วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทางรอด...ของพัฒนากรที่ต้องรับผิดชอบ


ชื่อ – นามสกุล นางสุคนธ์ เจียรมาศ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 038-814349
ชื่อเรื่อง ทางรอด....ของพัฒนากรที่ต้องรับผิดชอบ
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การช่วยเหลือสมาชิกที่เงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2548
สถานที่เกิดเหตุ บ้านเกาะดอน หมู่ที่ 5 ตำบลบางเตย

เนื้อเรื่อง
ตำบลบางเตย มีจำนวนหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน ได้รับงบประมาณตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหัวแดน หมู่ที่ 2, บ้านคลองขุด หมู่ที่ 3, บ้านเกาะดอนหมู่ที่ 5, บ้านแพรกชุมรุม 13 การดำเนินงานของโครงการฯเป็นไปตามกฎ ระเบียบของกองทุนทุกประการ ไม่มีปัญหาในการส่งเงินคืนของสมาชิก ทำให้ทุกกองทุนประสบผลสำเร็จ สมาชิกมีรายได้ผ่านเกณฑ์จปฐ.

บ้านเกาะดอน หมู่ที่ 5 ตำบลบางเตยได้รับงบประมาณโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ปี 2539 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ไ ด้บริหารจัดการเงินกองทุนได้ดีตลอดมา แนวทางที่คณะกรรมการกองทุนได้ดำเนินการ ได้แก่

1. มีการประชุม คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านเกาะดอน มีการประชุมเป็นประจำ เมื่อมีปัญหาเหตุการณ์ต่างๆ
2. คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านเกาะดอน ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกติดตามตรวจเยี่ยมครัวเรือนที่ยืมเงินไปประกอบอาชีพ
3. พัฒนากรออกเยี่ยมเยียนครัวเรือน และติดตามการดำเนินงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
4. คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านเกาะดอน ได้ปฎิบัติตามระเบียบกองทุนอย่างเคร่งครัด

ต่อมา ในปี 2548 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เมื่อครัวเรือนที่ยืมเงินไป จำนวน 20,000 บาท เกิดเสียชีวิตโดยครัวเรือนนี้อาศัยกันอยู่ 2 คนแม่ลูก มีที่แก่ชราไม่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ลูกเกิดมาเสียชีวิตทำให้ไม่มีเงินคืนแก่กองทุนฯ ตามระเบียบกองทุนฯ ถ้าหากคณะกรรมการกองทุนไม่สามารถเก็บเงินคืนได้ คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.และพัฒนากรต้องรับผิดชอบ ซึ่งสำนักงบประมาณได้พิจารณาแล้วว่าเงินกองทุน กข.คข.เป็นเงินกรมการพัฒนาชุมชนต้องรับผิดชอบ แต่คณะกรรมการกองทุนฯและสมาชิกได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันที่ประชุมมีมติ ให้สมาชิกกองทุนกข.คจ.ที่ยืมเงินไปประกอบอาชีพช่วยกันบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสมาชิกด้วยกัน ทำให้เป็นทางรอด.........ของพัฒนากรที่ต้องรับผิดชอบ

จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น พัฒนากรต้องพึงสังวรไว้ว่าการปฏิบัติงานต้องยึดระเบียบ อย่าทำอะไรง่ายๆ ให้ชุมชนมีทางออกต้องมีการประชุมกันบ่อยๆ เพื่อให้ทุกคนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจด้วยกัน นี่แหละหลักการพัฒนาชุมชน.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น