ชื่อ – นามสกุล นางสาวิตรี ประดิษแจ้ง
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 089-8899063
ชื่อเรื่อง เงิน กข.คจ.ยืมแล้วต้องมาคืน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การไม่ชำระคืนเงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2549
สถานที่เกิดเหตุ บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ตำบลบางตีนเป็ด
เนื้อเรื่อง
จากการเปลี่ยนสายงานตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ เป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบตำบลเป็นครั้งแรก คือ ตำบลบางตีนเป็ด จากการศึกษาพื้นที่ในตำบลบางตีนเป็ด มีเงินงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ตำบลบางตีนเป็ด เป็นเงิน 280,000 บาท ซี่งได้รับงบประมาณตั้งแต่ปี 2539 โดยหลักฐานการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เก็บไว้ที่ผู้ใหญ่บ้าน จากการติดตามการดำเนินงานไม่พบหลักฐานใดที่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้ยืมเงินในปัจจุบันได้ เนื่องจากผู้นำท้องถิ่นบริหารเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ร่วมกับงบประมาณตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ทำให้ไม่สามารถแยกยอดเงินต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้นำท้องถิ่นรับปากจะดำเนินการแยกยอดเงินต่าง ๆ ให้
ภายหลังการติดตามอย่างใกล้ชิด สามารถหาชื่อผู้ยืมเงิน และจำนวนเงินที่ยืมไปประกอบอาชีพได้ ซึ่งเป็นผู้ยืมเงินเกิดสัญญายืมที่กำหนดไว้ตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) และได้ประสานงานให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ได้ติดตามการชำระคืนเงินยืม ภายหลังข้าพเจ้าได้ร่วมกับคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ได้ร่วมกันติดตามการชำระคืนเงินยืม แต่ไม่ปรากฏผู้ใช้คืนเงินยืมจำนวนดังกล่าวแต่อย่างใด จึงไม่สามารถดำเนินการติดตามการชำระคืนเงินได้
เมื่อปรากฏผลการดำเนินงานเช่นนี้ ข้าพเจ้า จึงได้รายงานให้พัฒนาการอำเภอฯ ทราบเพื่อหารือในแนวทางแก้ไขต่อไป
บันทึกขุมความรู้
สาระสำคัญโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ ครัวเรือนยากจนยืมเงินไปประกอบอาชีพแล้วนำส่งคืนตามกำหนด
หลักการ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 089-8899063
ชื่อเรื่อง เงิน กข.คจ.ยืมแล้วต้องมาคืน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การไม่ชำระคืนเงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2549
สถานที่เกิดเหตุ บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ตำบลบางตีนเป็ด
เนื้อเรื่อง
จากการเปลี่ยนสายงานตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ เป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบตำบลเป็นครั้งแรก คือ ตำบลบางตีนเป็ด จากการศึกษาพื้นที่ในตำบลบางตีนเป็ด มีเงินงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ตำบลบางตีนเป็ด เป็นเงิน 280,000 บาท ซี่งได้รับงบประมาณตั้งแต่ปี 2539 โดยหลักฐานการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เก็บไว้ที่ผู้ใหญ่บ้าน จากการติดตามการดำเนินงานไม่พบหลักฐานใดที่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้ยืมเงินในปัจจุบันได้ เนื่องจากผู้นำท้องถิ่นบริหารเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ร่วมกับงบประมาณตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ทำให้ไม่สามารถแยกยอดเงินต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้นำท้องถิ่นรับปากจะดำเนินการแยกยอดเงินต่าง ๆ ให้
ภายหลังการติดตามอย่างใกล้ชิด สามารถหาชื่อผู้ยืมเงิน และจำนวนเงินที่ยืมไปประกอบอาชีพได้ ซึ่งเป็นผู้ยืมเงินเกิดสัญญายืมที่กำหนดไว้ตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) และได้ประสานงานให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ได้ติดตามการชำระคืนเงินยืม ภายหลังข้าพเจ้าได้ร่วมกับคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ได้ร่วมกันติดตามการชำระคืนเงินยืม แต่ไม่ปรากฏผู้ใช้คืนเงินยืมจำนวนดังกล่าวแต่อย่างใด จึงไม่สามารถดำเนินการติดตามการชำระคืนเงินได้
เมื่อปรากฏผลการดำเนินงานเช่นนี้ ข้าพเจ้า จึงได้รายงานให้พัฒนาการอำเภอฯ ทราบเพื่อหารือในแนวทางแก้ไขต่อไป
บันทึกขุมความรู้
สาระสำคัญโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ ครัวเรือนยากจนยืมเงินไปประกอบอาชีพแล้วนำส่งคืนตามกำหนด
หลักการ
1. เพื่อเป็นการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน ในระดับหมู่บ้านสำหรับครัวเรือนเป้าหมายในการนำเงินยืมไปประกอบอาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย
2. องค์กรประชาชนและประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์
3. มีการใช้ข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมาย จากการจัดเก็บและตรวจสอบขององค์กรประชาชนในหมู่บ้าน
4. การมอบอำนาจและหน้าที่ ความรับผิดชอบให้องค์กรประชาชน เป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนให้หมุนเวียนคงอยู่ในหมู่บ้านตลอดไป
5. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบติดตามการดำเนินงานกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.) ให้มีประสิทธิภาพ
2. องค์กรประชาชนและประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์
3. มีการใช้ข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมาย จากการจัดเก็บและตรวจสอบขององค์กรประชาชนในหมู่บ้าน
4. การมอบอำนาจและหน้าที่ ความรับผิดชอบให้องค์กรประชาชน เป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนให้หมุนเวียนคงอยู่ในหมู่บ้านตลอดไป
5. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบติดตามการดำเนินงานกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.) ให้มีประสิทธิภาพ
.
