วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ

หลายท่านคงเคยประสบปัญหาในการถ่ายภาพ เรื่องการจัดองค์ประกอบของภาพอย่างไร ถึงจะสมดุลและสวยงาม สมดุลในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราต้องการถ่ายจำเป็นจะต้องถูกจัดวางไว้ตรงกลางเสมอ ซึ่งอาจจะเหมาะกับงานในบางลักษณะเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทุกครั้งทุกภาพต้องกึ่งกลาง
กฎ 3 ส่วน ยังเป็นศาสตร์ของการจัดองค์ประกอบของภาพที่นักถ่ายภาพ ระดับอาจารย์ปูอาจารย์ย่ายังใช้มาถึงทุกวันนี้ แม้เทคโนโลยีการถ่ายภาพจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน

มารู้จัก กฎ 3 ส่วนกันเถอะ

จากการแบ่งพื้นที่กรอบภาพออกเป็น 3 ส่วน เราสามารถกำหนด จุดสมดุลของภาพได้ 3 จุด (X)
ตัวอย่างที่ 1

ตัวอย่างที่ 2 วางในจุดตัดที่ 2 ใช้แสงเงาในการจัดสมดุล
ตัวอย่างที่ 3 การใช้วัตถุอื่นมาประกอบเพื่อจัดสมดุล

เท่านี้คุณก็สามารถจัดองค์ประกอบของภาพได้อย่างถูกต้อง คุณจะได้ภาพสวยที่สมดุล ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเสมอไป ภายใต้ กฎ 3 ส่วน ของการจัดองค์ประกอบภาพ

นายจิรธรรม ภัทรธรรมกุล
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจัดทำงบการเงินกองทุนหมู่บ้าน

ชื่อ–นามสกุล นางอังคณา จิตรวิไลย
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 08-6898-1627
ชื่อเรื่อง การจัดทำงบการเงินกองทุนหมู่บ้าน
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ จัดทำงบดุลและงบกำไรขาดทุน เพื่อทราบผลการดำเนินงานของกองทุน
ในรอบหนึ่งปี
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ธันวาคม 2551
สถานที่เกิดเหตุการณ์ กองทุนหมู่บ้านบึงเทพยา หมู่ที่ 12 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
จังหวัดฉะเชิงเทรา

เมื่อข้าพเจ้าได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้รับมอบหมายรับผิดชอบงานกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งกองทุนหมู่บ้านต้องรายงานงบการเงิน ประกอบด้วย งบดุลและงบกำไรขาดทุน ตามระเบียบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ซึ่งกองทุนหมู่บ้านบึงเทพยา หมู่ที่ 12 ไม่ส่งงบการเงิน เนื่องจากประธานกองทุนหมู่บ้านไม่มีความรู้ในการจัดทำบัญชี และได้รับงานต่อจากประธานกองทุนคนเก่า โดยไม่มอบหลักฐานอื่นใด นอกจากสมุดบันทึกการประชุม ระเบียบกองทุนหมู่บ้าน และบัญชีเงินฝากธนาคาร จึงได้มาขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ให้ช่วยจัดทำงบการเงิน

ข้าพเจ้ามีประสบการณ์การทำงานในเรื่องการเงินและบัญชี จึงได้ให้คำแนะนำหลักและวิธีการในการจัดทำงบการเงินให้กับกองทุนหมู่บ้านดังกล่าว ให้สามารถส่งงบการเงินได้ทันเวลาที่กำหนด

ปัญหาอุปสรรคของการจัดทำงบการเงินกองทุนหมู่บ้าน
1. คณะกรรมการไม่มีความรู้ด้านการบัญชี
2. มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการและไม่มอบหมายงาน
3. เอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน ได้แก่ สัญญากู้เงิน ใบเสร็จรับเงิน บันทึกรายงานการประชุม ระเบียบกองทุนหมู่บ้าน สมุดเงินฝากธนาคาร

เอกสารหลักฐานในการจัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย
1. สัญญากู้เงิน เป็นเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีลูกหนี้ และทะเบียนคุมลูกหนี้
2. ใบเสร็จรับเงิน เป็นเอกสารการรับชำระเงิน ประกอบการจัดทำบัญชีเงินสด บัญชีลูกหนี้และดอกเบี้ยเงินกู้
3. สมุดเงินฝากธนาคาร เอกสารแสดงการเคลื่อนไหวทางบัญชีธนาคาร ประกอบการจัดทำบัญชีธนาคาร
4. ระเบียบกองทุนหมู่บ้านและรายงานการประชุมคณะกรรมการกองทุน เอกสารประกอบการจัดสรรเงินกำไรของกองทุน ได้แก่ เงินประกันความเสี่ยง เงินสมทบกองทุน เงินตอบแทนกรรมการ เงินเฉลี่ยคืน กองทุนสวัสดิการ สาธารณประโยชน์ และทุนการศึกษา

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
- สร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการจัดทำบัญชีกองทุน
- อธิบายหลักการจัดทำบัญชี ความหมายของการบัญชี การจัดหมวดหมู่ที่ใช้ในการ
จัดทำบัญชี และการวิเคราะห์บัญชี

แก่นความรู้ (Core Competency)
- ชี้แจงทำความเข้าใจ
- ศึกษา วิเคราะห์และปฏิบัติจริง

