วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงการแก้ไขปัญหาความความยากจนแก้จนได้หรือ


ชื่อ-นามสกุล นายสมเกียรติ คำแพ่ง
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางคล้า
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 089-5240187
ชื่อเรื่อง โครงการแก้ไขปัญหาความความยากจนแก้จนได้หรือ
การแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ความยากจน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2536
สถานที่ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
เมื่อปี พ.ศ.2536 ข้าพเจ้ารับราชการอยู่ที่อำเภอบางปะกง และรับผิดชอบตำบลสองคลอง เป็นปีแรกที่มีโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ซึ่งทั้งอำเภอบางปะกง มีหมู่บ้านที่ได้รับงบประมาณ 1 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 8 บ้านคลองขุดใหม่ ตำบลสองคลอง ซึ่งข้าพเจ้ารับผิดชอบ
หลังจากที่ข้าพเจ้ารับทราบ ต้องยอมรับว่าหนักใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโครงการที่กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการโดยให้งบประมาณ หมู่บ้านละ 280,000 บาท เป้าหมายคือให้คนที่ยากจนยืมเงินกองทุนฯ นำไปประกอบอาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย ระยะให้ยืมเป็นเวลา 1 ปี แล้วนำมาคืน ฟังดูเหมือนง่าย แต่ทำลำบากน่ะ
.
งานที่ทำ ย่อมท้าทาย ความสามารถเสมอ ข้าพเจ้าเริ่มศึกษาระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการโครงการแก้ปัญหาความยากจน จำนวน 7-9 คน เป็นผู้บริหารจัดการกองทุน ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นบุคคลเป้าหมายลำดับต้น ๆ ที่จะทำให้โครงสำเร็จหรือล้มเหลว
.
ก่อนที่งบประมาณจะลงมาไม่นาน หมู่ 8 บ้านคลองขุดใหม่ ต.สองคลอง ผู้ใหญ่บ้านหมดวาระลง ต้องทำการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่ ข้าพเจ้าได้เป็นกรรมการในการเลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งนั้นด้วย
.
เป้าหมายได้เปิดเผยตัวแล้ว ผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง เป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนหนุ่มไฟแรง ข้าพเจ้าเริ่มทำความคุ้นเคย และสนิทสนม กับคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นคณะกรรมการโครงการฯโดยตำแหน่งเริ่มพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการถึงโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งจะได้รับงบประมาณ 280,000 บาท และหาแนวทางในการดำเนินงานโครงการ โดยยึดระเบียบฯ และได้ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อเลือกคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. และเสนอรายชื่อให้อำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฯ และชี้แจงให้คณะกรรมการได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน และร่วมกับคณะกรรมการกองทุนฯ และ คปต.ในยุคนั้นกำหนดขั้นตอนและแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจน โดยยึดระเบียบเป็นหลัก
.
ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ปี 2536
ขั้นตอนที่ 1
1.คณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมกับ คปต. พิจารณากำหนดครัวเรือนยากจน
2. ครัวเรือนเป้าหมายตามโครงการ กข.คจ. หมายถึง ครัวเรือนครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/คน/ปี ณ ปีที่ได้รับงบประมาณ ซึ่งต้องจัดทำบัญชีเรียงลำดับจากน้อยไปหามากจนครบทุกราย
3. ครัวเรือนที่มีสิทธิ์ยืมเงินตามโครงการต้องมีชื่อในบัญชีรายชื่อตามข้อ 2
4. การหมุนเวียนเงิน ให้ครัวเรือนเป้าหมายที่ยังไม่ได้ยืม ได้ยืมก่อนที่จะมีการให้ยืมซ้ำ
5. การจ่ายเงินยืมให้ครัวเรือน ให้จ่ายโดยเช็คสั่งจ่ายหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากของครัวเรือนและจ่ายให้ครั้งเดียวครบจำนวนที่อนุมัติให้ยืม ห้ามไม่ให้จ่ายผ่านบุคคลอื่น
6. พิจารณาเลือกอาชีพของครัวเรือนให้เลือกโดยอิสระ ปราศจากการบีบบังคับหรือครอบงำทางความคิดและมีความเป็นไปได้
.
