เรียบเรียงโดย
จิรธรรม ภัทรธรรมกุล
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน เป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับครัวเรือนและชุมชนตั้งต้นจนจบ
พอสรุปได้ 7 ชั้นตอน
ขั้นตอนที่1 การสำรวจข้อมูล
ซึ่งในขั้นตอนนี้ เป็นการสำรวจข้อมูลครัวเรือน ใช้แบบสำรวจ 1 เล่มต่อหนึ่ง
ครัวเรือน (จปฐ.1) ใช้การสัมภาษณ์/สอบถาม/สังเกต
จากการนั้นจะนำข้อมูล จปฐ.บันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
ประมวลผลตอบค่าประเมินตัวชี้วัดที่กำหนด
ขั้นตอนที่ 2 รู้ปัญหาหมู่บ้าน/ชุมชน ประชาชนรู้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต
ในระดับ ครัวเรือน/หมู่บ้าน/ชุมชน รู้จากผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการที่ประชาชน/ภาครัฐ/ภาคเอกชนร่วมแก้ไขปัญหาที่ไม่บรรลุตามตัวชี้วัด
ต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา
โดยคำนึงถึงต้นตอสาเหตุของปัญหาและความเกี่ยวพันของปัญหาต่างๆเพื่อกำหนดแนวทางวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 4 จัดลำดับก่อนหลังและและวางแผนแก้ไข
ซึ่งการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาพอจะแบ่งแนวทางแก้ไขได้ 3 ประเภท
1)ประชาชนทำได้ 2)รัฐและประชาชนช่วยกันทำ 3) รัฐเป็นผู้ดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการตามแผน
ซึ่งจะขับเคลื่อนไปตามแผนที่เกิดจากกรบวนการในขั้นตอนที่ 4
ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในส่วนที่ประชาชนสามารถดำเนินการได้เอง
จะเห็นได้ว่าบางกิจกรรมเจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องทำงานโดยหน้าที่อยู่แล้วจึงเป็นการเสริม/เกื้อกูลกันในระบบ
ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผล เมื่อดำเนินโครงการในชุมชนเป็นระยะเวลา 1 ปี
ก็ควรประเมินผลโดยการสำรวจความจำเป็นพื้นฐานใหม่ (โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1
ใหม่)
ขั้นตอนที่ 7 สอนชุมชนอื่นๆ
เมื่อการพัฒนาชุมชนจนครบวงจรแล้ว (ขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 6)
ชุมชนนี้ควรเป็นครูหรือเป็นชุมชนตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ เพื่อสร้างเป็นชุมชนเครือข่ายนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในเครือข่าย
การเรียนรู้ของประชาชนและชุมชนเป็นการเรียนแบบธรรมชาติ ค่อยเป็นค่อยไป
สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดวัฒนธรรมของชุมชน
สรุปแล้ว
ขั้นตอนการดำเนินงาน จปฐ. ในชุมชนจะเป็นกระบวนการของชาวบ้านที่ทำงานเป็นวัฏจักรครบวงจร
ที่เกิดขึ้นซ้ำๆในชุมชนทุกปี ๆ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้พ้นจากความยากจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน
และสามารถช่วยเหลือเพื่อนบ้านได้ ขยายวงไปสู่สังคมและชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ดังคำกล่าวที่ว่า “เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น