ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 08-24620864
ชื่อเรื่อง เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความมั่นคงของทุนชุมชน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550
สถานที่เกิดเหตุการณ์ ตำบลบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
เรื่องเล่า
ในปี พ.ศ.2550
ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งเปลี่ยนสายงานจากตำแหน่งเจ้าพนักงานเงินและบัญชี
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
เป็นนักพัฒนาชุมชน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี พัฒนาการอำเภอบ้านสร้าง คือ นายมานิต แว่นแก้ว
เป็นหัวหน้าในขณะนั้น
ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้ารับผิดชอบ ๒
ตำบล
คือตำบลบ้านสร้าง
และตำบลบางพลวง
มันจึงเป็นจุดเปลี่ยนการทำงานที่เคยได้แต่นั่งโต๊ะทำแต่การเงิน
แต่บัดนี้ได้พลิกชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง
มาสัมผัสกลิ่นไอของชาวบ้านอย่างถึงพริกถึงขิง เลยก็ว่าได้ จากการที่ไม่รู้อะไรเลย
ก็มาเรียนรู้ทั้งหมดของการเป็นพัฒนากร
บ่อเกิดธรรมาภิบาล
ก็เริ่มขึ้น จากหมู่บ้านเล็ก ๆ
ในตำบลบางพลวง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีอิทธิพลในการใช้วาทศิลป์ของผู้นำต่าง ๆ ไม่เว้นกระทั้ง พ่อบ้าน อบต.
หมู่บ้านของตำบลบางพลวง
มีลักษณะการเป็นอยู่ตามแบบชาวบ้านทั่วๆ ไป
แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดาก็คือ
ความร่วมมือในการทำงานน้อยมาก
ดิฉันทำหนังสือเชิญประชุมแกนนำต่าง ๆ ไม่ได้รับความร่วมมือเลย อ้างแต่ว่าไม่มีเวลา ทำมาหากิน ประสานอะไรก็ไม่ได้ และที่สำคัญที่สุดคือ
เขาบอกว่าส่วนราชการทำอะไรก็ไม่รู้ วัน ๆ
ก็มายุ่งวุ่นวายให้ชาวบ้านทำ แล้วตัวเองก็ได้ความดีความชอบ
จนไม่คิดว่าชาวบ้านเขาจะต้องทำมาหากิน
เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
มัวแต่มานั่งประชุม อบรม จะได้อะไร เงินสักบาทก็ไม่มีให้ แถมค่าน้ำมันก็ต้องจ่ายเองอีก เสียเวลาทำมาหากิน จนดิฉันท้อ
ร้องไห้กับการแก้ไขปัญหาการทำงานของตัวเองไม่ได้
อยากจะโอนไปอยู่ที่อื่นในขณะนั้นดิฉันคิดอย่างนี้จริง ๆ
โชคดีหรือตัวเองได้ทำบุญมาก็ไม่รู้
ได้มีรุ่นพี่พัฒนากรคนหนึ่งเขาเล่าประสบการณ์เขาให้ฟังว่า แต่ก่อนพี่เขายิ่งลำบากกว่าดิฉัน ต้องไปพักค้างที่หมู่บ้าน แถมรถยนต์ก็ไม่มี
ตากแดดตากฝน ไปหาชาวบ้าน
ทำงานเงินเดือนก็น้อย แถมเบี้ยเลี้ยงก็ไม่พอค่ารถอีก ดิฉันถามว่าทำไมไม่ย้ายไปอยู่ที่อื่น
พี่เขาตอบว่า ได้กินได้มี ก็เพราะข้าวหม้อนี้
ทำให้เขามีเงินส่งลูกเรียน
มีบ้านพักอาศัย มีรถเอาไว้ทำงาน พี่เขาเล่าต่อว่า
การทำงานก็มีอุปสรรคบ้างเป็นธรรมดาของคนทำงาน
คนไม่ทำงานคือคนไม่รู้จักผิด
คนที่ผิด คือคนที่ทำงาน การจะให้ชาวบ้านยอมรับเราต้องขยันออกพื้นที่ซื้ออะไรติดมือไปบ้าง ทำเหมือนเขาเป็นญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่สำคัญที่สุดต้องทำด้วยใจ อย่าคิดว่า
ทำเพราะหน้าที่เท่านั้น การเป็นพัฒนากร
ต้องเป็นด้วยใจที่รัก ไม่ใช่เป็นเพราะตำแหน่งที่ดูดี
ดิฉันรู้สึกอึ้งน้ำตาก็ซึมออกมา
ในใจอยากจะขอบคุณพี่เขาอย่างมากที่
ทำให้ดิฉันเปลี่ยนวิถีการทำงาน จากคนที่นั่งทำแต่การเงินของจังหวัด มาสัมผัสการเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ต้องเอาใจไปสื่อให้เขารู้ว่าเราจริงใจกับเขาขนาดไหน แม้นแต่การสอนให้ชาวบ้านคิดเป็น ทำเป็น และสามารถพึ่งตนเองได้ มันโผล่ขึ้นมาในสามัญสำนึกของดิฉันว่า
