัฒนารูปแบบบรรจุผลิตภัณฑ์ การแปรรูปอาหาร (ปลาเค็ม,ปลาแดดเดียว,กุ้งเสียบ/มะม่วงกวน,ทะเรียนทอด),ทำน้ำพริกต่างๆ
- การขายเศษของเก่าของใช้แล้ว (ชวดแก้ว พลาสติก กระดาษ ฯลฯ)
- การค้าขาย เช่นค้าขายอาหารโดยซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ต่างๆ และขายกาแฟโบราณ
- การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทอผ้าไหม/การทอเสื่อกก/ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก (กระเป๋า,รองเท้าฯลฯ)
- การสมัครเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น จากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ โรงเรียนสารพัดช่าง หน่วยงานเอกขนได้แก่ มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ,หรือจากเอกชนเปิดสอนตามศูนย์การค้าต่างๆทั้งต่างจังหวัดและ กทม.
- การรับงานฝีมือจากโรงงานมาทำที่บ้าน (ติดต่อโรงงานโดยตรง)
- การรับจ้างซักผ้ารีดผ้า/เลี้ยงเด็ก/สอนหนังสือ/สอนภาษา
- การสมัครทำงานในโรงงานและหน่วยงานรัฐ ช่วงปิดเทอม (สมัครที่โรงงานโดยตรง) และหน่วยงานรัฐ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม ที่ กทม.)
สรุป การหารายได้เพื่อแก้จนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อช่วยตนเองและครัวเรือนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น
ต้องปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง โดยตนเองต้องมีความตั้งใจจริง
อดทน และอย่าท้อแท้ อย่ามัวแต่เดี๋ยวทำ เดี๋ยวทำ ก็จะมีแต่เดี๋ยว ไม่มีทำ
ไม่มีการเริ่มลงมือ ขอให้เริ่มทำ เริ่มจากหนึ่ง ไปสอง สามสี่จะตามมา ผลสำเร็จตามความคาดหวังรออยู่ข้างหน้าด้วยความภูมิใจที่ไม่เสียชาติเกิด
สมดังสุภาษิต ที่ว่าไว้นี้
“อย่านอนตื่นสาย
อย่าหน่ายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น