วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สวมหมวกหลายใบ

ชื่อ - นามสกุล               นางเยาวเรศ  แก้วยงกฎ
ตำแหน่ง                      นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด                         สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก  08 5394 5439
ชื่อเรื่อง                       สวมหมวกหลายใบ
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ  อาสาสมัครทำงานด้วยใจอาสามิได้คำนึงถึงค่าตอบแทน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ        กลางเดือน ตุลาคม ปี 2554
สถานที่                        องค์การบริหารส่วนตำบลคู้ยายหมี  อำเภอสนามชัยเขต

เนื้อเรื่อง                  
เมื่อพูดถึงงานอาสาพัฒนาชุมชน ทุกคนจะนึกไปในทางเดียวกันว่า เป็นงานที่ทำแล้วได้รับความสุขทางด้านจิตใจ เมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตามที่ผู้กระทำตั้งใจที่จะทำ เป็นงานที่แสดงถึงความเสียสละความสุขความสบาย หรือประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่พึงจะเกิดขึ้น ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ตำบล

เหตุจูงใจที่ทำให้บันทึกเรื่องนี้เป็นองค์ความรู้ มาจากเวทีประชาคมการคัดเลือกผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ของตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนคนเดิมหมดวาระลง ได้มีการคัดเลือกคนใหม่เพื่อทำหน้าที่แทน โดยอาสาพัฒนาชุมชน
ที่จะมาคัดเลือกเป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ทุกคนมาจากการคัดเลือกจากเวทีประชาคมหมู่บ้านให้ปฎิบัติหน้าที่อาสาสมัครใหหมู่บ้าน มีชื่อเรียกย่อว่า อช. มีหมู่บ้านละ 4 คน เป็นชาย 2 คน เป็นหญิง 2 คน ตำบลคู้ยายหมี มีอาสาพัฒนาชุมชนรวม 68 คน จากจำนวนดังกล่าว จะมาคัดเลือกโดยใช้วิธีการจัดเวทีประชาคมคัดเลือก ให้เหลือชาย 1 หญิง 1 เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนของตำบลคู้ยายหมี

จากเวทีประชาคม พูดคุยแนะนำตัว ของอาสาพัฒนาชุมชนที่ร่วมเวที ร้อยละ หนึ่งร้อย ทุกคนจะบอกว่าตนเองมีตำแหน่งในหมู่บ้านคล้ายๆกัน เช่น เป็น อสม. , อาสาปศุสัตว์ , กรรมการหมู่บ้าน, อพม., อาสาเกษตรหมู่บ้าน, ฯลฯ  รวมแล้ว ใน 1 คน มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่า 3-4 ตำแหน่ง

สรุปแล้ว จากการจัดเวทีประชาคม เพื่อคัดเลือกผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนในครั้งนี้ พบว่า อช. หรือ
อาสาพัฒนาชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน สวมหมวกหลายใบจริงๆนะ (ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ)
                 
สรุป จากการบันทึกองค์ความรู้ที่ได้รับ
  • อาสาสมัครทั้งหลายของหน่วยงานต่างๆในหมู่บ้าน และ อช. ส่วนใหญ่เป็นคน คนเดียวกัน
  • อาสาสมัครเหล่านั้น และ อช. ทำงานด้วยใจรักงานอาสา
  • ไม่ว่าจะสังกัดกับหน่วยงานใด พวกเขาทำงานอาสา ด้วยใจรัก
  • งานอาสาสมัครต้องทำด้วยใจ ห้ามคำนึงถึง ค่าตอบแทน
  • จะทำทุกอย่างได้ต้องได้รับการอบรมมาก่อน
  • งานอาสาสมัครเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุขทางใจ (ได้ช่วยเหลือผู้อื่น/ชุมชน)
  • การเข้ารับการอบรมบ่อยๆ จะทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น (ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ)
  • ทุกครั้งที่มีการ อบรม  สัมมนา  จะมีความรู้สึกที่ดี  เนื่องจากมีการพัฒนาตนเองขึ้น
  • มีการประชุม  พบกันบ่อยๆ  จะทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • อาสาสมัคร เป็นงานที่ทำเพื่อหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเอง  แต่ต้องมีคนเสียสละเพื่อส่วนรวม      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น