แก่นความรู้
หากคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ได้บริหารโครงการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 อย่างเคร่งครัด จะไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ต.บางตีนเป็ด ให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2. พัฒนาการอำเภอ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
3. ประสานงานกับปลัดอำเภอผู้ประสานงานตำบล กำนันตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข
4. กำหนดขั้นตอนในการสืบหาความจริง
4.1 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
4.2 เชิญคณะกรรมการ กองทุน กข.คจ. และผู้ยืมเงินมาให้ข้อเท็จจริงแก้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับการแต่งตั้ง
4.3 จัดทำบันทึก ปค.4 สำหรับผู้มาให้ข้อเท็จจริง ซึ่งได้แก่
-คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานด้านเอกสาร และการให้ยืมเงิน
-ผู้ยืมเงินตามรายชื่อที่คณะกรรมการฯ มอบให้ โดยในบันทึก ปค.4 ทุกฉบับ จะต้องลงนามผู้ให้ข้อเท็จจริง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ไว้เป็นหลักฐาน
4.4 คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ร่วมกันสรุปผลการสอบข้อเท็จจริง สรุปให้นายอำเภอทราบแล้วจึงเสนอความเห็น เพื่อดำเนินการต่อไป
4.5 ดำเนินการตามความเห็นที่เสนอ
-โดยให้คณะกรรมการฯ ที่นำเงินไปบันทึกการรับสภาพหนี้ และกำหนดให้มีการผ่อนชำระคืนเงินดังกล่าวตามกำหนด
- ผู้ยืมเงินที่ครบกำหนดแล้วยังไม่ชำระคืนเงินยืมให้นำเงินยืมดังกล่าวมาชำระคืนภายในกำหนด กรณีไม่มีความพร้อมชำระคืนเงินทั้งจำนวน ให้ทำสัญญาคืนเงินเป็นรายงวด
.
แก่นความรู้
หากคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ได้บริหารโครงการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 อย่างเคร่งครัด จะไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ต.บางตีนเป็ด ให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2. พัฒนาการอำเภอ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
3. ประสานงานกับปลัดอำเภอผู้ประสานงานตำบล กำนันตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข
4. กำหนดขั้นตอนในการสืบหาความจริง
4.1 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
4.2 เชิญคณะกรรมการ กองทุน กข.คจ. และผู้ยืมเงินมาให้ข้อเท็จจริงแก้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับการแต่งตั้ง
4.3 จัดทำบันทึก ปค.4 สำหรับผู้มาให้ข้อเท็จจริง ซึ่งได้แก่
-คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานด้านเอกสาร และการให้ยืมเงิน
-ผู้ยืมเงินตามรายชื่อที่คณะกรรมการฯ มอบให้ โดยในบันทึก ปค.4 ทุกฉบับ จะต้องลงนามผู้ให้ข้อเท็จจริง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ไว้เป็นหลักฐาน
4.4 คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ร่วมกันสรุปผลการสอบข้อเท็จจริง สรุปให้นายอำเภอทราบแล้วจึงเสนอความเห็น เพื่อดำเนินการต่อไป
4.5 ดำเนินการตามความเห็นที่เสนอ
-โดยให้คณะกรรมการฯ ที่นำเงินไปบันทึกการรับสภาพหนี้ และกำหนดให้มีการผ่อนชำระคืนเงินดังกล่าวตามกำหนด
- ผู้ยืมเงินที่ครบกำหนดแล้วยังไม่ชำระคืนเงินยืมให้นำเงินยืมดังกล่าวมาชำระคืนภายในกำหนด กรณีไม่มีความพร้อมชำระคืนเงินทั้งจำนวน ให้ทำสัญญาคืนเงินเป็นรายงวด
.
จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานในบางกิจกรรม หากไม่สามารถดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาได้เอง การให้ผู้บังคับบัญชาได้รับรู้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการค้นหาปัญหาและแก้ไขได้เป็นอย่างดี
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับโครงการ กข.คจ. และแนวทางปฏิบัติงานโครงการ กข.คจ.
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับโครงการ กข.คจ. และแนวทางปฏิบัติงานโครงการ กข.คจ.
เป็นความรู้ที่ กรรมการ กข.คจ.ทุกหมู่บ้านควรทราบ
ตอบลบ