ขั้นตอนที่ 2
2.1 การจัดทำโครงการ ครัวเรือนเป้าหมายโดยการสนับสนุนของ คณะกรรมการกองทุน และ คปต. พิจารณาเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ความรู้ความสามารถ และความต้องการของครัวเรือน เพื่อเสนอเป็นโครงการ ได้แก่ อาชีพทางด้านเกษตร เช่น เลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก การประมง ด้านอุตสาหกรรม เช่น หัตถกรรม การทอผ้า ลงทุนค้าขาย อาชีพด้านช่างต่างๆ ตลอดจนอาชีพอื่นๆ ที่ กรรมการเห็นชอบ ข้อห้ามในการใช้เงินกองทุน ห้ามไปใช้หนี้เดิมที่มีอยู่,บูรณะซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ห้ามนำไปใช้จ่ายในครอบครัว (ในชีวิตประจำวัน)
.
ขั้นตอนที่ 3 การเสนอและอนุมัติโครงการ
3.1 ให้หัวหน้าครอบครัวหรือผู้แทนซึ่งมีสิทธิ์ขอรับเงินตามโครงการยื่นเอกสาร
- แบบเสนอโครงการของครัวเรือนเป้าหมาย (แบบ กข.คจ.7)
- แบบคำขอยืมเงิน (แบบ กข.คจ.)
- สัญญายืมเงิน (แบบ กข.คจ.9)
3.2 ให้คณะกรรมการฯ ปรึกษา คปต. ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสาร และพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ ประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการและให้เลขานุการคณะกรรมการฯ แจ้งให้อำเภอทราบ
3.3 ให้คณะกรรมการกองทุนเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจและแจ้งหมายเลขบัญชีให้อำเภอทราบเพื่อรับเงินโอนตามโครงการ
3.4 การจ่ายเงินให้ครัวเรือนเป้าหมายให้จ่ายเป็นเช็คหรือโอนเงินเข้าบัญชีครัวเรือนเป้าหมายซึ่งให้เปิดบัญชีใหม่ไว้ .
ขั้นตอนที่ 4 การคืนเงิน
4.1 การใช้คืนเงินยืมให้เป็นไปตามแผนการใช้เงินยืมของคณะกรรมการกองทุนโดยในปีแรกให้ใช้คืนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนปีต่อไปให้ใช้คืนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
4.2 ให้เลขานุการ คปต.(พัฒนากร) ร่วมกับ คณะกรรมการกองทุนติดตามช่วยเหลือการประกอบอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย
4.3 ให้คณะกรรมการกองทุนจัดทำบัญชี ทะเบียนต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันและรายงานผลการชำระเงินยืมและภาวะหนี้สินครัวเรือนเป้าหมายให้อำเภอทราบ
4.4 ให้คณะกรรมการนำเงินชำระคืนจากครัวเรือนเป้าหมายฝากเข้าบัญชีฯหมู่บ้าน ภายใน 3 วันทากรก่อนพิจารณาเงินยืมในรอบต่อไป
4.5 คณะกรรมการกองทุนต้องจัดประชุมครัวเรือน หลังจากรับคืนเงินยืมภายใน 7 วัน เพื่อแจ้งครัวเรือนเสนอโครงการยืมเงินในรอบต่อไป พร้อมแสดงหลักฐานการนำเงินคืนฝากธนาคารต่อที่ประชุม
.
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
- คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.
- ครัวเรือนเป้าหมาย
- ประชุมคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. สร้างความรู้ความเข้าใจ โครงการ กข.คจ.
- อาชีพต่าง ๆ ที่สามารถนำเงินโครงการไปใช้ได้ เลือกโดยอิสระ
- ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมกับ คปต. พิจารณากำหนดครัวเรือนในหมู่บ้านที่มีรายได้ เฉลี่ยต่ำกว่า 150,000 บาท/คน/ปี (ปี 2536)
- จัดทำบัญชีเรียงลำดับครัวเรือนเป้าหมายจากน้อยไปหามาก
.