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การชี้แจงทำความเข้าใจ
ในการชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประธานกองทุนหมู่บ้าน ให้เห็นว่าการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านเป็นงานสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทุกกองทุนต้องให้ความสนใจ เพราะรายงานงบการเงินที่ได้จากการจัดทำบัญชีจะเป็นเครื่องมือในการวัดผลการดำเนินงาน และแสดงฐานะทางการเงินที่แท้จริงของแต่ละกองทุน เมื่อทราบผลการดำเนินงานสามารถที่จะนำผลกำไรนั้นมาใช้ในการบริหารงานกองทุน เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น เงินประกันความเสี่ยง เงินสมทบกองทุน เงินตอบแทนกรรมการ เงินเฉลี่ยคืน กองทุนสวัสดิการ สาธารณประโยชน์ และทุนการศึกษา ซึ่งการจ่ายเงินตอบแทนให้คณะกรรมการจะเป็นการสร้างแรงจูงใจ สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานกองทุนหมู่บ้าน การจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้กับสมาชิกที่กู้ ทำให้สมาชิกที่กู้เงินนำเงินมาชำระหนี้ตามกำหนดกองทุนได้รับเงินชำระหนี้ตรงตามกำหนด การบริหารจัดการของกองทุนบรรลุตามวัตถุประสงค์

2. ศึกษา วิเคราะห์และปฏิบัติจริง
การศึกษา วิเคราะห์และปฏิบัติจริงในการจัดทำงบการเงินของกองทุนหมู่บ้านนี้ มีเพียงสมุดบันทึกรายงานการประชุม และสมุดเงินฝากธนาคาร ได้แนะนำวิธีการวิเคราะห์บัญชี และวิธีการคำนวณ ดังนี้

2.1 บัญชีธนาคาร นำเงินคงเหลือยกมาต้นปี + รวมรับระหว่างปี – รวมจ่ายระหว่างปี = ยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นปี (31 ธ.ค.) นำยอดคงเหลือมาคำนวณ

2.2 บัญชีลูกหนี้ คำนวณโดย ลูกหนี้ยกมาต้นปี + ลูกหนี้ระหว่างปี – ลูกหนี้ชำระเงินระหว่างปี = ลูกหนี้คงเหลือในทะเบียนคุมลูกหนี้ นำยอดคงเหลือมาคำนวณ

2.3 ดอกเบี้ยเงินกู้ คำนวณโดย เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย
ตัวอย่าง เงินต้น 20,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี
คำนวณโดย ดอกเบี้ย = 20,000 x 6/100 = 1,200 บาท
วิธีการหาเงินต้นและดอกเบี้ยในสมุดเงินฝากธนาคาร มียอดเงินในบัญชีธนาคาร
21,200 บาท กองทุนให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี ต้องการทราบจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ย
คำนวณโดย เงินชำระหนี้ = เงินต้น + ดอกเบี้ย
= 100 + (100 x 6/100)
= 100 + 6
= 106
เงินชำระหนี้ 106 บาท คิดเป็นดอกเบี้ย 6 บาท
เงินชำระหนี้ 21,200 บาท คิดเป็นดอกเบี้ย 6 x 21,200 /106
คิดเป็นดอกเบี้ย 1,200 บาท
ฉะนั้น เงินฝากธนาคาร 21,200 บาท เป็นดอกเบี้ย 1,200 บาท เป็นเงินต้นเท่ากับ
21,200 – 1,200 เป็นเงินต้น 20,000 บาท

2.4 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รวมจำนวนเงินจากตัวอักษร int ในรอบปี ถ้ามีการคิดดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง นำมารวมคำนวณเป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารของปีนั้น

2.5 ค่าใช้จ่ายของกองทุน ในระหว่างปี ถ้ามีค่าใช้จ่ายให้นำใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มารวมคำนวณ จากนั้นจึงนำจำนวนเงินที่คำนวณได้ มาจัดทำงบการเงิน ได้แก่ งบดุล และงบกำไรขาดทุน ตามแบบที่กำหนด

กฎ ระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
- คู่มือบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

วิธีการใช้ข้อมูล จปฐ.ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานหรือ จปฐ. มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติ เพราะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ทั้งตัวประชาชน หน่วยงานทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ได้มองเห็นปัญหาในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างแท้จริง

จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2552 ในพื้นที่ชนบท จำนวน 11 อำเภอ 83 ตำบล 790 หมู่บ้าน 87,056 ครัวเรือน ผลการสำรวจจำนวน 42 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ จำนวน 22 ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 20 ตัวชี้วัด ซึ่งในส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์นั้น ไม่ได้เป็นปัญหาที่รุนแรงเนื่องจากเป็นตัวชี้วัด ที่ตั้งเป้าหมายไว้ ร้อยละ 100 แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ก็ให้ความสำคัญ ในการแก้ไขทุกปัญหา โดยให้แต่ละพื้นที่และหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องนำข้อมูลไปวิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเน้นการ บูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจน ของประชาชนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. และได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2553 ตัวชี้วัดที่ 3.1 ระดับความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาเพื่อลดจำนวนครัวเรือนยากจนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.

ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี 2552 จังหวัดฉะเชิงเทรา มีครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ.ข้อ 30 จำนวน 103 ครัวเรือน ได้มีการวิเคราะห์ศักยภาพของครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 30 ว่ามีศักยภาพช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ เช่น เป็นคนชรา คนพิการ ได้ส่งข้อมูล ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสงเคราะห์ ส่วนคนที่มีศักยภาพพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้นำมาเป็นกลุ่มเป้าหมายในหากิจกรรมทางเลือกเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทราได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน เสนอขอรับการสนุนงบประมาณจากงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2553 จำนวน 2,527,500 บาท


ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ได้อนุมัติโครงการนี้เนื่องจากท่านเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ขั้นตอนการดำเนินการ อันดับแรกเรานำกลุ่มเป้าหมายของโครงการคือผู้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 30 และผู้ที่จดทะเบียน สย.หรือมติเวทีประชาคม จำนวน 255 ครัวเรือน มาเตรียมความพร้อมปรับทัศนคติ สร้างการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมทางเลือกเพื่อยกระดับรายได้ ดำเนินการ 1 วัน ในครั้งนี้ได้สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความต้องการกิจกรรมทางเลือกด้านอาชีพของครัวเรือนเป้าหมายเพื่อความสะดวก และรวดเร็วในการช่วยเหลือภายหลังจากอบรมแล้วให้ครัวเรือนเป้าหมายกลับไปคิดทบทวนอีกครั้งว่าตนเองมีความพร้อมจะประกอบอาชีพอะไร

พัฒนากร และพัฒนาการอำเภอ ติดตาม ตรวจเยี่ยมแนะนำ ครัวเรือนว่าเขาพร้อมที่จะทำอาชีพอะไรที่จะสร้างรายได้แก่ตัวเขา ตามความพร้อมและความถนัด จัดทำรายการวัสดุสิ่งที่จะสนับสนุนกิจกรรมทางเลือก อำเภอดำเนินการจัดซื้อวัสดุสิ่งของปัจจัยการผลิต ส่งมอบให้ครัวเรือนไปประกอบอาชีพ กิจกรรมทางเลือกเพื่อยกระดับรายได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ครัวเรือนเป้าหมายได้เลือกอาชีพได้ตรงกับความต้องการ ดังนี้
- ด้านการเกษตร จำนวน 188 ราย คิดเป็นร้อยละ 74
- ด้านค้าขาย จำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 14
- ช่าง/บริการ จำนวน 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 11
- อื่น ๆ จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 1

ในการสนับสนุนครัวเรือนได้มีการให้การช่วยเหลือแบบบูรณาการ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มีนายอำเภอมอบปัจจัยการผลิตในระดับอำเภอและไปมอบด้วยตัวเองถึงครัวเรือน นอกจากนี้ มีเกษตร ปศุสัตว์ ประมง ให้คำแนะนำติดอาวุธทางอาชีพแก่ครัวเรือน อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำอช.เป็นกำลังใจให้อีกทางหนึ่ง พร้อมกันนี้จังหวัดได้กำหนดให้มีการสรรหาคนต้นแบบไว้ทุกอำเภอ เพื่อประชาสัมพันธ์และยกย่องครัวเรือนต้นแบบ

จากการไปติดตามการประกอบอาชีพ ครัวเรือนบอกว่าการได้รับสิ่งของนั้นดีกว่าได้รับเงินสนับสนุน ได้เงินไปเดี๋ยวก็หมดไม่ได้ซื้อของ ไม่เคยมีโครงการแบบนี้มาก่อน เมื่อมีโครงการนี้เข้ามามีคนเข้ามาเยี่ยม ไม่เหงา มีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต การได้รับสิ่งของปัจจัยการผลิต หากตีเป็นมูลค่าไม่มากเจ็ดแปดพันบาท แต่เป็นสิ่งของที่เราอยากได้ใฝ่ผันอยากทำอาชีพนี้มานานแล้ว แต่ไม่มีโอกาส เมื่อทางราชการเปิดโอกาส เกิดความภาคภูมิใจที่ทางราชการไม่ทอดทิ้ง ชีวิตความเป็นอยู่คงจะดีขึ้น เป็นคำกล่าวที่ออกมาหัวใจของ ผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการ... และนี่เป็นบทเรียนหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการนำข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน หรือ จปฐ.แก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง พวกเราชาวพัฒนาชุมชนจะมุ่งมั่นตั้งใจแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้พ้นเกณฑ์ จปฐ. โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกลไกในการปฏิบัติงานต่อไป.

นางสาวสุรีวรรณ คณนา
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา

การขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ชื่อ – สกุล นางสาวสวณีย์ มีเจริญ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์ติดต่อโทร. 089-2445769
ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานแบบมีส่วนร่วม
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ มิถุนายน ปี 2553


เนื้อเรื่อง
โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากร/ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้าให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้

