วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นปัญหายาเสพติด


ชื่อ นามสกุล   นางศศิฉาย  สุคนธฉายา
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด    สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์    08-1349-9697
ชื่อเรื่อง   สุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นปัญหายาเสพติด

เนื้อเรื่อง
กองทุนแม่ของแผ่นดิน เป็นกองทุนที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทาน  พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยเงินนี้เสมือนเป็นเงินขวัญถุงพระราชทาน ถือเป็นเงินที่มีความศักดิ์สิทธิ์จะต้องคงอยู่ จังหวัดฉะชิงเทราได้ดำเนินการเมื่อปี ๒๕๔๘–๒๕๕3 จำนวน ๑54 กองทุน เงินทุนพระราชทาน 5,294,038 บาท  

กรมการพัฒนาชุมชน มีการประเมินสถานการณ์เพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยการตรวจสุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อจัดระดับสุขภาพของกองทุนแม่ของแผ่นดิน 3 ระดับ คือ ระดับ A (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 80) หมายถึง กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง หมู่บ้าน/ชุมชนมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้  ระดับ B (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 แต่ไม่ถึงร้อยละ 80) หมายถึง กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง หมู่บ้าน/ชุมชนมีระบบเฝ้าระวัง หากได้รับการพัฒนาศักยภาพในบางด้านจะสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ได้  และระดับ C (คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50) กองทุนแม่ของแผ่นดินที่ต้องมีการปรับปรุง

ซึ่งมีตัวชี้วัดการประเมินสถานการณ์พัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน ดังนี้ 1)การบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 5 ตัวชี้วัด 2)การบริหารเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน  จำนวน 4 ตัวชี้วัด 3)การดำเนินงานด้านยาเสพติด จำนวน 6 ตัวชี้วัด 4)การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 4 ตัวชี้วัด

กระบวนการรวบรวมองค์ความรู้
การดำเนินงาน 9 ขั้นตอนสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด
ขั้นตอนที่ 1 : คัดเลือกชุมชนเป้าหมาย เน้นพื้นที่ซึ่งประชาชนค่อนข้างพร้อมที่จะมีส่วนร่วมเพื่อจัดตั้งเป็นชุมชนเข้มแข็งตัวอย่างกรณีมีชุมชนตัวอย่างอยู่แล้ว ก็ใช้เป็นชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ในรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ ดูงาน หรืออาจสนับสนุนให้แกนนำชุมชนเข้มแข็งดังกล่าวพัฒนาบทบาทเป็นวิทยากรกระบวนการเพื่อขยายแนวทางไปสู่ชุมชนอื่น ๆ

ขั้นตอนที่ 2 : สืบสภาพชุมชน เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลที่สำคัญของชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม ผู้คน สังคม เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียมประเพณีและปัญหาของชุมชนโดยสังเขป ซึ่งนอกจากการพบปะพูดคุยกับชาวบ้านตามครัวเรือนแล้ว วิทยากรกระบวนการอาจอาศัยโอกาสต่าง ๆ เพื่อเปิดเวทีย่อย เพื่อเผยแพร่แนวคิดแนวทางว่า มาตรการปราบปรามเพียงลำพังไม่สามารถแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในชุมชนได้จำเป็นต้องอาศัยพลังสามัคคีจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อดูแลชุมชนของคนเอง

ขั้นตอนที่ 3 : คัดเลือกชุมชนเป้าหมาย เน้นพื้นที่ซึ่งประชาชนค่อนข้างพร้อมที่จะมีส่วนร่วมเพื่อจัดตั้งเป็นชุมชนแนวทางให้กับผู้นำชุมชน โดยเฉพาะ การเน้นบทบาทของผู้นำธรรมชาติ แต่ไม่ได้มองข้ามความสำคัญของผู้นำทางการ ซึ่งต้องประสานสอดคล้องกันเพราะในขณะที่ผู้นำทางการเหมาะสมที่จะเป็นผู้ประสานที่ดีระหว่างชุมชนกับหน่วยราชการ ผู้นำธรรมชาติซึ่งมาจากศรัทธาของชาวบ้านจะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างแท้จริงจึงเหมาะสมที่จะเป็นแกนหลักขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง

