วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อ-นามสกุล    นายพีรวัฒน์  ช่องท้วม
ตำแหน่ง         นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด            สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์   081-4755640
ชื่อเรื่อง          การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ    การขับเคลื่อนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เนื้อเรื่อง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต  รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การมีรายได้ที่สามารถอุ้มชูตัวเองให้มีความพอเพียงกับตัวเอง อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยต้องสร้างพื้นฐานของรายได้ของตนเองให้ดีเสียก่อน   ซึ่งการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง นั้น เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งวิธีการที่จะดำเนินการให้หมู่บ้านนั้นเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงได้      จึงมีวิธีดำเนินการดังนี้
  • กำหนดหมู่บ้านเป้าหมายในการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยเข้าไปคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับกลุ่มย่อย เพื่อที่ให้กลุ่มย่อยได้ขยายผลไปสู่หมู่บ้าน  ให้เกิดแนวร่วมเดียวกัน
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักเศรษฐกิจพอเพียง 6x2  โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม จากหน่วยงานภาคี กลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน ให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน
  • สนับสนุนให้หมู่บ้านดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำแผนชีวิตทำบัญชีครัวเรือน ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง  ทำปุ๋ยไว้ใช้เอง เพื่อเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ซึ่งเป็นหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
  • ศึกษาดูงานหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จ จากการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาปรับใช้กับหมู่บ้าน
  • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เช่น ทำแผ่นพับ ทำเอกสารรูปเล่ม การจัดทำ Website
  • ติดตาม/ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงาน
กลยุทธ์ในการทำงาน
  • ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
  • จัดเก็บข้อมูลเอกสารอย่างเป็นระบบและปัจจุบัน
  • ประสานการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
  • ติดตาม/ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ
  • พัฒนากรต้องเข้าใจ เข้าถึงผู้นำและประชาชน
  • พัฒนากรต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ กับผู้นำและประชาชน
  • พัฒนากรจะต้อง ติดตามและประเมินผลเพื่อปรับปรุงการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น