ชื่อ-นามสกุล นายสุรเดช วรรณศิริ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง การถ่ายภาพเพื่อทำวีดิทัศน์
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ถ่ายภาพแล้วเสีย ใช้ไม่ได้ หรือภาพไม่พอแก่การนำไปตัดต่อ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2551
สถานที่ หลายพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
ในหนึ่งปี ผมทำวีดีทัศน์หลายเรื่อง ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือ ภาพถ่ายมาแล้วใช้ไม่ค่อยได้ หรือภาพไม่พอใช้ในการตัดต่อ เพราะปัญหาภาพเหวี่ยงไปมา ภาพย้อนแสง พิธีกรไม่มองกล้อง เสียงไม่ชัดเจน ภาพที่ได้มีน้อยเกินไป ทำให้ต้องใช้ภาพซ้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ผมแก้ปัญหาเหล่านี้จากประสบการณ์ของผม โดยเลียนแบบรายการโทรทัศน์ที่ผมสนใจ เช่น รายการกบนอกกะลา หรือปราชญ์เดินดิน เป็นต้น
วิธีการก็คือจะคิดเรื่อง กำหนดกรอบที่จะนำเสนอมาก่อน กำหนดระยะเวลาเมื่อตัดต่อแล้วจะให้เหลือกี่นาที จะต้องหาภาพอะไรมาใส่ให้พอที่จะตัดต่อ เขียนสคริป กำหนดภาพและเสียงที่ต้องการ การนำเสนอให้ตรงประเด็น อย่ายาวมาก เยิ่นเย้อ เดี๋ยวนี้การนำเสนอแต่ละเรื่องนั้น ความยาวประมาณ 5-6 นาที ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นวีดิทัศน์สารคดีอาจมีความยาวมากกว่านั้น อย่างไรก็ตามผมมีความเห็นว่าไม่ควรเกิน 30 นาที
ก่อนไปถ่ายทำดูแลอุปกรณ์ถ่ายทำให้พร้อม เช่น กล้องวีดิโออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ม้วนเทปว่างหรือสามารถอัดทับได้หรือไม่ หรือจะต้องใช้ม้วนใหม่ หรือฮาร์ดไดร์ฟ มีพื้นที่เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอต้องลบหรือนำภาพเก่าออกก่อน แบตเตอรี่ชาร์ทไฟเพียงพอหรือไม่ ขาตั้งกล้องต้องใช้หรือไม่ ถ้าต้องการถ่ายภาพนิ่ง ๆ นาน ๆ อาจต้องใช้ขาตั้งกล้อง ไมค์ดูดเสียงต้องเตรียมให้พร้อม หากไม่มีจะทำอย่างไร สำหรับผมใช้เครื่องบันทึกเสียงแทนไมค์ดูดเสียง รวมความว่าทุกอย่างต้องเช็คให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ
วันถ่ายทำไปแต่เนิ่น ๆ ดูสถานที่ ดูแสง หาทำเลเหมาะ ๆ สวย ๆ เวลาถ่ายทำให้ถ่ายงานหลักก่อน ถ่ายไปตามสคริป ให้มีการซูมใกล้/ไกล/ปานกลาง มีมุมบน/ล่าง แพนซ้าย/ขวา หลาย ๆ มิติ เรื่องของแสงจัดให้เหมาะสม ระวังความมืดหรือสว่างเกินไป อาจทำให้ไม่น่าดูหรือน่ารำคาญ
การสัมภาษณ์ให้ถ่ายยาวไปตั้งแต่เริ่มพูดจนจบ แล้วไปถ่ายภาพ Insert ภายหลัง การถ่ายภาพ Insert ให้ถ่ายสั้น ๆ ครั้งละ 7-8 วินาทีพอแล้ว ถ่ายไปตามเรื่องราวหรือที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พูดถึง การถ่ายภาพผู้ถูกสัมภาษณ์ บางทีต้องเขียนบทให้เขาพูด พยายามให้เขาพูดตามสบาย ถ้าเขาพูดไม่ได้จริง ๆ อาจแอบถ่ายตอนซ้อมก็ได้ ถ่ายหน้าตรงบ้าง ด้านข้างบ้าง สำหรับพิธีกร การพูดอยู่หน้ากล้อง สายตาต้องจับจ้องอยู่ที่เลนส์กล้อง หรือบางคนเรียกว่าตาจิกอยู่ที่กล้อง ไม่เช่นนั้น จะรู้สึกว่าไม่ได้พูดกับคนดู
สุดท้าย ผมขอแนะนำให้ผู้ที่จะจัดทำวีดิทัศน์ลองหลับตาจินตนาการถึงเรื่องที่คุณจะทำ ภายในเวลาที่นำเสนอประมาณ 5-6 นาที มีเรื่องราวอย่างไรบ้าง มีภาพ มีเสียงอย่างไร นั่นแหละ...ไปถ่ายทำมาตามนั้น...
