วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การวัดความสุขมวลรวมชุมชม (Gross Village Happiness) ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


ชื่อ-นามสกุล     นายรุ่ง วีระพันธ์
ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   ๐-๘๑-ู๖๕๒๕๘๑๐
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ  วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๕
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านปลายคลองขุนพิทักษ์ หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองจอก อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง         
กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชนบทมีวิถีชีวิตบนความพอประมาณ ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและภายนอก โดยการใช้ความรู้อย่างมีเหตุผลคู่กับคุณธรรมเป็นเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตโดยดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

บ้านปลายคลองขุนพิทักษ์ ตำบลหนองจอก ได้รับงบประมาณรักษาและพัฒนาคุณภาพความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ระดับพอยู่ พอกิน ในปีงบประมาณ ๒๕๕4 ได้ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อไปสู่เป้าหมายสำคัญของการพัฒนา คือความอยู่เย็น เป็นสุข” ของคนในหมู่บ้าน เมื่อดำเนินการตามโครงการสิ้นสุดแล้ว ได้มีการประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้านแบบมีส่วนร่วมตามเกณฑ์ชี้วัด ๔ ด้าน ๒๓ ตัวชี้วัด และสรุปบทเรียนบันทึกผลการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการติดตามประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้านไปสู่เป้าหมายที่เลือกคือ การสร้างความอยู่เย็น เป็นสุข ของชุมชนในภาพรวม สำนักงานพัฒนาชุมชนร่วมกับแกนนำการพัฒนาหมู่บ้านปลายคลองขุนพิทักษ์ ได้จัดเวทีการประเมินความสุขมวลรวมของชุมชน (Gross Village Happiness) บ้านปลายคลองขุนพิทักษ์ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองจอก อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
กระบวนการวัดความสุขมวลรวมบ้านปลายคลองขุนพิทักษ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
๑) บุคคลเป้าหมายประกอบด้วยตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้าน จำนวน 3๐ คน ประกอบด้วย- ผู้นำชุมชน- ประธานกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน- ครอบครัวพัฒนา- คณะกรรมการหมู่บ้าน
๒) วิทยากรกระบวนการคือ พัฒนากรประจำตำบล และมีพัฒนากรคนอื่น ๆ เป็นผู้ช่วยในการเอื้ออำนวย
๓) ขั้นตอนการดำเนินงานการวัดความสุขมวลรวม
๓.๑ สร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและมีบรรยากาศแบบสบาย ๆ
๓.๒ การนำเข้าสู่บทเรียน ชี้แจงวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสุขมวลรวม
๓.๓ ให้ที่ประชุมเลือกวิธีการลงประชามติ ที่ประชุมเลือกวิธีการยกมือ
๓.๔ ให้ผู้เข้าร่วมเวทียกมือในประเด็นประเด็นต่างๆ โดยวิทยากรพยายามกระตุ้นให้ผู้ร่วมเวทีได้คิดและเค้นความสุขในเรื่องต่าง ๆ โดยพัฒนากรคนอื่นๆ ช่วยนับผู้ที่ยกมือตามหมวดหมู่ของความสุขมวลรวม
๓.๕ วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมเวทีจำนวน 3๐ คน ให้คะแนนความสุขในแต่ละองค์ประกอบ ๖ องค์ประกอบ มีค่าคะแนน ๑-๕ คะแนน โดยให้แต่ละคนยกมือให้ค่าคะแนนทีละองค์ประกอบจนครบ  องค์ประกอบ
๓.๖ วิทยากรสรุปค่าคะแนนแล้วเปรียบเทียบกับสภาพความอยู่เย็นเป็นสุข ตามเกณฑ์ที่กรมกำหนด
๓.๗ เวทีร่วมกันวิเคราะห์ องค์ประกอบที่มีค่าคะแนนต่ำเพื่อจะได้วางแผนพัฒนาหมู่บ้านให้ดีขึ้นต่อไป

แก่นความรู้  (Core Competency)
จากเวทีการวัดความสุขมวลรวมของหมู่บ้านปลายคลองขุนพิทักษ์ มีประเด็นที่เป็นข้อสรุปร่วมกันดังนี้
๑. การวัดความสุขมวลรวมของชุมชนนั้น จะต้องสร้างบรรยากาศในเวทีการวัด (เวทีประชาคม) มีความสุขด้วยให้เกิดบรรยากาศสบาย ๆ
๒. การวัดความสุขมวลรวมเป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากผู้นำชุมชนดำเนินการเองได้
๓. ความสุขมวลรวมมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลง
๔. ชุมชนควรมีการประชาคมวัดความสุขอย่างน้อยปีละ  ครั้ง
๕. การวัดความสุขมวลรวมของชุมชนจะเกิดประโยชน์มากหากชุมชนได้ร่วมกันวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นความจริงที่มีค่าคะแนนต่ำหรือมีค่าคะแนนลดลงเพื่อนำมาวางแผนแก้ไขปัญหา
๖. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมีผลต่อความเที่ยงตรงของค่าคะแนนความสุขมวลรวมที่วัดได้

ข้อสังเกต
๑.  วิทยากรกระบวนการจะต้องแสดงบทบาทของผู้เอื้ออำนวยกระตุ้นให้ผู้ร่วมเวทีประชาคมคิดไม่ชี้นำ
๒.  วิทยากรกระบวนการต้องเข้าใจองค์ประกอบของแต่ละตัวชี้วัดให้ลึกซึ้งครบถ้วนทุกประเด็น
๓.  การให้ค่าคะแนนแต่ละครั้งผู้ให้คะแนนต้องมีอิสระในการตัดสินใจไม่ถูกกดดันหรือครอบงำจากผู้เข้าร่วมเวทีประชาคม (ควรยกมือให้ค่าคะแนนโดยไม่มีการครอบงำหรือกดดัน)

กลยุทธ์ในการทำงาน
๑.  การสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองและความไว้วางใจซึ่งกันและกันในเวทีประชาคม
๒.  การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์กระตุ้นความคิดให้กับชุมชน
๓.  ใช้หลักประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
๔.  มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

กฎระเบียบแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
๑.  แนวคิดการการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
๒.  ตัวชี้วัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ของชุมชนหรือความสุขมวลรวมชุมชน (Gross Village Happiness) ของกรมการพัฒนาชุมชน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น