วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน


ชื่อ – นามสกุล นางวันวิสา ทองหาญ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081-8643859
ชื่อเรื่อง การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ครัวเรือนเป้าหมายที่ยืมเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)และไม่ชำระคืน
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2548
สถานที่เกิดเหตุ บ้านแพรกกระทุ่มศาลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางขวัญ

เนื้อเรื่อง
ข้าพเจ้า นางวันวิสา ทองหาญ ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบตำบล คือ ตำบลบางขวัญ และได้รับผิดชอบพื้นที่ในตำบลบางขวัญ มีเงินงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ บ้านชวดตาสี หมู่ที่ 7 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537 , บ้านแพรกกระทุ่มศาลา หมู่ที่ 6 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 , บ้านคลองบ้านใหม่ หมู่ที่ 1 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 , บ้านคลองบ้านใหม่ หมู่ที่ 11 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 , บ้านคลองกลาง หมู่ที่ 3 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 และ บ้านบางขวัญ หมู่ที่ 8 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 โดยได้รับงบประมาณ หมู่บ้านละ 280,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,680,000 บาท แต่ ในปี 2544 บ้านแพรกกระทุ่มศาลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางขวัญ ซึ่งได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 มีครัวเรือนเป้าหมายที่ยืมเงิน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนค้างชำระ จำนวน 1 ราย

บันทึกขุมความรู้
สาระสำคัญโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ ครัวเรือนยากจนยืมเงินไปประกอบอาชีพแล้วนำส่งคืนตามกำหนด

การบริหารเงินทุนตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)

ขั้นตอนที่ 1 กรมการพัฒนาชุมชน ขออนุมัติเงินงวดตามจำนวนที่ได้รับจัดสรรต่อสำนักงบประมาณ
ขั้นตอนที่ 2 สำนักงบประมาณจัดสรรโอนเงินงบประมาณตามโครงการ กข.คจ. โดยจัดสรรให้ คลังจังหวัดตามเป้าหมายที่ได้รับจัดสรรของแต่ละจังหวัด
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาการจังหวัดเบิกจ่ายเงินจากคลังจังหวัดตามจำนวนที่ได้รับจัดสรรเพื่อสั่งจ่ายเป็นเช็คให้กับพัฒนาการอำเภอ โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่าย เงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ 2539 ข้อ 5 และข้อ 6
.
ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาการอำเภอนำเงินทุนที่ได้รับตาม ขั้นตอนที่ 3 ฝากเข้าบัญชีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภายใน 3 วันทำการ และโอนเข้าบัญชีเงินฝากของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน ตามโครงการ กข.คจ. ทันที (ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 6 วรรค 2) ในระหว่างนี้กำหนดให้ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ จัดฝึกอบรมเตรียมความพร้อมองค์กรประชาชนผู้รับผิดชอบบริหารจัดการเงินทุน และครัวเรือนยากจนเป้าหมายตามโครงการ กข.คจ ตามหลักสูตรที่กำหนด จำนวน 3 วัน โดยใช้งบประมาณ หมู่บ้านละ 10,000 บาท พร้อมกับให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้านเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้ที่ธนาคาร เพื่อรอรับเงินทุนหมู่บ้านละ 280,000 บาท ที่พัฒนาการอำเภอจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากเมื่อได้รับจัดสรร แล้วจึงบริหารจัดการต่อไป
.
ขั้นตอนที่ 5 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน พิจารณาอนุมัติโครงการ และอนุมัติเงินยืมให้ครัวเรือน โดยผ่านความเห็นชอบจาก คปต. (ปัจจุบันมีเฉพาะพัฒนากร) จากนั้นให้ครัวเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ยืมเงินทำสัญญาตามแบบที่กำหนดในระเบียบฯ
.
ขั้นตอนที่ 6 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน แจ้งครัวเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ยืมเงินเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ธนาคารเดียวกับบัญชีเงินฝากของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติ และลงบัญชีคุม (บัญชี 4 เล่ม (โครงการปี 2536-2541) หรือบัญชี 2 เล่ม (โครงการ ปี 2542-2544) )
.
ขั้นตอนที่ 7 ครัวเรือนเบิก/ถอนเงินทุนไปประกอบอาชีพตามโครงการที่ขอยืม
ขั้นตอนที่ 8 ครัวเรือนคืนเงินยืมให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้านเป็นเงินสด ตามสัญญาที่กำหนด โดยให้ใช้คืนภายในระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะอาชีพที่ดำเนินการ
.
ขั้นตอนที่ 9 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน นำเงินที่ครัวเรือนคืนเงินยืมฝากเข้าบัญชีเงินฝากตามโครงการ กข.คจ. ของหมู่บ้าน ภายใน 3 วันทำการ ขั้นตอนที่ 10 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน แจ้งครัวเรือนยากจนเป้าหมายในบัญชีลำดับต่อไป ให้เสนอโครงการและคำขอยืมเงิน เพื่อยืมเงินในรอบและ/หรือครั้งต่อไป โดยดำเนินการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 5 – 9
.