ต้องทำได้ ต้องทำได้ และต้องทำได้
สิ่งที่ท้าท้ายดิฉัน คือการให้ชาวบ้านยอมรับดิฉันในฐานะพี่เลี้ยงของพวกเขา
ดิฉันเริ่มจากจุด
หมู่บ้านที่มีแกนนำเป็นผู้ชายก่อน เพราะคิดว่าน่าจะพูดง่ายกว่าผู้หญิง
การพูดคุยเป็นแบบธรรมดา ไม่ดัดจริตโอ้อวดเกินไป และให้เกียรติเสมอ หากผู้นำทำผิด ดิฉันพูดเสมอว่า ไม่เป็นไร
ทำใหม่ได้ ผู้นำผิดกัน
ดิฉันก็จะพูดเสมอว่า ยอมหยุดเย็น
ยอมไม่เป็น ก็เย็นไม่ได้
ผู้นำไม่ร่วมประชุม ดิฉันก็บอกตัวเองว่าเราบกพร่องตรงไหน
อันไหนที่เรายังไม่ได้ทำ
หรือมีอันไหนที่เราทำแล้วไม่ได้ดี
คอยแต่คิดจะแก้ไขปัญหาของตัวเอง และยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง
ไม่เคยที่จะรับแต่ชอบสักครั้งในการทำงาน
และไม่เคยที่จะโยนความผิดให้กับคนอื่น
เพราะคิดว่า
ความผิดถือเป็นบทเรียนที่เราจะต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขการทำงานให้ดียิ่งขึ้น การที่คนอื่นเกลียดเรา
นินทาเรา ว่าร้ายเรา ถามว่าโกรธไหม
ชอบไหม ทุกคนก็ต้องตอบว่า ไม่ชอบ ที่ใครมานินทา ใส่ร้ายเรา แต่ในความคิดของดิฉัน ดิฉันไม่เคยโกรธไม่ว่าใครจะนินทา
จะว่าร้ายใส่ความอย่างไรก็ตาม
เพราะดิฉันยึดหลักที่ว่า พระอาทิตย์ไม่มีทางขึ้นทางตะวันตกฉันใด การนินทาว่าร้าย
ก็ไม่หายไปจากสังคมนี้อย่างแน่นอน ฉันใดก็ฉันนั้น
การทำงานของดิฉันก็เช่นกัน ดิฉันหาข้อผิดพลาดในการทำงานแต่ละครั้ง
และทำการบันทึกข้อผิดพลาด นำไปแก้ไขด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิเช่น
การเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นกรอบในความคิดการเอาปรัชญาของผู้นำต่าง
ๆ มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์
และการเอาคุณธรรมมาใช้ในการทำงาน ฝึกการอดทนต่อสิ่งต่าง ๆ
และใช้ความนิ่งสงบความเคลื่อนไหว
ใช้ความดีชนะความไม่ดี
สิ่งสำคัญที่สุด คือการฝึกจิตใจให้อภัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราเสมอ
บ่อเกิดคุณธรรม เริ่มจากการทำงานในเรื่อง
การส่งเสริมการตรวจสุขภาพกองทุนโครงการการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ. )
ของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในตำบลบางพลวง
ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ไม่เคยส่งใช้เงินคืน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
(กข.คจ.) มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ถึงปี ๒๕๕๓
เป็นเวลา ๖ ปี
ซึ่งข้อมูลหลักฐานไม่มีเหลือเลย ไม่ว่าจะที่อำเภอหรือหมู่บ้าน
หายหมด ถามใครก็ไม่รู้ เพราะมันตกทอดมาหลายรุ่น เขาว่ากันอย่างนี้ ดิฉันจึงนำเรียนพัฒนาการอำเภอ ในขณะนั้น คือนายมานิต แว่นแก้ว
ท่านได้ให้ดิฉันลงพื้นที่ไปหาความจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้นให้หาต้นตอ
ว่าหลักฐานอยู่กับใคร กรรมการคนไหนเอาเก็บไว้ บ้าง
รุ่งเช้าดิฉันก็ไปพื้นที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาไปสืบหาว่ามันเกิดอะไรขึ้น
โดยเรียกคณะกรรมการทั้งหมดมาประชุมกัน
แต่ดิฉันไม่ได้เอาระเบียบฯ ไปอ้าง หรืออ่านให้ชาวบ้านฟัง แต่ดิฉันใช้เทคนิคในการผ่อนสั้น ผ่อนยาว เพราะคิดว่าชาวบ้านก็คือชาวบ้าน อ้อยเข้าปากช้างแล้ว ยากที่จะได้คืน ดังนั้น เราต้องใช้กลวิธี
