ตำแหน่ง
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพนมสารคาม
เบอร์โทรศัพท์
042-891415
ชื่อเรื่อง
การบริหารจัดการเงินทุนตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
(กข.คจ.)
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ
การจัดการเงินทุนในหมู่บ้าน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ
พฤศจิกายน 2554
สถานที่เกิดเหตุการณ์
บ้านต้นตาล หมู่ที่ 9 ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อหา
บ้านต้นตาล มีครัวเรือนทั้งหมด 135 ครัวเรือน คนประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร
คือการทำนา ปลูกชะอม บ้านต้นตาล
ได้รับงบประมาณในการสนับสนุนในการแก้ไข ปัญหาความยากจนของครัวเรือน เมื่อปี พ.ศ. 2539
จำนวนเงินทุน 280,000 บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครัวเรือนเป้าหมายตามโครงการ ๓๔
ครัวเรือนปัจจุบันเงินทุนหมุนเวียน 281,114.12 บาท (สองแสนแปดหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยสิบสี่บาทสิบสองสตางค์) แม้จะเพิ่มขึ้นไม่มาก
แต่ก็เป็นเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน ให้ครัวเรือนกู้ยืมในการประกอบอาชีพ
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ครัวเรือนในหมู่บ้านให้ดีขึ้นภายใต้การบริหารงานของ
นายสำอาง ระวิโรจน์ ประธานคณะกรรมการ
กข.คจ. ปัจจุบัน
บันทึกขุมความรู้
(Knowledge
Assets)
การบริหารจัดการเงินของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)สามารถบริหารจัดการเงินทุน
เพื่อให้ครัวเรือนสามารถกู้ยืมไปประกอบอาชีพ ทำให้ครัวเรือนมีคุณภาพที่ดีขึ้นเกิดจาก
- การแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.หมู่บ้านยึดหลักการคัดเลือกคณะกรรมการจากตัวแทน กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน โดยการจัดเวทีประชาคม ถือมติที่ประชุม กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งและอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการ กข.คจ.หมู่บ้าน (ตามระเบียบฯ พ.ศ. 2553 ข้อ 9 และข้อ 10 ) และมอบหมายหน้าที่ตาม ความเหมาะสม
- การคัดเลือกและจัดทาบัญชีทะเบียนครัวเรือนเป้าหมาย โดยคณะกรรมการ กข.คจ.หมู่บ้านจะ ปรับปรุงบัญชีทะเบียนครัวเรือนเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน โดยยึดครัวเรือนเป้าหมายเดิมเป็นหลัก เป้าหมายยังคงมี 64 ครัวเรือน เนื่องจากพิจารณาจากคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ ของครัวเรือนยังไม่บรรลุตัวชี้วัด
- การพิจารณาอนุมัติโครงการและยืมเงิน คณะกรรมการจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเงินกู้ โดย พิจารณาจากความจาเป็นเร่งด่วน การประกอบอาชีพ โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจากพัฒนากรผู้ประสานงาน ประจำตำบลก่อน จึงจะเรียกมาทำสัญญา
- การทาสัญญายืมเงินตามโครงการ เมื่อผ่านการเห็นชอบจากพัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบล คณะกรรมการจะแจ้งให้ครัวเรือนเป้าหมายที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมมาทาสัญญายืมเงิน โดยทำขึ้น 3 ฉบับ(โดยให้ ครัวเรือน 1 ชุด คณะกรรมการเก็บไว้ 1 ชุด และอีก 1 ชุดส่งให้สานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเก็บ)
- การโอนเงินทุนให้ครัวเรือนเป้าหมาย หมู่บ้านใช้บริการกับธนาคาร ธกส. สาขาออมสิน การโอน เงินจะโอนผ่านบัญชีธนาคารเท่านั้น เพื่อป้องการความผิดพลาดในการบริหารเงิน
- การส่งคืนเงินยืม จะใช้เวทีในการกำหนดระยะเวลา เนื่องจากครัวเรือนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการ ประกอบอาชีพด้านการเกษตร จึงกำหนดระยะเวลาส่งคืนปีต่อปี
- การติดตาม คณะกรรมการ กข.คจ. จะติดตามให้คำแนะนำในการประกอบอาชีพ สำหรับการ ติดตามในระดับหมู่บ้าน พัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบลและเจ้าหน้าที่ทุกคนจะติดตามให้คำแนะนำการ ดำเนินงาน โดยให้ยึดระเบียบในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
- หมู่บ้านมีการบริหารจัดการเงินกองทุนควบคู่กับการบริหารเงินกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งมี เงินสัจจะและดอกผล 1,569,400 บาท หมู่บ้านยึดหลักคุณธรรม 5 ประการในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้าน
- คณะกรรมการและสมาชิกยึดระเบียบในการบริหารจัดการเงิน มีการประประชุมปรึกษาหารือ รวมทั้งเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น
แก่นความรู้
(Core
Conpetency)
- การแก้ไขปัญหาความยากจนของครัวเรือน
- การบริหารจัดการเงินทุน
- ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความ ยากจน พ.ศ. 2553
กลยุทธ์ในการทำงาน
:
- ยึดระเบียบในการดำเนินงาน
- กำหนดขั้นตอนการทางานการคัดเลือกคณะกรรมการและครัวเรือนเป้าหมาย ตามระเบียบกำหนด
- ติดตามแนะนำสนับสนุนการดำเนินงาน
- เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น