สินค้าโอทอป คือความภาคภูมิใจของชาวแปดริ้วที่สามารถสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะเป็นสินค้าที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละคนในพื้นที่ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งกลุ่มสินค้าโอทอปที่แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตรถือเป็นสินค้าที่ ได้รับความนิยมในระดับต้น ๆ เนื่องจากมีผลิตผลทางการเกษตรในหลากหลายกลุ่ม ทั้งที่ใช้บริโภคสด เช่น พืชผัก ผลไม้ ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่ผ่านมาการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์โอทอปในจังหวัดยังคงพบว่ากลุ่มผู้ผลิตสินค้าโอทอปบางส่วนยังขาดความรู้ในเรื่องมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าทั้งในส่วนของวัตถุดิบในการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งความประณีต ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดก็ได้เร่งส่งเสริมให้ความรู้เพื่อให้เข้าสู่ความเป็นมาตรฐาน ผ่านการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ Knowledge - Based OTOP (KBO) โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งสถาบันการศึกษาและผู้มีความรู้ในผลิตภัณฑ์ด้านนั้นๆ ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ให้มีมาตรฐานสูงมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาสินค้าได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยมีการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และสินค้ามีการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการและชุมชน ในการพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป แบ่งเป็นระดับ 1-5 ดาว ในปีนี้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทราได้ดำเนินการลงทะเบียนสินค้าโอทอป ระหว่างวันที่ 14-20 มิ.ย. และการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2553 ได้ดำเนินการรับสมัครตั้งแต่วันที่ 25 - 29 มิ.ย. และกำหนดคัดสรรฯ ในวันที่ 30 มิ.ย. ณ โรงแรมแกรนด์ รอยัล พลาซ่า อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมคัดสรรฯ จำนวน 96 ราย

สินค้าโอทอปได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถจำหน่ายทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ และมีการส่งเสริมการตลาด โดยการจัดกิจกรรมการตลาด เช่นมหกรรมสินค้าโอทอปและของดีเมืองแปดริ้ว/งานนมัสการพระพุทธโสธรและงานกาชาดประจำปี/นตผ.สู่โรงงาน/หน่วยงานภาคีอื่นๆที่จัด/โอทอปมิดเยียร์/โอทอป ซิตี้/โอทอป ภูมิภาค รวมถึงการให้บริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมความรู้ด้านเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด แหล่งทุน แก่กลุ่มอาชีพ ผู้ผลิตผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป

ถ่ายภาพอย่างไรให้ออกมาใช้งานได้


ชื่อ – สกุล นางสาวปารณีย์ บุญรอด
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 0-8635-82844
ชื่อเรื่อง ถ่ายภาพอย่างไรให้ออกมาใช้งานได้
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพออกมาแล้วนำไปใช้งานไม่ได้
และไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547

เนื้อเรื่อง
จากการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการถ่ายภาพกิจกรรมในงานพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ซึ่งในการถ่ายภาพให้ออกมาใช้งานได้ และมีองค์ประกอบของภาพครบถ้วนนั้น ภาพหนึ่งภาพที่ดีต้องสามารถสร้างเรื่องราวของภาพนั้นให้ได้ โดยมีจุดเริ่มต้นและมีจุดสิ้นสุดของภาพ อาจถ่ายภาพจากเหตุการณ์และสถานที่จริง หรือการ Set ฉากขึ้นมาก็ได้ ซึ่งต้องอาศัยจินตนาการ และการจัดองค์ประกอบของภาพที่เหมาะสม

การถ่ายภาพกิจกรรมเพื่อนำไปใช้ในงานประชาสัมพันธ์ ภาพในลักษณะนี้เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ของกิจกรรมตามที่ผู้ถ่ายต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นกิจกรรมอะไร จึงต้องถ่ายให้ออกมาดูมีเรื่องราว และน่าสนใจ เริ่มตั้งแต่การเลือกมุมกล้อง การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพ ภาพถ่ายที่ดีซึ่งสามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ เนื้อหาของภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยต้องดูว่าภาพถ่ายนั้นจะบอกเรื่องราวเรื่องใด และบอกได้มากน้อยแค่ไหน ให้รายละเอียดได้ไหมว่าคนในภาพเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เพื่ออะไร ซึ่งเห็นภาพแล้วสามารถอธิบายได้ เนื้อหาของภาพจึงต้องชัดเจน สามารถถ่ายทอดเรื่องราวให้ดูได้โดยง่าย ไม่สลับซับซ้อน

ในงานพัฒนาชุมชน หลัก ๆ แล้วจะเป็นการถ่ายภาพการประชุมอบรมสัมมนา การถ่ายภาพรับมอบเกียรติบัตร การถ่ายรูปหมู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากหรือซับซ้อนมากนัก เพียงแต่ต้องรู้หลักการถ่ายภาพ การจัดองค์ประกอบของภาพ และเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเท่านั้น

การถ่ายภาพการประชุมอบรมสัมมนา ควรเริ่มถ่ายตั้งแต่การมารายงานตัวของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประธานในพิธี ควรถ่ายด้านหน้าโดยยืนประมาณแถวที่ 5-6 ของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อจะได้ภาพทั้งผู้เข้าประชุมและประธานในพิธีด้วย หรืออาจจะเป็นด้านข้างก็ได้ เพื่อจะได้ทั้งประธานในพิธีและได้ด้านหน้าของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา หรือถ้าไม่ได้ก็ให้ถ่ายด้านหน้าประธาน 1 ใบ และมาถ่ายภาพผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อตัดภาพประธานติดกับผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ควรถ่ายให้ประธานและผู้เข้าร่วมประชุมหันหน้าเข้าหากัน ผู้กล่าวรายงานให้ถ่ายด้านข้าง จะได้ทั้งผู้กล่าวรายงานและผู้เข้าร่วมประชุมด้วย เพราะภาพจะสื่อความรู้สึกว่าเป็นการประชุมสัมมนาจริง การถ่ายภาพผู้บรรยายให้ใช้หลักเดียวกันกับการถ่ายภาพประธานในพิธี