ขั้นตอนที่ 4 : เลือกผู้นำธรรมชาติ (เวทีประชาคมครั้งแรก) เป็นการจัดเวทีประชาคมครั้งแรก เพื่อให้ชาวบ้านคัดเลือก คณะผู้นำธรรมชาติของชุมชน โดยควรมีครัวเรือนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 มาร่วมประชุม เพื่อเป็นเสียงส่วนใหญ่ของชุมชนอย่างแท้จริง วิทยากรกระบวนการจะต้องตอกย้ำความเข้าใจถึงแนวทางการสร้างชุมชนเข้มแข็งให้กับชาวบ้าน จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการคัดเลือกโดยมีหลักการคือ เป็นคนในชุมชนที่ชาวบ้านนับถือ ศรัทธาหรือหวังพึ่งยามทุกข์ยาก ซึ่งต้องไม่ใช่ผู้นำทางการ ข้าราชการหรือนักการเมืองท้องถิ่นด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม 10 ข้อ เพื่อครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อย่างครบถ้วน สาระสำคัญคือหากชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหรือมีปัญหาต่าง ๆ จะไปปรึกษาใคร ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็น ประธานชุมชนเข้มแข็งส่วนที่ได้คะแนนรองลงไปก็เป็นกรรมการใน คณะกรรมการชุมชนเข้มแข็งจำนวนกรรมการขึ้นอยู่กับขนาดของชุมชนและขนาดของปัญหายาเสพติด โดยใช้สัดส่วนของกรรมการต่อครัวเรือน 1 : 2 ถึง 1 : 5 เพื่อให้สามารถดูแลชุมชนได้อย่างทั่วถึง

ขั้นตอนที่ 5 : รณรงค์ประชาสัมพันธ์  การสร้างชุมชนเข้มแข็งนั้นจำเป็นต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่ในชุมชนและด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันทั้งผู้เสพ-ผู้ค้า-ชาวบ้านทั่วไป จึงต้องใช้ สันติวิธีในการทางานเพื่อไม่ให้กระทบกระทั่งบาดหมางกัน ดังนั้นหลักสำคัญของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์คือให้ทุกครัวเรือนเข้าใจแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดและขยายความร่วมมือของชาวบ้านมาเป็นแนวร่วมดำเนินการให้มากที่สุด โดยสร้างความเข้าใจว่าคณะกรรมการไม่ได้มุ่งที่จะต่อต้านใคร แต่จะช่วยเหลือให้โอกาสทุกคนเพื่อสร้างความสุขความเจริญให้กับชุมชน

ขั้นตอนที่ 6 : คัดแยกผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (เวทีประชาคมครั้งที่ 2) ด้วยแนวคิดที่ว่า ปัญหายาเสพติดอยู่ที่ผู้เสพและผู้ค้า โดยผู้เสพเป็นฐานให้แก่ผู้ค้าหากไม่มีผู้เสพ ผู้ค้าก็อยู่ไม่ได้กรรมการแต่ละคนจึงสอดส่องดูแลเครือข่ายบ้านที่ตนรับผิดชอบว่าผู้ใดเป็นผู้เสพ-ผู้ค้า-ผู้ผลิต รวมทั้งที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย แต่จะไม่ใช้วิธีกดดันหรือกระทำการใด ๆ ต่อบุคคลดังกล่าว เช่น ตรวจปัสสาวะหรือการค้นบ้าน เพื่อไปสู่กระบวนการ คัดแยกผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมดในชุมชนซึ่งอาศัยหลักการ คัดแยกเพื่อให้การช่วยเหลือมิใช่เพื่อนำมาลงโทษการใช้คณะกรรมการในสัดส่วนที่ดูแลทุกครัวเรือนได้ทั่วถึง ทำให้มีความสามารถที่จะคัดแยกทั้งชุมชนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ วิธีการคือคณะกรรมการจัดประชุมและให้กรรมการ แต่ละคนกรอกชื่อที่ได้มาลงในแบบสอบถามแล้วหย่อนลงกล่องกระดาษเพื่อไม่ให้รู้ว่ากรรมการคนไหนกรอกชื่อใคร เมื่อครบแล้วจึงเปิดกล่องนำทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน

ขั้นตอนที่ 7 : การรับรองครัวเรือน (เวทีประชาคมครั้งที่ 3) เป็นการประชุมเพื่อรับรองครัวเรือนซึ่งแยกบัญชีไว้ว่าไม่มีสมาชิกอยู่ในรายชื่อผู้มีพฤติการณ์ โดยคณะกรรมการอ่านรายชื่อของสมาชิกแต่ละครัวเรือน หากครัวเรือนใดไม่ได้รับเสียงรับรองเป็นเอกฉันท์ ก็นำรายชื่อผู้เกี่ยวข้องหรือต้องสงสัยไปปรับเพิ่มในบัญชีผู้มีพฤติการณ์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าครอบครัวนั้นไม่ดี แต่เป็นการรอตรวจสอบให้มั่นใจแล้วค่อยรับรองในโอกาสต่อไป

ขั้นตอนที่ 8 : ใช้มาตรการทางสังคม เป็นขั้นตอนการดำเนินการต่อผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งจะได้วิธีโน้มน้าวชักจูงทั้งผ่านสื่อรณรงค์และการพบปะของคณะกรรมการเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นมาแสดงตัวเพื่อประกาศว่าจะเลิกเสพเลิกค้า ด้านผู้มีพฤติกรรมเมื่อถูกกดดันจากสังคม ก็จะเริ่มทยอยมาแสดงตัวกลับใจ

กรณีที่เป็นผู้เสพก็จะมีการบาบัดรักษาตามความจำเป็นและความเหมาะสมของแต่ละรายไป สังคมชุมชนมีบทบาทในการสอดส่องดูแลช่วยเหลือให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจึงเป็นระบบควบคุมพฤติกรรม แต่ไม่ควบคุมตัวหัวใจสำคัญของการช่วยเหลือผู้เสพก็คือ บรรยากาศความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในชุมชนและครอบครัว ผู้เสพจำนวนมากมีอาการดีขึ้นด้วยการบำบัดทางการแพทย์ แต่สามารถเลิกยาได้เด็ดขาดด้วยการบำบัดของชุมชนดังกล่าว

ขั้นตอนที่ 9 : รักษาสถานะชุมชนเข้มแข็ง เป้าหมายสูงสุดของการสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ได้ อยู่ที่การทำให้ชุมชนปลอดยาเสพติดอย่างรวดเร็ว หากแต่เป็นการทำให้ชุมชน ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน ดังนั้น บทบาทของคณะกรรมการชุมชนเข้มแข็งจึงต้องเป็นแกนนำในการระดมความร่วมมือร่วมใจของทุกคนในชุมชนเพื่อช่วยกันสอดส่อง เฝ้าระวังป้องกันไม่ให้ยาเสพติดหวนกลับมาอีกโดยการประชุมประชาคมเพื่อรับรองครัวเรือนปลอดภัยยาเสพติดเป็นประจาทุกเดือน รวมทั้งต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภูมิคุ้มกันยาเสพติดระยะยาวและเป็นการรักษาสถานะชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน


เนื้อหาองค์ความรู้และการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา
1. กองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดฉะเชิงเทรา
กองทุนแม่ของแผ่นดิน เริ่มดำเนินการเมื่อปี ๒๕๔๘–๒๕๕๒  จำนวน ๑๓๓ กองทุน เงินทุนพระราชทานจำนวน  ๑,๐๘๘,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านแปดหมื่นแปดพันบาทถ้วน) และปี ๒๕๕๓ จำนวน ๒๑ หมู่บ้าน และคัดเลือกกองทุนแม่ดีเด่นจำนวน ๑ หมู่บ้าน เงินทุนพระราชทาน ทั้งสิ้น 4,206,038 บาท ปัจจุบันมีกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 154 กองทุน เงินทุนพระราชทานทั้งสิ้น 5,294,038 บาท  มีสมาชิก 13,852 คน เงินทุนทั้งหมด 8,596,666 บาท

2. ผลการประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน
การประเมินสถานการณ์เพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยการตรวจสุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อจัดระดับสุขภาพของกองทุนแม่ของแผ่นดิน 3 ระดับ คือ
ระดับ A (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 80) หมายถึง กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง หมู่บ้าน/ชุมชนมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้  จำนวน 41 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 26.72
ระดับ B (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 แต่ไม่ถึงร้อยละ 80) หมายถึง กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง หมู่บ้าน/ชุมชนมีระบบเฝ้าระวัง หากได้รับการพัฒนาศักยภาพในบางด้านจะสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ได้  จำนวน 70 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 45.46
ระดับ C (คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50) กองทุนแม่ของแผ่นดินที่ต้องมีการปรับปรุง จำนวน 43 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 27.92

3. การสร้างศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน ให้เป็นแบบอย่างการพัฒนาและการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน ในการคัดเลือกหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีความพร้อมเข้ารับพระราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดิน สำนักงาน ป.ป.ส. ให้จังหวัดคัดเลือกหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่น ที่ได้รับกองทุน และมีผลการดำเนินงานที่มีความโดดเด่น สามารถเป็นต้นแบบให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนอื่น จังหวัดละ 1 หมู่บ้าน และได้รับพระราชทานเงินขวัญถุงเพิ่มอีกจำนวน 8,000 บาท โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550  จนถึงปัจจุบันมีกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่น จำนวน 4 กองทุน

4. การเสริมสร้างความมั่นคงให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างความมั่นคงให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก ปปส.ภ.2 ดังนี้
1. อบรมวิทยากรกระบวนการชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการ 9 ขั้นตอน ให้กับตำรวจชุดมวลชน 18 สถานี จำนวน 65 คน เพื่อให้วิทยากรฯตำรวจ ได้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรม 3 เวที ดังนี้
เวที 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี 2555 กลุ่มเป้าหมายคือ หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินที่ได้รับพระราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี 2553 จำนวน 21 หมู่บ้าน
เวที 2 การถอดบทเรียนหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน (ปี 2548–2552) กลุ่มที่พึ่งพาตนเองและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ ลำดับที่ 1–30 สรุปคุณค่าของกองทุนแม่ของแผ่นดิน และจับคู่หมู่บ้าน 30 คู่ (ลำดับที่ 31-60) ดังนี้ 1)บทเรียนที่ 1 ระบบการบริหารกองทุนแม่ของแผ่นดิน 2)บทเรียนที่ 2 รูปแบบ/วิธีการเอาชนะยาเสพติดด้วนสันติวิธี 3)บทเรียนที่ 3 การใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและปัญหาพื้นฐานที่เป็นความเดือดร้อนอื่น
เวที 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน (หมู่บ้านที่เหลือ) ด้วยแนวทาง ดังนี้ 1) ซ่อมฐานให้เข้มแข็งด้วยกระบวนการ 9 ขั้นตอน สู่การพึ่งพาและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยสันติวิธี 2) พัฒนาสู่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง  ประกอบด้วย สถานที่ กระบวนการทำงาน ประสบการณ์เอาชนะยาเสพติดด้วยสันติวิธี สรุปบทเรียนทำเป็นสื่อครูชาวบ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ที่เหลือ 73 หมู่บ้าน

5. ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา มาจากประเด็นที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1) ผู้ริเริ่ม (วิทยากรกระบวนการ) เริ่มต้นของแนวคิดการทำงาน การขับเคลื่อนกระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาจากแนวคิดของภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ทำให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
2) ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง แกนนำภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง
3) กระบวนการการมีส่วนร่วม ความสำเร็จอย่างยั่งยืนย่อมไม่ฝากไว้ในมือของใครผู้ใดผู้หนึ่ง แต่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งภาคราชการ ภาคราชการนับเป็นปัจจัยสำคัญ ในการคุ้มครองส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนากำลังความสามารถในการช่วยเหลือดูแลชุมชนของตนเอง และภาคประชาชน ทั้งคณะกรรมการกองทุน ผู้นำธรรมชาติ ฯลฯ โดยเฉพาะวิทยากรกระบวนการภาคประชาชน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน

4) การใช้แนวคิดพึ่งพาตนเอง ประชาชนในชุมชนเป็นหลักในการดำเนินงานในลักษณะของชุมชน ชุมชนดูแลชุมชนไม่มัวรอความช่วยเหลือจากภายนอก แต่ความพร้อมจะลงมือคิด ลงมือทำ และร่วมมือกับทุกฝ่าย ไม่มีใครรู้ปัญหาในชุมชนได้ดีไปกว่าคนในชุมชนเอง ประชาชนต้องช่วยกัน เป็นหู เป็นตา กล้าคิด กล้าเสนอปัญหา กล้าพูดความจริง เพื่อให้รู้ปัญหาที่แท้จริงจะได้แก้ไขตรงจุด เน้นการดาเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหามากกว่าการทำงานเพียงให้เกิดกิจกรรมขึ้นมา หากมีผู้เสพ ผู้ค้า อยู่ในชุมชนต้องดำเนินงานลดจำนวนผู้เสพผู้ค้าอย่างมีเป้าหมายชัดเจนสามารถวัดผลได้
5) การแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี  ใช้สติแก้ปัญหาด้วยหลักพลังแผ่นดินซึ่งจะต้องเกิดจากความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน รู้จักการให้อภัย ให้โอกาสแก่ผู้ผิดพลาด ให้ความเข้าใจช่วยเหลือ ดูแลซึ่งกันและกัน
6) ความต่อเนื่องของกิจกรรม เพื่อความแก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานควรมีความต่อเนื่อง มีการประชุมประชาชนเป็นประจำ เพื่อเป็นเวทีในการติดตามแก้ไขปัญหายาเสพติด และหยิบยกปัญหาเดือดร้อนอื่นๆ ของชุมชนมาร่วมกันพิจารณา เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

ผลการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ (นำไปใช้แล้วมีผลอะไรเกิดขึ้นบ้าง)
การแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ตามแนวทางการสร้างความยั่งยืนของการแก้ไขปัญหา  ยาเสพติดถือเป็นแนวทางเดียวกับการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็ง ยาเสพติดก็จะอยู่ในชุมชนนั้นได้ยาก ซึ่งจะต้องทำในหลายเรื่องพร้อมกัน ที่สำคัญ ได้แก่
1) ภาคราชการให้ความสำคัญอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2) ต้องมีการกระตุ้นจิตสำนึก ไม่ให้สมาชิกลืมว่าเราต้องช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและพัฒนาชุมชนในด้านอื่น ๆ ตลอดไปไม่ใช่ปัญหายาเสพติดมันก็พร้อม จะกลับมาทุกเมื่อ
3) แกนนำมีความเข้มแข็งและจริงจัง

4) มีกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะกระบวนการค้นหาปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาโดยเชื่อมโยงกับปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชุมชนและแก้ไขโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้
5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดูแลคนและปัญหาของตนเอง                                                       
6) การสร้างเครือข่ายชุมชน โดยเราต้องชักชวนชุมชนอื่นให้มาร่วมกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยกัน ไม่เช่นนั้นถ้าชุมชนเราทำ แต่ชุมชนข้าง ๆ ไม่ทำ ชุมชนนั้นก็จะเป็นแหล่งระบาดของยาเสพติดแทนที่และก็กลับเข้ามาสู่ชุมชนเราทันทีเมื่อชุมชนเราอ่อนแอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น