ชื่อ – นามสกุล นางอุไรวรรณ อินทวงศ์
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081-8369596
ชื่อเรื่อง การดำเนินงานโครงการ กข.คจ.ที่ต้องขำระคืน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การไม่ชำระคืนเงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2552
สถานที่เกิดเหตุ บ้านคลองบางกระเสน หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว
เนื้อเรื่อง
ข้าพเจ้า นางอุไรวรรณ อินทวงศ์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ขำนาญงาน ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบตำบล คือ ตำบลบางแก้ว และได้รับผิดชอบพื้นที่ในตำบลบางแก้ว มีเงินงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านชูพัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลบางแก้ว และ หมู่ที่ 12 บ้านคลองบางกระเสน ได้รับงบประมาณ หมู่ละ 280,000 บาท เป็นเงิน 560,000 บาท ซี่งได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 แต่หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว มีปัญหาซึ่งมีครัวเรือนเป้าหมายไม่ยอมคืนเงินยืมตามสัญญาเงินยืม
บันทึกขุมความรู้
สาระสำคัญโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ ครัวเรือนยากจนยืมเงินไปประกอบอาชีพแล้วนำส่งคืนตามกำหนด
ขั้นตอนการยืมเงินและวิธีปฏิบัติตามระเบียบฯ
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081-8369596
ชื่อเรื่อง การดำเนินงานโครงการ กข.คจ.ที่ต้องขำระคืน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การไม่ชำระคืนเงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2552
สถานที่เกิดเหตุ บ้านคลองบางกระเสน หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว
เนื้อเรื่อง
ข้าพเจ้า นางอุไรวรรณ อินทวงศ์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ขำนาญงาน ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบตำบล คือ ตำบลบางแก้ว และได้รับผิดชอบพื้นที่ในตำบลบางแก้ว มีเงินงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านชูพัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลบางแก้ว และ หมู่ที่ 12 บ้านคลองบางกระเสน ได้รับงบประมาณ หมู่ละ 280,000 บาท เป็นเงิน 560,000 บาท ซี่งได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 แต่หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว มีปัญหาซึ่งมีครัวเรือนเป้าหมายไม่ยอมคืนเงินยืมตามสัญญาเงินยืม
บันทึกขุมความรู้
สาระสำคัญโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ ครัวเรือนยากจนยืมเงินไปประกอบอาชีพแล้วนำส่งคืนตามกำหนด
ขั้นตอนการยืมเงินและวิธีปฏิบัติตามระเบียบฯ
ขั้นที่ 1 การเสนอโครงการและคำขอยืมเงิน ให้หัวหน้าครอบครัวหรือผู้แทนซึ่งมีสิทธิขอยืมเงินตามโครงการ ยื่นเอกสารต่อ กม. ดังนี้
(1) คำร้องตามแบบท้ายระเบียบ(คำขอยืม)
(2) โครงการหรือกิจกรรมที่ครัวเรือนยากจนจะดำเนินการ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 ข้อ 16
ขั้นที่ 2 การอนุมัติโครงการและคำขอยืมเงิน ให้ กม. ปรึกษา คปต. ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารและพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อประกอบในการพิจารณาอนุมัติโครงการและให้เลขานุการ กม. แจ้งผลการพิจารณาโครงการให้อำเภอทราบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 17
ขั้นที่ 3 การทำสัญญายืมเงิน ในการทำสัญญายืมเงิน ให้ทำตามที่กำหนดท้ายระเบียบฯ จำนวนอย่างน้อย 3 ชุด โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) มอบให้ครัวเรือนยากจนผู้ยืม 1 ชุด (2) กม. เก็บไว้ 1 ชุด (3) ส่งให้อำเภอ 1 ชุด (ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 21)
ขั้นที่ 4 การจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนยากจนผู้ยืมเงิน การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากคณะกรรมการฯ หมู่บ้านตามโครงการ กข.คจ. ให้ กม. เบิกจ่ายเงินในบัญชีดังกล่าวเพื่อจ่ายให้ครัวเรือนยากจนเป็นราย ๆ ตามหลักฐานการอนุมัติโครงการของ กม. - การจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนยากจน ให้จ่ายเป็นเช็ค หรือโอนเข้าบัญชีครัวเรือนยากจน - การออกเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้กรรมการหมู่บ้าน จำนวน 2 คน เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายร่วมกันตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 22
แก่นความรู้
หากคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ได้บริหารโครงการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 อย่างเคร่งครัด จะไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ต้องเข้าไปพูดคุยกับครัวเรือนเป้าหมายว่ามีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง และเข้าไปพูดคุยสร้างความสนิทสนมทำให้เกิดความเกรงใจและเห็นใจเจ้าหน้าที่ทำให้ครัวเรือนที่มีปัญหาคืนเงินยืมได้
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านคลองบางกระเสน หมู่ที่ 12 ต.บางแก้ว ให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2. พัฒนาการอำเภอ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
3. ประสานงาน ผู้ใหญ่บ้าน, กำนันตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข
4.ให้คณะกรรมการกช.คจ. บันทึกการประชุมให้กรรมการบันทึกการรับสภาพหนี้ และกำหนดให้มีการผ่อนชำระคืนเงินดังกล่าวตามกำหนด
5. ผู้ยืมเงินที่ครบกำหนดแล้วยังไม่ชำระคืนเงินยืมให้นำเงินยืมดังกล่าวมาชำระคืนภายในกำหนด กรณีไม่มีความพร้อมชำระคืนเงินทั้งจำนวน ให้ทำทำรับสภาพหนี้คืนเงินเป็นรายงวด
จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานในบางกิจกรรม หากไม่สามารถดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาได้เอง การให้ผู้บังคับบัญชาได้รับรู้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการค้นหาปัญหาและแก้ไขได้เป็นอย่างดี
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับโครงการ กข.คจ. และแนวทางปฏิบัติงานโครงการ กข.คจ.
แก่นความรู้
หากคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ได้บริหารโครงการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 อย่างเคร่งครัด จะไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ต้องเข้าไปพูดคุยกับครัวเรือนเป้าหมายว่ามีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง และเข้าไปพูดคุยสร้างความสนิทสนมทำให้เกิดความเกรงใจและเห็นใจเจ้าหน้าที่ทำให้ครัวเรือนที่มีปัญหาคืนเงินยืมได้
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านคลองบางกระเสน หมู่ที่ 12 ต.บางแก้ว ให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2. พัฒนาการอำเภอ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
3. ประสานงาน ผู้ใหญ่บ้าน, กำนันตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข
4.ให้คณะกรรมการกช.คจ. บันทึกการประชุมให้กรรมการบันทึกการรับสภาพหนี้ และกำหนดให้มีการผ่อนชำระคืนเงินดังกล่าวตามกำหนด
5. ผู้ยืมเงินที่ครบกำหนดแล้วยังไม่ชำระคืนเงินยืมให้นำเงินยืมดังกล่าวมาชำระคืนภายในกำหนด กรณีไม่มีความพร้อมชำระคืนเงินทั้งจำนวน ให้ทำทำรับสภาพหนี้คืนเงินเป็นรายงวด
จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานในบางกิจกรรม หากไม่สามารถดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาได้เอง การให้ผู้บังคับบัญชาได้รับรู้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการค้นหาปัญหาและแก้ไขได้เป็นอย่างดี
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับโครงการ กข.คจ. และแนวทางปฏิบัติงานโครงการ กข.คจ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น