การถ่ายภาพรับมอบเกียรติบัตร ถ้วยรางวัลหรือโล่ ให้ถ่ายในช่วงของผู้รับเกียรติหรือผู้รับโล่รางวัลจับเกียรติบัตรหรือโล่จากผู้มอบ ตรงนี้เป็นเทคนิค เพราะกล้องดิจิตอลเวลาถ่ายภาพแสงจะเดินทางช้ากว่ากล้องธรรมดา เพราะฉะนั้นช่างภาพต้องกดชัดเตอร์ลงครึ่งหนึ่งไว้รอ เมื่อคนรับ จับเกียรติบัตรจากผู้มอบ ให้กดชัดเตอร์ลงทันที แล้วจะได้ภาพที่ต้องการ ปัญหาที่ตามมาของกล้องดิจิตอลคือ หากรีบกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ จะมีปัญหาคือ กดภาพไม่ลง ถ้ากดลงภาพจะพร่าและไหว เพราะความรีบ การแก้ไขคือ หลังจากถ่ายภาพคนที่ 1 ไปแล้ว ให้กดชัตเตอร์ค้างไว้ทันที เมื่อคนที่ 2 มายืนรับต่อ จะทำให้ถ่ายภาพนั้นทัน ถ้าไม่ทันให้ปฏิเสธคนที่ 2 ไปคนที่ 3 แล้วภาพต่อ ๆ ไปเราจะถ่ายภาพทันไม่มีปัญหา

การถ่ายรูปหมู่ ให้จัดเรียงตามความเหมาะสม หากจำนวนคนมีมาก ให้จัดแถวเป็นนั่ง และยืน หากมากอีกก็ให้จัดเป็น 3 แถว เช่น แถวที่ 1 นั่งกับพื้น แถวที่ 2 นั่งเก้าอี้ แถวที่ 3 ยืน หรือถ้าไม่สามารถ Set ฉากได้ก็ให้ใช้มุมกล้องแทน เป็นต้น

ปัญหาที่พบบ่อยกับตัวเองก็คือการขาดจินตนาการ ทำให้ไม่สามารถสร้างเรื่องราวและสร้างสรรค์ภาพได้ ดังนั้น การควบคุมตัวเองในเรื่องอารมณ์และความรับผิดชอบตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ ใน 1 งาน ต้องคิดไว้ใช้สำหรับหลาย ๆ งาน โดยการเปลี่ยนมุม เปลี่ยนแนวถ่าย เปลี่ยนองค์ประกอบของฉากให้ได้หลาย ๆ มุม ก่อนไปถ่ายภาพควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่จะไปถ่ายให้ครบถ้วนก่อน ทั้งในเรื่องสถานที่ ทิศทางแสง ข้อมูลเหตุการณ์ของงานนั้น ๆ

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1. เทคนิคการถ่ายภาพ
2. การจัดองค์ประกอบของภาพ

แก่นความรู้ (Core Competencies)
1. การวางแผนในการถ่ายภาพ
2. การจินตนาการให้ภาพดูมีเรื่องราว

กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
1. คู่มือการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล
2. คู่มือเทคนิคการถ่ายภาพ
2. แนวทางการถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การดำเนินงานโครงการ กข.คจ.ที่ต้องชำระคืน


ชื่อ – นามสกุล นางอุไรวรรณ อินทวงศ์
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081-8369596
ชื่อเรื่อง การดำเนินงานโครงการ กข.คจ.ที่ต้องขำระคืน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การไม่ชำระคืนเงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2552
สถานที่เกิดเหตุ บ้านคลองบางกระเสน หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว

เนื้อเรื่อง
ข้าพเจ้า นางอุไรวรรณ อินทวงศ์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ขำนาญงาน ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบตำบล คือ ตำบลบางแก้ว และได้รับผิดชอบพื้นที่ในตำบลบางแก้ว มีเงินงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านชูพัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลบางแก้ว และ หมู่ที่ 12 บ้านคลองบางกระเสน ได้รับงบประมาณ หมู่ละ 280,000 บาท เป็นเงิน 560,000 บาท ซี่งได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 แต่หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว มีปัญหาซึ่งมีครัวเรือนเป้าหมายไม่ยอมคืนเงินยืมตามสัญญาเงินยืม

บันทึกขุมความรู้
สาระสำคัญโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ ครัวเรือนยากจนยืมเงินไปประกอบอาชีพแล้วนำส่งคืนตามกำหนด

ขั้นตอนการยืมเงินและวิธีปฏิบัติตามระเบียบฯ
ขั้นที่ 1 การเสนอโครงการและคำขอยืมเงิน ให้หัวหน้าครอบครัวหรือผู้แทนซึ่งมีสิทธิขอยืมเงินตามโครงการ ยื่นเอกสารต่อ กม. ดังนี้
(1) คำร้องตามแบบท้ายระเบียบ(คำขอยืม)
(2) โครงการหรือกิจกรรมที่ครัวเรือนยากจนจะดำเนินการ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 ข้อ 16
ขั้นที่ 2 การอนุมัติโครงการและคำขอยืมเงิน ให้ กม. ปรึกษา คปต. ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารและพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อประกอบในการพิจารณาอนุมัติโครงการและให้เลขานุการ กม. แจ้งผลการพิจารณาโครงการให้อำเภอทราบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 17
ขั้นที่ 3 การทำสัญญายืมเงิน ในการทำสัญญายืมเงิน ให้ทำตามที่กำหนดท้ายระเบียบฯ จำนวนอย่างน้อย 3 ชุด โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) มอบให้ครัวเรือนยากจนผู้ยืม 1 ชุด (2) กม. เก็บไว้ 1 ชุด (3) ส่งให้อำเภอ 1 ชุด (ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 21)
ขั้นที่ 4 การจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนยากจนผู้ยืมเงิน การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากคณะกรรมการฯ หมู่บ้านตามโครงการ กข.คจ. ให้ กม. เบิกจ่ายเงินในบัญชีดังกล่าวเพื่อจ่ายให้ครัวเรือนยากจนเป็นราย ๆ ตามหลักฐานการอนุมัติโครงการของ กม. - การจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนยากจน ให้จ่ายเป็นเช็ค หรือโอนเข้าบัญชีครัวเรือนยากจน - การออกเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้กรรมการหมู่บ้าน จำนวน 2 คน เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายร่วมกันตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 22