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1. การถ่ายภาพวิดีโอที่ดี
2. การเตรียมความพร้อมก่อนถ่ายทำวิดีโอ
แก่นความรู้ (Core Competency)
1. ยึดหลักการถ่ายภาพที่ดี
2. ต้องมีสคริปทุกครั้ง
3. นำเสนอให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
2. หลักการถ่ายภาพที่ดี
3. คู่มือการถ่ายภาพ และคู่มือการใช้กล้องวีดิโอ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง การถ่ายภาพเพื่อทำวีดิทัศน์
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ถ่ายภาพแล้วเสีย ใช้ไม่ได้ หรือภาพไม่พอแก่การนำไปตัดต่อ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2551
สถานที่ หลายพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
ในหนึ่งปี ผมทำวีดีทัศน์หลายเรื่อง ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือ ภาพถ่ายมาแล้วใช้ไม่ค่อยได้ หรือภาพไม่พอใช้ในการตัดต่อ เพราะปัญหาภาพเหวี่ยงไปมา ภาพย้อนแสง พิธีกรไม่มองกล้อง เสียงไม่ชัดเจน ภาพที่ได้มีน้อยเกินไป ทำให้ต้องใช้ภาพซ้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ผมแก้ปัญหาเหล่านี้จากประสบการณ์ของผม โดยเลียนแบบรายการโทรทัศน์ที่ผมสนใจ เช่น รายการกบนอกกะลา หรือปราชญ์เดินดิน เป็นต้น
วิธีการก็คือจะคิดเรื่อง กำหนดกรอบที่จะนำเสนอมาก่อน กำหนดระยะเวลาเมื่อตัดต่อแล้วจะให้เหลือกี่นาที จะต้องหาภาพอะไรมาใส่ให้พอที่จะตัดต่อ เขียนสคริป กำหนดภาพและเสียงที่ต้องการ การนำเสนอให้ตรงประเด็น อย่ายาวมาก เยิ่นเย้อ เดี๋ยวนี้การนำเสนอแต่ละเรื่องนั้น ความยาวประมาณ 5-6 นาที ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นวีดิทัศน์สารคดีอาจมีความยาวมากกว่านั้น อย่างไรก็ตามผมมีความเห็นว่าไม่ควรเกิน 30 นาที
ก่อนไปถ่ายทำดูแลอุปกรณ์ถ่ายทำให้พร้อม เช่น กล้องวีดิโออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ม้วนเทปว่างหรือสามารถอัดทับได้หรือไม่ หรือจะต้องใช้ม้วนใหม่ หรือฮาร์ดไดร์ฟ มีพื้นที่เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอต้องลบหรือนำภาพเก่าออกก่อน แบตเตอรี่ชาร์ทไฟเพียงพอหรือไม่ ขาตั้งกล้องต้องใช้หรือไม่ ถ้าต้องการถ่ายภาพนิ่ง ๆ นาน ๆ อาจต้องใช้ขาตั้งกล้อง ไมค์ดูดเสียงต้องเตรียมให้พร้อม หากไม่มีจะทำอย่างไร สำหรับผมใช้เครื่องบันทึกเสียงแทนไมค์ดูดเสียง รวมความว่าทุกอย่างต้องเช็คให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ
วันถ่ายทำไปแต่เนิ่น ๆ ดูสถานที่ ดูแสง หาทำเลเหมาะ ๆ สวย ๆ เวลาถ่ายทำให้ถ่ายงานหลักก่อน ถ่ายไปตามสคริป ให้มีการซูมใกล้/ไกล/ปานกลาง มีมุมบน/ล่าง แพนซ้าย/ขวา หลาย ๆ มิติ เรื่องของแสงจัดให้เหมาะสม ระวังความมืดหรือสว่างเกินไป อาจทำให้ไม่น่าดูหรือน่ารำคาญ
การสัมภาษณ์ให้ถ่ายยาวไปตั้งแต่เริ่มพูดจนจบ แล้วไปถ่ายภาพ Insert ภายหลัง การถ่ายภาพ Insert ให้ถ่ายสั้น ๆ ครั้งละ 7-8 วินาทีพอแล้ว ถ่ายไปตามเรื่องราวหรือที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พูดถึง การถ่ายภาพผู้ถูกสัมภาษณ์ บางทีต้องเขียนบทให้เขาพูด พยายามให้เขาพูดตามสบาย ถ้าเขาพูดไม่ได้จริง ๆ อาจแอบถ่ายตอนซ้อมก็ได้ ถ่ายหน้าตรงบ้าง ด้านข้างบ้าง สำหรับพิธีกร การพูดอยู่หน้ากล้อง สายตาต้องจับจ้องอยู่ที่เลนส์กล้อง หรือบางคนเรียกว่าตาจิกอยู่ที่กล้อง ไม่เช่นนั้น จะรู้สึกว่าไม่ได้พูดกับคนดู
สุดท้าย ผมขอแนะนำให้ผู้ที่จะจัดทำวีดิทัศน์ลองหลับตาจินตนาการถึงเรื่องที่คุณจะทำ ภายในเวลาที่นำเสนอประมาณ 5-6 นาที มีเรื่องราวอย่างไรบ้าง มีภาพ มีเสียงอย่างไร นั่นแหละ...ไปถ่ายทำมาตามนั้น...
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1. การถ่ายภาพวิดีโอที่ดี
2. การเตรียมความพร้อมก่อนถ่ายทำวิดีโอ
แก่นความรู้ (Core Competency)
1. ยึดหลักการถ่ายภาพที่ดี
2. ต้องมีสคริปทุกครั้ง
3. นำเสนอให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
2. หลักการถ่ายภาพที่ดี
3. คู่มือการถ่ายภาพ และคู่มือการใช้กล้องวีดิโอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น