วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่บ้านปลอดยาเสพติด


ชื่อ นามสกุล  นายกฤษวิสิฐ  จิรทิพย์รัช
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง
ชื่อเรื่อง  กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่บ้านปลอดยาเสพติด
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านปลายคลองยายเม้ย หมู่ที่ 18  ต.บางปะกง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

เรื่องเล่า
ข้าพเจ้าก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบประสานงานพื้นที่ตำบลบางปะกง ซึ่งเป็นชุมชนที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่อาศัย และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติดของ โดยหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง มีเพียง 256 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างในภาคอุตสาหกรรมและ มีนายวิษณุ สาตร์พันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน และนายสหัส เกตุประยูร เป็นประธานกองทุนแม่ของแผ่นดิน และได้มีการดำเนินการเรื่องของการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน และส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้แก่

1. การบริหารจัดการชุมชนโดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านที่มีการปกครองกันแบบเครือญาติทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน อยู่ในระเบียบศีลธรรมอันดี
2. มีการกำหนดแนวทางการอยู่ร่วมกันของประชาชนในหมู่บ้านและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามอัตภาพ ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขอย่างพอเพียง
3. มีการพบปะพูดคุย โดยใช้วิธีการประชาคมหมู่บ้าน หรือพูดคุยตามสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านค้า ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ตามโอกาสที่จะอำนวย เป็นประจำทุกวันที่ 19 ของเดือน จึงทำให้บ้านปลายคลองยายเม้ย ไม่ค่อยจะมีปัญหาร้ายแรง และทุกปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้โดยชุมชนเอง

4. มีการรวมกลุ่มกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้าน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในหมู่บ้านกันอยู่เสมอ
5. มีการเฝ้าระวังภายในหมู่บ้านและมอบหมายให้ทุกครัวเรือนดำเนินการ ดังนี้
5.1 ดูแลสมาชิกในครัวเรือน สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครัวเรือน
5.2 ดูแลบริเวณพื้นที่ของตนเองและเพื่อนบ้าน สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น
5.3 ช่วยสอดส่องดูแลภายในหมู่บ้าน สังเกตความผิดปกติของคนเข้า ออก ในหมู่บ้าน

6. มีการสำรวจปัญหาด้านยาเสพติด โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้าน ประชาชนคอยดูแล และรายงานความเคลื่อนไหว
7. มีการจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่จัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด
8. ให้กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งเป็นกลุ่มทุนชุมชนที่เข้มแข็งเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน

จากการดำเนินกิจกรรมด้านการต่อต้านยาเสพติด เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้บ้านปลายคลองยายเม้ย สามารถเอาชนะและสร้างเกราะป้องกันปัญหาด้านยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน โดยเห็นได้จากการได้รับการเข้าร่วมโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ก็ยังมีการประชุมหารือกันเป็นประจำทุกเดือน และปัจจุบันมีเงินในกองทุนแม่ของแผ่นดิน อยู่จำนวน 45,855 บาท ทำให้การเฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแลทำได้ง่าย หากมีอะไรไม่ปกติก็สามารถรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีอีกด้วย เหมือนที่ผู้ใหญ่วิทยา  พิทักษ์มงคล เล่าให้ฟังว่า เคยมีเด็กวัยรุ่นต่างถิ่นมาสูบกัญชา เสพยาบ้า ภายในหมู่บ้าน ซึ่งใช้มาตรการการพูดจา พูดคุยกันดีๆก่อน หลังจากนั้นเด็กวัยรุ่นเหล่านั้นก็รู้จักปรับตัว ผู้ใดปรับตัวไม่ได้ต้องใช้มาตรการงานสังคม หรือเชิญออกนอกหมู่บ้าน ด้วยการทำงานอย่างจริงจังของคณะกรรมการหมู่บ้าน และชาวบ้านในชุมชน จึงทำให้บ้านปลายคลองยายเม้ย เป็นหมู่บ้านที่ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืนได้

ขุมความรู้                                                         
1. ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย คอยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรม
2. ให้แนวคิดด้านการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด เพื่อที่ประชาชนจะสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิต
   3. ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนแสดงความสามารถ ร่วมกันทำงาน ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหา
4. ปลูกฝังค่านิยมเรื่องชุมชนปลอดยาเสพติด และขยายความรู้สู่ชุมชน
5. การจัดการความรู้ชุมชนด้วยกระบวนการจัดทำแผนชุมชน

แก่นความรู้
1. นำเอาแนวคิดด้านการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชุมชน
2. สร้างและทำความเข้าใจในการดำเนินชีวิตโดยไม่พึ่งพายาเสพติด
3. ส่งเสริม สนับสนุน ประชาชนในชุมชนให้เห็นความสามารถของตนเอง
   4. รวมกลุ่มคนและสร้างแกนนำ เพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนชุมชนปลอดยาเสพติด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด

กลยุทธ์
ส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วม และให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น