แก่นความรู้
หากคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ได้บริหารโครงการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 อย่างเคร่งครัด จะไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ต้องเข้าไปพูดคุยกับครัวเรือนเป้าหมายว่ามีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง และเข้าไปพูดคุยสร้างความสนิทสนมทำให้เกิดความเกรงใจและเห็นใจเจ้าหน้าที่ทำให้ครัวเรือนที่มีปัญหาคืนเงินยืมได้

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านคลองบางกระเสน หมู่ที่ 12 ต.บางแก้ว ให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2. พัฒนาการอำเภอ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
3. ประสานงาน ผู้ใหญ่บ้าน, กำนันตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข
4.ให้คณะกรรมการกช.คจ. บันทึกการประชุมให้กรรมการบันทึกการรับสภาพหนี้ และกำหนดให้มีการผ่อนชำระคืนเงินดังกล่าวตามกำหนด
5. ผู้ยืมเงินที่ครบกำหนดแล้วยังไม่ชำระคืนเงินยืมให้นำเงินยืมดังกล่าวมาชำระคืนภายในกำหนด กรณีไม่มีความพร้อมชำระคืนเงินทั้งจำนวน ให้ทำทำรับสภาพหนี้คืนเงินเป็นรายงวด

จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานในบางกิจกรรม หากไม่สามารถดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาได้เอง การให้ผู้บังคับบัญชาได้รับรู้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการค้นหาปัญหาและแก้ไขได้เป็นอย่างดี

กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับโครงการ กข.คจ. และแนวทางปฏิบัติงานโครงการ กข.คจ.

บทเรียนจากหมู่บ้าน กข.คจ.ปี 2542

ชื่อ – นามสกุล นางอนัญพร ลีรัตนชัย
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 0-8993-9848-8
ชื่อเรื่อง บทเรียนจากหมู่บ้าน กข.คจ.ปี 2542
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การไม่ชำระคืนเงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2546
สถานที่เกิดเหตุ บ้านเดโช หมู่ที่ 7 ตำบลคลองอุดมชลจร

เนื้อเรื่อง
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ของอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา มีทั้งสิ้น 26 หมู่บ้าน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีทั้งหมู่บ้านที่มีการคืนเงินยืมเป็นไปตามระเบียบของแต่ละกองทุน และมีหมู่บ้านอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ปฎิบัติตามระเบียบของกองทุน คือไม่คืนเงินยืม และคืนเงินยืมไม่ตรงตามกำหนด ซึ่งเป็นการเอาอย่าง หรือเลียนแบบที่จะทำตามหมู่บ้านที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของกองทุน กข.คจ. จึงทำให้เกิดปัญหากับเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ที่ต้องเร่งรัดการคืนเงินยืมให้เป็นไปตามระเบียบของ แต่ละกองทุนที่วางไว้
.
บ้านเดโช หมู่ที่ 7 ตำบลคลองอุดมชลจร ก็ประสบกับปัญหาการไม่คืนเงินยืมของสมาชิกบางคน โดยอ้างว่าที่อื่นสมาชิกเขาไม่คืนกันเลย ก็ไม่เห็นจะเป็นอย่างไร กรรมการอยากฟ้องก็ฟ้องไป ทำให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. และเจ้าหน้าที่ต้องมาระดมความคิดกันว่าจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าเรื่องการทวงหนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องค่อยเป็นค่อยไป ต้องใช่เทคนิคในการพูดเพื่อให้ลูกหนี้คืนเงินยืม โดยไม่ให้เขามีความรู้สึกว่ากำลังถูกบังคับ ซึ่งได้กำหนดมาตรการได้แก่
.
1. ออกไปพบปะพูดคุยกับผู้ที่ไม่คืนเงินเป็นรายครัวเรือน โดยการส่งตัวแทนคณะกรรมการที่คิดว่าครัวเรือนนั้นให้ความเคารพ และเชื่อถือไปพูดคุย
2. สอบถามปัญหา/อุปสรรคของครัวเรือนถึงสาเหตุที่ไม่สามารถคืนเงินยืมได้
3. ปัญหาที่พบคือ หมู่บ้านใกล้เคียงไม่คืนเงิน จึงอยากทำตาม โดยไม่คืนเงินบ้าง