การยืมเงินและการคืนเงินยืมโครงการ กข.คจ.
1.ผู้มีสิทธิยืมเงิน คือ ครัวเรือนยากจน หมายถึง ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. (ระเบียบฯ ข้อ 4)
2. การยืมเงิน
.
ขั้นตอนการยืมเงินและวิธีปฏิบัติตามระเบียบฯ

ขั้นที่ 1 การเสนอโครงการและคำขอยืมเงิน ให้หัวหน้าครอบครัวหรือผู้แทนซึ่งมีสิทธิขอยืมเงินตามโครงการ ยื่นเอกสารต่อ กม. ดังนี้ (1) คำร้องตามแบบท้ายระเบียบ(คำขอยืม) (2) โครงการหรือกิจกรรมที่ครัวเรือนยากจนจะดำเนินการ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 ข้อ 16
.
ขั้นที่ 2 การอนุมัติโครงการและคำขอยืมเงิน ให้ กม. ปรึกษา คปต. ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารและพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อประกอบในการพิจารณาอนุมัติโครงการและให้เลขานุการ กม. แจ้งผลการพิจารณาโครงการให้อำเภอทราบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 17
.
ขั้นที่ 3 การทำสัญญายืมเงิน ในการทำสัญญายืมเงิน ให้ทำตามที่กำหนดท้ายระเบียบฯ จำนวนอย่างน้อย 3 ชุด โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) มอบให้ครัวเรือนยากจนผู้ยืม จำนวน 1 ชุด (2) กม. เก็บไว้ จำนวน 1 ชุด (3) ส่งให้อำเภอ จำนวน 1 ชุด (ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 21)
.
ขั้นที่ 4 การจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนยากจนผู้ยืมเงิน การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากคณะกรรมการฯ หมู่บ้านตามโครงการ กข.คจ. ให้ กม.เบิกจ่ายเงินในบัญชีดังกล่าว เพื่อจ่ายให้ครัวเรือนยากจนเป็นราย ๆ ตามหลักฐานการอนุมัติโครงการของ กม. - การจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนยากจน ให้จ่ายเป็นเช็ค หรือโอนเข้าบัญชีครัวเรือนยากจน - การออกเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้กรรมการหมู่บ้าน จำนวน 2 คน เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายร่วมกันตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 22
.
การคืนเงินยืม
ขั้นตอนการคืนเงินยืม วิธีปฏิบัติตามระเบียบฯ ที่อ้างอิง
ขั้นที่ 1 การใช้คืนเงินยืมของครัวเรือนยากจน การใช้คืนเงินยืมให้เป็นไปตามแผนการใช้คืนของ กม. โดยในปีแรกให้ใช้คืนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนปีต่อไปให้ใช้คืนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และมีกำหนดระยะเวลาใช้คืนไม่เกิน 5 ปี ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 ข้อ 23
.
ขั้นที่ 2 การนำเงินที่ครัวเรือนยากจนส่งคืนเข้าบัญชีเงินฝากของหมู่บ้าน การเก็บรักษาเงิน ให้กรรมการหมู่บ้าน นำเงินที่ครัวเรือนยากจนส่งใช้คืนเข้าบัญชีเงินฝากคณะกรรมการฯ ตามโครงการ กข.คจ. ที่เปิดไว้ที่ธนาคารฯ ภายในสามวันทำการ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 25

แก่นความรู้
หากคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ได้บริหารโครงการฯ ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 อย่างเคร่งครัด จะไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ต้องเข้าไปพูดคุยกับครัวเรือนเป้าหมายว่ามีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง และเข้าไปพูดคุยสร้างความสนิทสนมทำให้เกิดความเกรงใจและเห็นใจเจ้าหน้าที่ทำให้ครัวเรือนที่มีปัญหาคืนเงินยืมได้

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านแพรกกระทุ่มศาลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางขวัญ ให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2. พัฒนาการอำเภอ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
3. ประสานงานกับปลัดอำเภอผู้ประสานงานตำบล กำนันตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข

4. กำหนดขั้นตอนในการสืบหาความจริง
4.1 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
4.2 เชิญคณะกรรมการ กองทุน กข.คจ. และครัวเรือนยืมเงินมาให้ข้อเท็จจริงแก่คณะกรรมการ
4.3 คณะกรรมการ กข.คจ. สอบข้อเท็จจริง ร่วมกันสรุปผลการสอบข้อเท็จจริง โดยมีการจดบันทึกการประชุมฯ
4.4 ดำเนินการตามความเห็นที่เสนอ
-โดยให้คณะกรรมการฯ ที่นำเงินไปบันทึกการรับสภาพหนี้ และกำหนดให้มีการผ่อนชำระคืนเงินดังกล่าวตามกำหนด
- ผู้ค้างชำระเงินยืม นำ เงินยืมคืนให้แก่คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. กรณีหากยังไม่มีความพร้อมในการชำระคืนเงินยืมทั้งจำนวน ให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินยืม และให้ชำระคืนเงินยืมเป็นรายงวด

4.5 ครัวเรือนเป้าหมายที่ค้างชำระ จำนวน 1 ราย เป็นเงิน 6,000 บาท ในปัจจุบัน ครัวเรือนเป้าหมายที่ค้างชำระได้นำเงินมาชำระคืนให้แก่คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. แล้ว
จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานในบางกิจกรรม หากไม่สามารถดำเนินการหรือแก้ไขปัญหาได้เอง การให้ผู้บังคับบัญชาได้รับรู้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการค้นหาปัญหาและแก้ไขได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น