ชื่อ
– สกุล
นายสุรินทร์ เทศกิจ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์
เบอร์โทรศัพท์ 084-6554319
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ
พ.ศ.2555
สถานที่
บ้านปากคลองท่าถั่ว หมู่ที่ 1
ตำบลสนามจันทร์
อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ไร้อาณาเขตขวางกั้น สภาพดังกล่าวส่งกระทบถึงวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองโดยทั่วไป เพราะเป็นสภาพที่เอื้ออำนวยในการรับและถ่ายโอนเอาศาสตร์หรือภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาใช้ในการพัฒนาประเทศและพัฒนาผลผลิต
ตลอดจนนำความรู้ ความเข้าใจดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินชีวิตร่วมกับภูมิปัญญาไทยที่มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชน
สังคม ทั้งในด้านการดำเนินชีวิต การผลิต การอุปโภค การบริโภค รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง การจะยืนหยัดอยู่รอดได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของชุมชน
สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้นั้น จะต้องมีแนวคิดหรือวิธีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชน
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตมาสู่แนวทางที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน
และสังคมไทย และสามารถนำความรู้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้เกิดความสมดุลกับสภาพสังคมไทย
การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
เป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้กับประชาชนในด้านการคิด วิเคราะห์ และการนำเอาความรู้
ประสบการณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาดำเนินการจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
ที่มีกิจกรรมการพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ภายในชุมชน หรือ
ระหว่างชุมชน และสามารถถ่ายทอดความรู้จากชุมชนหนึ่งไปสู่ชุมชนหนึ่ง ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างแพร่หลาย
ชุมชนมีการพัฒนาอย่างมั่นคง รอดพ้นภัยวิกฤตภายใต้หลักแนวคิดแบบพอเพียง
การดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
ขั้นที่ 1 การจัดเวทีประชาคม
เป็นการชี้แจงให้เห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ชุมชน และกำหนดสถานที่แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล ผู้ถ่ายทอดความรู้ วัดสุและอุปกรณ์ในการดำเนินงาน เช่น
- สร้างความรู้ความเข้าใจการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนกับ คณะทำงานเศรษฐกิจพอเพียงระดับหมู่บ้าน / ตำบล ภาคีการพัฒนา ผู้นำ กลุ่ม องค์กร หรือ ประชาชน
- ประสานความขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีการพัฒนา ในด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารจัดการ ฯลฯ
- สร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ กับ หมู่บ้าน / ชุมชน อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน
- ติดตาม ประเมินผล เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหา
- รายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การประชุมหรือ หอกระจายข่าว เป็นต้น
ขั้นที่ 2 การจัดรูปแบบกิจกรรมสาธิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เช่น 1.กิจกรรมการลดรายจ่าย 2.กิจกรรมการเพิ่มรายได้ 3.กิจกรรมการออม 4.กิจกรรมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.กิจกรรมการเอื้ออาทร
ขั้นที่ 3 การศึกษา ดูงาน
จากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ เพื่อนำมาประยุกต์ หรือ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคม
สภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน / ชุมชน
ขั้นที่ 4 การเก็บรวบรวมองค์ความรู้
จากปราชญ์ชาวบ้าน บุคลากรที่มีองค์ความรู้แต่ละประเภท เพื่อบันทึกองค์ความรู้เป็นลายลักอักษร
ขั้นที่ 5 การค้นหาวิทยากรผู้ให้ความรู้
ได้แก่ อาสาสมัคร ปราชญ์ชาวบ้าน บุคลากรที่มีองค์ความรู้แต่ละประเภท หรือ
เจ้าขององค์ความรู้ เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ของหมู่บ้าน
ขั้นที่ 6 การบริหาร จัดการ
สถานที่แหล่งเรียนรู้ให้มีความพร้อม เช่น เอกสารประกอบคำบรรยาย ป้ายแสดงข้อมูล วัสดุและอุปกรณ์สาธิตกิจกรรม
ฯลฯ
ขั้นที่ 7 สรุปแนวทางการดำเนินงาน
เสนอเวทีประชาคมเพื่อตรวจสอบความพร้อม และความถูกต้องของข้อมูล ฯลฯ
ข้อสรุป การเรียนรู้เกิดได้ทุกแห่ง
ทุกสถานที่ ที่เกิดขึ้นมากที่สุดไม่ได้เกิดจากการสอนในห้องเรียน แต่เกิดขึ้นจากการที่ได้พูดคุยกัน
ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่ห้องเรียน แต่เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน
ที่เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน และที่กว้างใหญ่ที่สุด คือ สังคม
ความรู้ที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆ ที่หลากหลาย จึงเรียกว่า แหล่งเรียนรู้
ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในสังคมรอบๆ ตัวเราอาจเป็นสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต
และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้คนในสังคมเกิดการเรียนรู้ เช่น
แหล่งเรียนรู้ด้านข้อมูล ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ด้านการประกอบอาชีพ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆที่มีความสนใจ
สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาอาชีพ พัฒนาตนเอง สร้างความเข้มแข็งแบบพอเพียงอย่างยั่งยืน
ขุมความรู้
- การคัดเลือกหรือการสร้างทีมงาน หมายถึง คณะทำงาน หรือ กลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนร่วมในการวางแผนและขับเคลื่อนกิจกรรม จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเป็นผู้นำ เสียสละ และมองเห็นประโยชน์ของกิจกรรม
- ความรู้ในการปฏิบัติงาน คือ คณะทำงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานที่จะดำเนินการ และสามารถชี้แจง อธิบาย หรือถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน
- การคัดเลือกแหล่งเรียนรู้ อาจเป็นสถานที่ๆมีโครงสร้างเป็นอาคาร หรือ โรงเรือน หรือ สถานที่จากการปฏิบัติงานจริง เช่น สถานที่ประกอบอาชีพ ไม่เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน
แก่นความรู้
- การประชาสัมพันธ์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีส่วนของประชาชน ทำให้เกิดการยอมรับจากประชาชน และหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรม ชุมชนเห็นศักยภาพของชุมชน รักชุมชน รักษ์ท้องถิ่น รู้จักตนเองและภาคภูมิใจในแหล่งเรียนรู้ของตนเอง
- ความต่อเนื่องของกิจกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แหล่งเรียนรู้ของชุมชนประสบผลสำเร็จ หรือ ล้มเหลวในการดำเนินงาน โดยจะต้องจัดเวทีประชาคมเพื่อสร้างความตื่นตัวของประชาชนเป็นประจำ และเพื่อวิเคราะห์แหล่งเรียนรู้แต่ละด้าน เพื่อนำมาปรับปรุง วางแผนการดำเนินกิจกรรมให้ตรงเป้าประสงค์ของกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น