4. คณะกรรมการต้องชี้แจงเหตุผลที่ต้องมีการคืนเงินตามระเบียบของกองทุนฯ และผลดีของการคืนเงินยืมตามกำหนดแก่สมาชิก เพื่อรักษาเครดิตของหมู่บ้านไม่ให้มีปัญหาเรื่องการบริหารเงินโครงการที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล เช่น โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) โครงการกองทุนหมู่บ้าน หรือโครงการอื่นๆ เพื่อหมู่บ้านจะได้รับการจัดสรรงบประมาณมาให้อีก เนื่องจากประชาชนมีจิตสำนึกในการบริหารจัดการทุนที่มีอยู่ให้ยังคงอยู่ต่อไป และมีเงินทุนเพิ่มขึ้น

5. ชี้แจงถึงประโยชน์ของเงินกองทุน กข.คจ. ให้ครัวเรือนที่มีปัญหาเห็นว่า เงินดังกล่าว ทำให้เรามีเงินหมุนเวียนประกอบอาชีพ โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หากไปกู้จากที่อื่นก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามที่ ผู้ให้กู้กำหนด และหากเราไม่คืนเงินแก่เจ้าหนี้ก็จะถูกดำเนินคดี หรือทำให้เราเดือดร้อนได้

6. พัฒนากรออกเยี่ยมเยียนครัวเรือน และติดตามการดำเนินงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

จากการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ต้องอาศัยเวลาในการพูดคุยหลายครั้งซึ่งต้องอาศัยความอดทนเป็นอย่างมาก จนในปัจจุบันครัวเรือนยืมเงินมีการชำระเงินคืนตามกำหนดทุกครัวเรือน

ทางรอด...ของพัฒนากรที่ต้องรับผิดชอบ


ชื่อ – นามสกุล นางสุคนธ์ เจียรมาศ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 038-814349
ชื่อเรื่อง ทางรอด....ของพัฒนากรที่ต้องรับผิดชอบ
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การช่วยเหลือสมาชิกที่เงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2548
สถานที่เกิดเหตุ บ้านเกาะดอน หมู่ที่ 5 ตำบลบางเตย

เนื้อเรื่อง
ตำบลบางเตย มีจำนวนหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน ได้รับงบประมาณตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหัวแดน หมู่ที่ 2, บ้านคลองขุด หมู่ที่ 3, บ้านเกาะดอนหมู่ที่ 5, บ้านแพรกชุมรุม 13 การดำเนินงานของโครงการฯเป็นไปตามกฎ ระเบียบของกองทุนทุกประการ ไม่มีปัญหาในการส่งเงินคืนของสมาชิก ทำให้ทุกกองทุนประสบผลสำเร็จ สมาชิกมีรายได้ผ่านเกณฑ์จปฐ.

บ้านเกาะดอน หมู่ที่ 5 ตำบลบางเตยได้รับงบประมาณโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ปี 2539 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ไ ด้บริหารจัดการเงินกองทุนได้ดีตลอดมา แนวทางที่คณะกรรมการกองทุนได้ดำเนินการ ได้แก่

1. มีการประชุม คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านเกาะดอน มีการประชุมเป็นประจำ เมื่อมีปัญหาเหตุการณ์ต่างๆ
2. คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านเกาะดอน ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกติดตามตรวจเยี่ยมครัวเรือนที่ยืมเงินไปประกอบอาชีพ
3. พัฒนากรออกเยี่ยมเยียนครัวเรือน และติดตามการดำเนินงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
4. คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.บ้านเกาะดอน ได้ปฎิบัติตามระเบียบกองทุนอย่างเคร่งครัด

ต่อมา ในปี 2548 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เมื่อครัวเรือนที่ยืมเงินไป จำนวน 20,000 บาท เกิดเสียชีวิตโดยครัวเรือนนี้อาศัยกันอยู่ 2 คนแม่ลูก มีที่แก่ชราไม่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ลูกเกิดมาเสียชีวิตทำให้ไม่มีเงินคืนแก่กองทุนฯ ตามระเบียบกองทุนฯ ถ้าหากคณะกรรมการกองทุนไม่สามารถเก็บเงินคืนได้ คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.และพัฒนากรต้องรับผิดชอบ ซึ่งสำนักงบประมาณได้พิจารณาแล้วว่าเงินกองทุน กข.คข.เป็นเงินกรมการพัฒนาชุมชนต้องรับผิดชอบ แต่คณะกรรมการกองทุนฯและสมาชิกได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันที่ประชุมมีมติ ให้สมาชิกกองทุนกข.คจ.ที่ยืมเงินไปประกอบอาชีพช่วยกันบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสมาชิกด้วยกัน ทำให้เป็นทางรอด.........ของพัฒนากรที่ต้องรับผิดชอบ

จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น พัฒนากรต้องพึงสังวรไว้ว่าการปฏิบัติงานต้องยึดระเบียบ อย่าทำอะไรง่ายๆ ให้ชุมชนมีทางออกต้องมีการประชุมกันบ่อยๆ เพื่อให้ทุกคนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจด้วยกัน นี่แหละหลักการพัฒนาชุมชน.....