อะลุ่มอล่วยในการทำงาน ค่อยทีค่อยอาศัย และเชื่อว่าทุกอย่างมีทางออก
แต่จะช้าหรือเร็วต่างหาก
ดิฉันลงพื้นที่ไปติดตาม ๒ เดือนในการพูดคุยและคอยช่วยเหลือชาวบ้านโดยการหาทางออกให้ชาวบ้าน คือใช้วิธีให้ชาวบ้านจับกลุ่มกัน ๓ คน
กู้กันยืมกัน ผลปรากฏว่า
สามารถช่วยให้ชาวบ้านเกิดความรัก และความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ไม่แตกแยกพวกพ้อง
และมีจุดไปในทิศทางเดียวกัน
ผลที่ได้รับคือความไว้เนื้อเชื่อใจที่ชาวบ้านมอบให้ดิฉัน
ความสุขที่ดิฉันได้รับ คือการทำให้ชาวบ้านรักกัน
และรวมแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทำให้หมู่บ้านและชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ การทำให้ถูกต้องระเบียบฯ ของทางราชการ
ยอมเป็นสิ่งที่ดี
แต่การใช้กลวิธีในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมดีกว่า
สังคมจะอยู่อย่างสันติได้
ก็เพราะการอะลุ่มอล่วยกัน
ตึงมากก็ไม่ดี หย่อนมากก็ไม่ดี
ดังนั้น ทางออกจึงต้องเดินทางสายกลาง นั้นเอง
ขุนความรู้(Knowledge Asset)
- การปฏิบัติงานในตำแหน่งพัฒนากร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ทำให้เกิดความท้อ และความไม่มั่นใจในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้
- การศึกษาและเรียนรู้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่
- การหาที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ คอยแนะนำ
- การเข้าถึงบุคคลในการทำงานในพื้นที่
- ความศรัทธาในการทำความดี
แก่นความรู้ (Core Competence)
- สร้างความสัมพันธ์ชุมชน
- สร้างความไว้วางใจ
- สร้างความมั่นใจ
- สร้างแรงบันดาลใจ
หลังจากวันที่ประชุมนั้น ประมาณ 3 วันชาวบ้าน จำนวน 5 ราย พร้อมผู้ใหญ่บ้าน
พากันเข้าพบท่านนายอำเภอบ้านสร้าง
ในขณะนั้น คือ นายธวัฒนชัย
ม่วงทอง
และท่านก็เรียกเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตำบลบางพลวงมาพบว่าทำไมถึงแก้ปัญหาไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เจ้าหน้าที่
รวมถึงพัฒนาการอำเภอ
ได้ลงพื้นที่และแก้ไขปัญหา รวมถึงได้หาข้อยุติปัญหาต่างๆ แต่ปรากฏว่าชาวบ้านที่มาร้อง ก็พูดประโยคเหมือนเดิมว่า
เจ้าหน้าที่ฯ ทุกคนเข้าข้างฝ่ายคณะกรรมการ
ไม่มีความเป็นธรรม ลำเอียง ต้องการความยุติธรรม จึงมาพบท่านนายอำเภอฯ
เพื่อลงไปตัดสินปัญหาให้กับพวกเขาด้วย
ผู้ใหญ่บ้านกล่าวอีกว่าพัฒนาการอำเภอก็เหมือนกัน เข้าข้างกัน
หาความยุติธรรมไม่ได้ นายอำเภอฯ สั่งการให้ดิฉันลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
และหาข้อยุติปัญหาต่าง ๆ ให้กับชาวบ้านกลุ่มนี้โดยด่วน ดิฉันจึงเครียดมาก เพราะอยู่
ๆ ก็โดนร้องเรียนว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ด้วยคำสั่งจะต้องรายงานให้นายอำเภอฯ ทราบ
โดยด่วน ดิฉันก็มานั่งทบทวนตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าไปร่วมประชุมว่าดิฉันได้กล่าวหรือไม่ได้กล่าวในเรื่องอะไรบ้าง โดยเอาปากกาและกระดาษมาเขียนเป็นข้อ ๆ
และช่วงนั้นก็มีการสอบของนักศึกษาปริญญาโท ในสัปดาห์เดียวกันด้วย จึงทำให้ดิฉันยิ่งเครียดหนักมาก จึงโทรฯ
หามารดาเพื่อระบาย เรื่องต่าง ๆ
จึงได้สติและลงมือปฏิบัติหน้าที่ โดยเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง
และวางแผนก่อนการลงพื้นที่โดยสืบหาต้นเหตุว่าเกิดอะไรขึ้น
เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็โทรศัพท์เชิญกลุ่มผู้ฟ้องร้องและกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์
เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลในการบริหารจัดการที่ถูกต้องตามระเบียบกองทุนหมู่บ้าน
ฯ โดยก่อนจะเปิดประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดิฉันได้ใช้หลักจิตวิทยาและระเบียบฯ
ในการประชุมครั้งนี้ จนทุกคนเข้าใจ แล้วพากันตบมือให้กับดิฉัน
ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ประดับใจมากที่สามารถชนะใจชาวบ้านได้ และสิ่งสำคัญที่สุดที่ดิฉันภาคภูมิใจคือท่านนายอำเภอได้แสดงความขอบคุณมาก ในรายงานการบันทึกครั้งนี้ และนี้คือที่มา ขอการยุติแสนจะเบื่อหน่าย
บันทึกขุมความรู้
(Knowledge
Assets)
การไม่เข้าใจระเบียบฯ
และแนวทางปฏิบัติ การประชุมเพื่อชี้แจงระเบียบฯ
และปัญหาให้ชัดเจน
การรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทุกครั้ง การสร้างพลังความสามัคคีในชุมชน การวางแผนในการทำงานก่อนลงพื้นที่ ประดับใจที่ชนะใจของชุมชนได้ ความภาคภูมิใจที่ได้รับคำชมจากผู้บังคับบัญชา
แก่นความรู้
(Core
Competency)
- การวิเคราะห์ปัญหา รับทราบข้อมูล
- งานสัมฤทธิ์ผล เกิดความภาคภูมิใจ
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การวิเคราะห์ปัญหา รับทราบข้อมูล
การวิเคราะห์ปัญหา
เป็นการคัดกรองปัญหาต่างๆ ว่าเกิดจากอะไร
เกิดอย่างไรเมื่อเรารู้ปัญหาแล้ว
จะได้รับทราบข้อมูลว่ามันเกิดจากอะไร เช่น
การเขียนคำร้องถึงนายอำเภอว่าเจ้าหน้าที่ลงไปประชุมไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ยังคลุมเครือ
เราต้องมาวิเคราะห์ปัญหาว่าเกิดจากอะไร ทำไมชาวบ้านจึงกล่าวอย่างนั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ
สำรวจตนเองก่อนว่าตนเองมีข้อบกพร่องอย่างไร โดยวิเคราะห์เป็นข้อ ๆ เช่น
ได้กล่าวถึงเรื่องระเบียบฯ การบริหารงาน
แนวทางการปฏิบัติ หน้าที่ของสมาชิก
และคณะกรรมการ รวมถึงบทลงโทษต่าง ๆ ชัดเจนหรือไม่อย่างไร ในกรณีนี้ไม่ใช่ในเรื่องระเบียบฯ
หรือแนวทางการปฏิบัติและการบริหารงานต่าง ๆ
แต่เป็นการกระทำของกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์
ซึ่งได้รับทราบข้อมูลแล้ว ดังนั้น
การวิเคราะห์ปัญหา จึงไปอยู่ที่กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ จะทำอย่างไรให้ผู้เสียผลประโยชน์เข้าใจ รับฟัง
และยอมรับในมติที่ประชุม โดยการเชิญเข้าร่วมประชุมและชี้แจงการบริหารงานต่าง
ๆ รวมถึงการตอบข้อซักถาม
และนำหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ในการบริหารงาน และนี้คือการวิเคราะห์ปัญหา รับทราบข้อมูล
2. งานสัมฤทธิ์ผล เกิดความภาคภูมิใจ
การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่
หรืองานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
หากตั้งใจแล้วไม่ต้องกลัวว่าผลที่จะออกมาเป็นอย่างไร
แต่ให้คิดเสมอคนทำงานต้องมีคำว่าผิด คนไม่ผิดคือคนไม่ทำงาน
จนทำให้สถานการณ์ในหมู่บ้านนั้นคลี่คลายลงได้ด้วยดี และได้รับคำชมจากนายอำเภอฯ
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว โดยท่านแสดงความขอบคุณมาก ในรายงานการบันทึกครั้งนี้ และนี้คืองานสัมฤทธิ์ผล เกิดความภาคภูมิใจ
กฎระเบียบ
แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และหลักการพัฒนาชุมชน
คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ สู้ๆ นะครับ
ตอบลบ