วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการดำเนินการในการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)


เรื่อง เทคนิคการดำเนินการในการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
สำหรับปฏิบัติงานด้าน การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
โดย นายสมศักดิ์ จิตรวิไลย

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
วันที่ 30 มิถุนายน 2553

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ได้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนปฏิบัติ มีดังนี้
1. สำรวจข้อมูลจำนวนครัวเรือนว่าแต่ละหมู่บ้านจะมีการจัดเก็บ จปฐ.1 กี่ครัวเรือน ถ้ามีเพิ่มก็ให้แบบ จปฐ.1 เพื่อจัดเก็บเพิ่มเติม
2. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล
3. แต่งตั้งอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โดยอาสาสมัคร 1 คน จัดเก็บประมาณ 20 ครัวเรือน
4. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการบริหารข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล
5. คณะกรรมการบริหารข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล ประชุมชี้แจงอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
6. อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ตามแบบ จปฐ.1 จัดเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือน
7. บันทึกข้อมูลตามแบบ จปฐ.1 ลงในโปรแกรม จปฐ. ในเครื่องคอมพิวเตอร์
8. ประมวลผลข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ให้เป็นภาพรวมของหมู่บ้าน/ตำบล
9. พิมพ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ.2 ระดับหมู่บ้าน/ตำบล และให้คณะกรรมการบริหารข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล เพื่อให้ศึกษาข้อมูล
10. ประชุมเวทีประชาคม ระดับตำบล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดังนี้
- โปรแกรม Power Point ในการรายงานสรุปผลตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ระดับหมู่บ้าน/ตำบล
- โปรแกรมความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในการรายงานผลตัวชี้วัดทั้ง 42 ตัวชี้วัด ในระดับครัวเรือน/คน

โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ดังนี้
- นำเสนอด้วยโปรแกรม Power Point เปรียบเทียบข้อมูลจำนวนครัวเรือน ประชากร ชาย หญิง รวม และรายได้เฉลี่ยของประชากรในแต่ละหมู่บ้าน ของ ปี 2552 และปี 2553
.
เมื่อเวทีประชาคมได้รับทราบแล้ว ถ้าตรงกับความเป็นจริงจะยืนยันข้อมูลที่จัดเก็บและบันทึกลงโปรแกรมความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ว่ามีความถูกต้อง แต่ถ้าไม่ตรงกับความเป็นจริงก็จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลดังกล่าว ให้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงต่อไป
.
- นำเสนอด้วยโปรแกรมความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) รายงานผลที่ละหมู่บ้านเรียงตามลำดับของตัวชี้วัดจากตัวชี้วัดที่ 1 ไปจนถึงตัวชี้วัดที่ 42 โดยนำเสนอข้อมูลที่ตกเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ จำนวนเท่าไร และครัวเรือน/คน ที่ตกเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ มีใครบ้าง
.
เมื่อเวทีประชาคมได้รับทราบแล้ว ถ้าตรงกับความเป็นจริงจะยืนยันข้อมูลที่จัดเก็บและบันทึกลงโปรแกรมความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ว่ามีความถูกต้อง แต่ถ้าไม่ตรงกับความเป็นจริงก็จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลดังกล่าว ให้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น