ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 08-7695-7674
ชื่อเรื่อง สืบทอดภูมิปัญญา ผลิตภัณฑ์จากเขาสัตว์
สถานที่ เลขที่ 49 หมู่ที่ 7 ตำบลบางขวัญ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ความเป็นมา
กลุ่มผลิตภัณฑ์เขาสัตว์แกะสลักภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาช้านานที่นับวันกำลังจะสูญหายจากสมัยก่อนที่ใช้การขัดถูด้วยมือและได้ทดลองทำกันมาเรื่อย
ๆ ในปัจจุบันมีการรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ว่าจากการทำนาโดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านในตำบลบางขวัญและตำบลใกล้เคียงทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด
ประสบการณ์และการเรียนรู้ให้กว้างขึ้นสามารถทำให้เกิดรูปแบบใหม่ ๆ
และพัฒนามาเรื่อย ๆจากของประดับตกแต่งเป็นของใช้
และผสมผสานให้เกิดรูปแบบต่างเพื่อเสนอลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ จนเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
องค์ความรู้
ความสำคัญของผลิตภัณฑ์แกะสลักเขาสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพที่สุจริตสามารถพัฒนาเป็นอาชีพที่จะทำรายได้ให้กับชาวบ้านที่สนใจ
และอาจจะทำชุมชนมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการพัฒนาด้านอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
มีความสวยงามโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
การนำสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์
การนำวัสดุ (เขาสัตว์) ที่เหลือใช้จากแหล่งในชุมชน
ซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่น
ทางกลุ่มได้คิดการนำเขาสัตว์มาแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์ในลวดลายต่าง ๆ เช่นปลาโลมา
นกฮูก วัวกระทิง นกอินทรีย์ ยีราฟ นกพีรีแกน ปลาเงินปลาทอง พวงกุญแจ
เพื่อเป็นของที่ระลึกได้ เพื่อให้เขาสัตว์เกิดประโยชน์มากที่สุด
และทำเป็นอาชีพเสริม สามารถสร้างเป็นแหล่งรายได้ให้กับครอบครัวได้
จากการนำเขาสัตว์ไปทิ้งโดยเสียเปล่า
การบริหารจัดการ
ปัจจุบัน มี นายสมนึก แย้มพุชชง เป็นประธานของกลุ่ม
โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันวางแผนการทำงานช่วยกันออกแนวความคิดในการทำลวดลายต่าง ๆ
สำหรับการออกแบบสมาชิกทั้งหมด จะมาช่วยกันออกแบบ
ส่วนวัตถุดิบโดยมากจะหาจากในท้องถิ่น ถ้าวัตถุดิบเริ่มไม่มีในท้องถิ่น
ก็จะสั่งจากนอกท้องถิ่นเข้ามา เช่น อุบลราชธานี ขอนแก่น มีการทำบัญชีในครัวเรือน
ในการทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายอยู่ตลอด รวมถึงการศึกษาแบบและนำมาดัดแปลงในการทำให้ผลิตภัณฑ์ดูแปลกใหม่
ๆ อยุ่เสมอ
ดำเนินการตามแนวพระราชดำรัชปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การดำเนินงานของกลุ่มแกะสลักเขาสัตว์
ได้น้อมนำแนวพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงานของกลุ่มนอกจากจะสร้างอาชีพนำผลผลิตไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกของกลุ่มเพื่อให้สมาชิกมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นพอประมาณ
อย่างพอเพียง และสามารถช่วยเหลือกันได้ระหว่างกลุ่ม และทางกลุ่มยังเป็นสถานที่ให้และแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านอาชีพ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนที่สนใจ
จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
หน่วยงาน/องค์กรที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม
- พัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
- กาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา
- หอการค้าฉะเชิงเทรา
สรุปประโยชน์ที่ได้รับ
เนื่องจากในสภาพทางเศรษฐกิจของสังคมในปัจจุบัน
มีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้นมาก มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย
ประชากรวัยแรงงานส่วนมากจะไปเรียนและทำงานเป็นส่วนมาก
ทำให้การสืบสานหรือวัฒนธรรมในสังคมถดถอยลง
ทำให้การสืบสานในชุมชนของคนในท้องถิ่นลดน้อยลง
การจัดตั้งกลุ่มเขาสัตว์แกะสลักขึ้นมาเพื่อให้มีการปลูกฝังภูมิปัญญาของท้องถิ่นในด้านการแกะสลักเพื่อที่จะได้รู้คุณค่าของการแกะสลักและภูมิปัญญาท้องถิ่นจะได้ไม่สูญหายไปไหนยังคงอยู่จนรุ่นลูก
รุ่นหลาน และยังส่งเสริมให้ประชากรในท้องถิ่นสามารถหารายได้เลี้ยงครอบครัว
จากอาชีพเสริมจาการทำนา ทำไร่ อีกด้วย และทางภาครัฐและเอกชน
ได้ให้ความช่วยเหลือและให้ความสนับสนุนทางด้านวิชาการ วัสดุ งบประมาณ
และการส่งเสริมทางด้านการตลาด
ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมากเพราะเมื่อผลิตแล้วก็ต้องมีทางส่งออกเพื่อกระจายผลผลิต
และการส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียน
โดยให้นักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนสามารถไปศึกษาดูงาน และยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเขาสัตว์แกะสลักในหลาย
ๆ รูปแบบอีกด้วย เขาสัตว์เป็นวัสดุที่เหลือใช้
นำมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความสวยงาม
เป็นการใช้ภูมิปัญญาในการแกะสลักเพื่อให้เกิดงานที่สวยและสามารถสร้างเป็นรายได้ให้กับชุมชนได้
และเป็นทุนความรู้ได้เป็นอย่างดี.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น