ชื่อ - นามสกุล นายชวลิต ศิริวัฒนโยธิน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราเบอร์ที่โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 038-825513
ชื่อเรื่อง สวัสดิการกองทุนหมู่บ้าน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการสวัสดิการของกองทุนหมู่บ้านเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2548
สถานที่ หมู่ที่ 6 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
ในปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนให้หมู่บ้านทุกหมู่บ้านได้บริหารจัดการเงินทุน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งทุน โดยประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหารจัดการเงินทุนที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล เป็นเงิน 1,000,000 บาท บ้านลาดบัวขาว หมู่ที่ 6 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ยังได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับ AAA ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มอีก 100,000 บาท คณะกรรมการกำหนดระเบียบของหมู่บ้านให้สมาชิกกองทุนทุกคน ฝากเงินสัจจะทุกวันที่ 8 ของเดือน
ปี 2548 ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบเป็นพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลหัวไทร สมาชิกกองทุนได้มีการสอบถาม เรื่องการการบริหารจัดการเงินรายได้ของกองทุน ในแต่ละรอบปี มีการดำเนินงานที่ไม่โปร่งใส ซึ่งมีรายได้ต่อปี ประมาณ 150,000 บาท ทำไมสมาชิกจึงไม่ได้รับประโยชน์จากเงินดังกล่าว คณะกรรมการนำเงินไปใช้จ่ายในด้านใด ไม่มีการชี้แจงให้สมาชิกทราบให้ละเอียด
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราเบอร์ที่โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 038-825513
ชื่อเรื่อง สวัสดิการกองทุนหมู่บ้าน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการสวัสดิการของกองทุนหมู่บ้านเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2548
สถานที่ หมู่ที่ 6 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
ในปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนให้หมู่บ้านทุกหมู่บ้านได้บริหารจัดการเงินทุน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งทุน โดยประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหารจัดการเงินทุนที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล เป็นเงิน 1,000,000 บาท บ้านลาดบัวขาว หมู่ที่ 6 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ยังได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับ AAA ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มอีก 100,000 บาท คณะกรรมการกำหนดระเบียบของหมู่บ้านให้สมาชิกกองทุนทุกคน ฝากเงินสัจจะทุกวันที่ 8 ของเดือน
ปี 2548 ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบเป็นพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลหัวไทร สมาชิกกองทุนได้มีการสอบถาม เรื่องการการบริหารจัดการเงินรายได้ของกองทุน ในแต่ละรอบปี มีการดำเนินงานที่ไม่โปร่งใส ซึ่งมีรายได้ต่อปี ประมาณ 150,000 บาท ทำไมสมาชิกจึงไม่ได้รับประโยชน์จากเงินดังกล่าว คณะกรรมการนำเงินไปใช้จ่ายในด้านใด ไม่มีการชี้แจงให้สมาชิกทราบให้ละเอียด
จากการสอบถามข้อมูลกับคณะกรรมการกองทุนและสมุดบันทึกต่างๆของกองทุน ตลอดจนงบดุล ผลการดำเนินงานรอบปีที่ผ่านมา กองทุนได้มีการจดบันทึกไว้ในรายงานการประชุมประจำเดือนทุกเดือน กรรมการที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี รับ-จ่ายเงิน ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการ แต่ยังเป็นสมาชิกกองทุน
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
- การบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
- การจัดทำระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน
- การประชุมสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
- การจัดทำทะเบียนคุมต่างๆ
- การบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
- การจัดทำระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน
- การประชุมสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
- การจัดทำทะเบียนคุมต่างๆ
แก่นความรู้ (Core Competencies )
- ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล
- ติดตาม ตรวจสอบข้อมูลที่มีการบันทึกไว้
- ประชุม ชี้แจง สร้างความเข้าใจ
- แก้ไขปัญหาสัมฤทธิ์ผล สมาชิกพึงพอใจ
กลยุทธ์ในการทำงาน
1.ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล
ก่อนดำเนินการ ได้มีการตรวจสอบข้อมูลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุน ทะเบียนสมาชิก สมุดคุมเงินฝากธนาคาร สมุดบันทึกการประชุม เป็นต้น เพื่อต้องการทราบว่ารายได้ของกองทุนในแต่ละปี มีการเบิกใช้จ่ายตามระเบียบข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านหรือไม่ อย่างไร , มีหลักฐานการใช้จ่ายเงิน หรือไม่ เปรียบเทียบกับรายได้ ถูกต้องตรงกันหรือไม่
2.ปรึกษาหารือ
นำข้อมูลที่ได้รับ เข้าประชุมคณะกรรมการกองทุนประจำเดือน ให้คณะกรรมการรับทราบ และวางแนวทางการดำเนินงานในรอบปีต่อไป ซึ่งในวันประชุมคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการจัดทำบัญชี รับผิดชอบการใช้จ่ายเงิน ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการก่อนที่จะมีการประชุม
3.หาข้อยุติ
กรรมการกองทุนได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานกองทุน โดยให้มีการจัดทำบัญชีรายรับ-จ่าย กองทุน เป็นประจำทุกเดือน และรายงานให้ที่ประชุมกรรมการทราบ การจัดสวัสดิการได้กำหนดระเบียบที่กองทุนสามารถปฏิบัติได้ การจัดสรรรายได้ของกองทุนได้กำหนดตามระเบียบของกองทุน ดังนี้
1) เป็นเงินสมทบกองทุน ร้อยละ 10
2) เป็นเงินประกันความเสี่ยง ร้อยละ 15
3) เป็นเงินเฉลี่ยคืนผู้กู้ ร้อยละ 10
4) เป็นเงินค่าตอบแทนกรรมการ ร้อยละ 15
5) เป็นเงินสวัสดิการ ร้อยละ 60
ในการจัดสวัสดิการสมาชิก มีการจ่ายสวัสดิการเป็นค่ารักษาพยาบาล (คนไข้ใน คืนละ
400 บาท ไม่เกิน 10 คืนต่อปี) เป็นค่าฌาปนกิจศพสมาชิก รายละ 5,000 บาท เป็นค่าตอบแทนการทำงานของกรรมการทุกวันที่ 8 ของเดือน เป็นเงิน 3,600 บาท/เดือน เป็นเงินสวัสดิการในการทำประกันชีวิตของสมาชิก เป็นค่าใช้จ่ายสวัสดิการสมาชิกในการประชุม ค่าใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการสมาชิกกองทุนอื่นๆ กรรมการจะประชุมพิจารณาทุกเดือน ในจำนวนเงินวงเงินไม่เกินร้อยละ 60 ของรายได้ กรรมการจัดทำรายงานสรุปต่อที่ประชุมสามัญประจำปี (ทุกวันที่ 8 มกราคม ทุกปี) จากการประชุมสามัญประจำปี 2549 เป็นต้นมา ไม่มีข้อโต้แย้งจากสมาชิกกองทุน สมาชิกส่งเงินฝากสัจจะทุกวันที่ 8 ของเดือน ครบ 100% สมาชิกส่งคืนเงินกู้กองทุนและเงินกู้สัจจะ ตรงเวลาตามสัญญา สร้างความมั่นคง ยั่งยืนให้กับกองทุน
4. ชี้แจงด้วยความสุขุม รอบคอบ และเป็นมิตร
เมื่อมีการกำหนดแนวทางการจัดสวัสดิการสมาชิกกองทุน กรรมการกองทุนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน จะได้เข้าใจตรงกันเมื่อสมาชิกสอบถาม จะได้ตอบได้ถูกต้องตรงกัน กรรมการกองทุนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และพึงพอใจตามที่ได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
5. สร้างความพึงพอใจ
สร้างความพึงพอใจร่วมกัน ระหว่างกรรมการกองทุนกับสมาชิกกองทุน ทุกฝ่ายเปิดเผย โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกเวลา
6. งานสัมฤทธิ์ผล รู้สึกเป็นสุข
คณะกรรมการกองทุนและสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในการจัดระบบสวัสดิการชุมชน ด้วยการบริหารจัดการของตนเอง ได้รับประโยชน์ร่วมกัน มีความพึงพอใจซึ่งกันและกัน
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.2547
- ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ว่าด้วย การจัดตั้ง การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2552
- ระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านลาดบัวขาว หมู่ที่ 6 ตำบลหัวไทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น