แก่นความรู้ (Core Competemcies)
1. ศึกษาระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย การบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536
2. การจัดทำเอกสารต่าง ๆ
- บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ
- การชี้แจงด้วยความรอบคอบเป็นธรรม
- การจัดทำโครงการ
- การพิจารณาโครงการ
- การอนุมัติโครงการ
- การติดตามความช่วยเหลือ การประกอบอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย
- การคืนเงินยืม และเร่งรัดการชำระคืนเงินยืมให้เป็นไปตามกำหนด
- การจัดทำบัญชี และ ทะเบียนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- งานประสบผลสำเร็จ รู้สึกเกิดความเชื่อมั่นในการทำงาน
.
กลยุทธ์ในการทำงาน
เมื่อร่วมกับคณะกรรมการกองทุนฯ ศึกษาระเบียบชัดเจนแล้ว ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติเป็นของหมู่บ้าน และร่วมกันหา”จุดอ่อน” ของโครงการ กข.คจ. เพื่อป้องกันความล้มเหลวในภายหน้าและโครงการฯ โดยสรุปจากคณะกรรมการมีจุดอ่อน ดังนี้
1. เงินให้คนยากจน(มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท) ยืมไปประกอบอาชีพ ต้องขีดเส้นใต้ คำว่า ”ยากจน”
2. สัญญายืมเงิน ไม่มีคนค้ำประกัน ถ้าเสียชีวิตหรือย้ายที่อยู่จะทำอย่างไร
3. เงินไม่มีดอกเบี้ย แล้วการบริหารงานของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. จะนำเงินมาจากไหน
4. การคืนเงินยืมปีแรก อย่างน้อย 1 ครั้ง ส่วนปีต่อไปให้ใช้คืนปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากแก่คณะกรรมการ และการควบคุมการเงินโครงการ
5. การประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ไม่มีการกำหนดการประชุมอย่างชัดเจน
.
เมื่อได้จุดอ่อนของโครงการฯแล้ว ทั้ง 5 ประเด็นคณะกรรมการเริ่มแลกเปลี่ยน และได้ข้อสรุปแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการว่า คนยากจน (คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท) ปี 2536 ที่จะยืมเงินโครงการได้นั้นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นคนขยัน ขันแข็ง ในการประกอบอาชีพ
2. สุขภาพแข็งแรง
3. ไม่เล่นการพนัน หรือ ติดอบายมุข
4. ยืมเงินไปประกอบอาชีพตามที่เสนอโครงการจริง เช่น ยืมเงินไปเลี้ยงปลา ต้องมีบ่อเลี้ยงปลา, ค้าขาย ต้องมีร้านค้า หรือ ซื้อของมาขายเพิ่ม
5. คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยืมเงิน
6. ต้องประกอบอาชีพอยู่ในพื้นที่
7. ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
.
สัญญายืมเงิน
คนยืมเงินจะต้องจับกลุ่ม 3 คน จัดทำสัญญายืมเงิน 3 ชุด ตามระเบียบฯ (ไม่มีดอกเบี้ย)
เงินไม่มีดอกเบี้ย
1. จัดทำสัญญาเงินกู้กับคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. จำนวน 2 ฉบับ โดยมีคนค้ำประกัน 2 คน (มีเงินบำรุงกลุ่มตามที่คณะกรราการกองทุน กข.คจ. กำหนด) และให้ผู้กู้ 1 ฉบับ คณะกรรมารกองทุนฯ เก็บไว้ 1 ฉบับ
2. คณะกรรมการกำหนดเงินบำรุงกลุ่ม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ

1 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมมาก ประเทศไทยมีข้าราชการอย่างนี้ สักกึ่งหึ่ง ประเทศไทยคงเจริญมากว่านี้

    ตอบลบ