เงิน กข.คจ.ยืมแล้วต้องมาคืน


ชื่อ – นามสกุล นางสาวิตรี ประดิษแจ้ง
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 089-8899063
ชื่อเรื่อง เงิน กข.คจ.ยืมแล้วต้องมาคืน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การไม่ชำระคืนเงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2549
สถานที่เกิดเหตุ บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ตำบลบางตีนเป็ด

เนื้อเรื่อง
จากการเปลี่ยนสายงานตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ เป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบตำบลเป็นครั้งแรก คือ ตำบลบางตีนเป็ด จากการศึกษาพื้นที่ในตำบลบางตีนเป็ด มีเงินงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ตำบลบางตีนเป็ด เป็นเงิน 280,000 บาท ซี่งได้รับงบประมาณตั้งแต่ปี 2539 โดยหลักฐานการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เก็บไว้ที่ผู้ใหญ่บ้าน จากการติดตามการดำเนินงานไม่พบหลักฐานใดที่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้ยืมเงินในปัจจุบันได้ เนื่องจากผู้นำท้องถิ่นบริหารเงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ร่วมกับงบประมาณตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ทำให้ไม่สามารถแยกยอดเงินต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้นำท้องถิ่นรับปากจะดำเนินการแยกยอดเงินต่าง ๆ ให้

ภายหลังการติดตามอย่างใกล้ชิด สามารถหาชื่อผู้ยืมเงิน และจำนวนเงินที่ยืมไปประกอบอาชีพได้ ซึ่งเป็นผู้ยืมเงินเกิดสัญญายืมที่กำหนดไว้ตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) และได้ประสานงานให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ได้ติดตามการชำระคืนเงินยืม ภายหลังข้าพเจ้าได้ร่วมกับคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ได้ร่วมกันติดตามการชำระคืนเงินยืม แต่ไม่ปรากฏผู้ใช้คืนเงินยืมจำนวนดังกล่าวแต่อย่างใด จึงไม่สามารถดำเนินการติดตามการชำระคืนเงินได้

เมื่อปรากฏผลการดำเนินงานเช่นนี้ ข้าพเจ้า จึงได้รายงานให้พัฒนาการอำเภอฯ ทราบเพื่อหารือในแนวทางแก้ไขต่อไป

บันทึกขุมความรู้
สาระสำคัญโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ ครัวเรือนยากจนยืมเงินไปประกอบอาชีพแล้วนำส่งคืนตามกำหนด

หลักการ

1. เพื่อเป็นการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน ในระดับหมู่บ้านสำหรับครัวเรือนเป้าหมายในการนำเงินยืมไปประกอบอาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย
2. องค์กรประชาชนและประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์
3. มีการใช้ข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมาย จากการจัดเก็บและตรวจสอบขององค์กรประชาชนในหมู่บ้าน
4. การมอบอำนาจและหน้าที่ ความรับผิดชอบให้องค์กรประชาชน เป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนให้หมุนเวียนคงอยู่ในหมู่บ้านตลอดไป
5. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบติดตามการดำเนินงานกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.) ให้มีประสิทธิภาพ

.
แก่นความรู้
หากคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ได้บริหารโครงการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 อย่างเคร่งครัด จะไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านบางตีนเป็ด หมู่ที่ 7 ต.บางตีนเป็ด ให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2. พัฒนาการอำเภอ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
3. ประสานงานกับปลัดอำเภอผู้ประสานงานตำบล กำนันตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข

4. กำหนดขั้นตอนในการสืบหาความจริง
4.1 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
4.2 เชิญคณะกรรมการ กองทุน กข.คจ. และผู้ยืมเงินมาให้ข้อเท็จจริงแก้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับการแต่งตั้ง
4.3 จัดทำบันทึก ปค.4 สำหรับผู้มาให้ข้อเท็จจริง ซึ่งได้แก่
-คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานด้านเอกสาร และการให้ยืมเงิน
-ผู้ยืมเงินตามรายชื่อที่คณะกรรมการฯ มอบให้ โดยในบันทึก ปค.4 ทุกฉบับ จะต้องลงนามผู้ให้ข้อเท็จจริง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ไว้เป็นหลักฐาน
4.4 คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ร่วมกันสรุปผลการสอบข้อเท็จจริง สรุปให้นายอำเภอทราบแล้วจึงเสนอความเห็น เพื่อดำเนินการต่อไป
4.5 ดำเนินการตามความเห็นที่เสนอ
-โดยให้คณะกรรมการฯ ที่นำเงินไปบันทึกการรับสภาพหนี้ และกำหนดให้มีการผ่อนชำระคืนเงินดังกล่าวตามกำหนด
- ผู้ยืมเงินที่ครบกำหนดแล้วยังไม่ชำระคืนเงินยืมให้นำเงินยืมดังกล่าวมาชำระคืนภายในกำหนด กรณีไม่มีความพร้อมชำระคืนเงินทั้งจำนวน ให้ทำสัญญาคืนเงินเป็นรายงวด
.

จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานในบางกิจกรรม หากไม่สามารถดำเนินการ หรือแก้ไขปัญหาได้เอง การให้ผู้บังคับบัญชาได้รับรู้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการค้นหาปัญหาและแก้ไขได้เป็นอย่างดี

กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับโครงการ กข.คจ. และแนวทางปฏิบัติงานโครงการ กข.คจ.

เทคนิคการดำเนินการในการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)


เรื่อง เทคนิคการดำเนินการในการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
สำหรับปฏิบัติงานด้าน การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
โดย นายสมศักดิ์ จิตรวิไลย

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
วันที่ 30 มิถุนายน 2553

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ได้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนปฏิบัติ มีดังนี้
1. สำรวจข้อมูลจำนวนครัวเรือนว่าแต่ละหมู่บ้านจะมีการจัดเก็บ จปฐ.1 กี่ครัวเรือน ถ้ามีเพิ่มก็ให้แบบ จปฐ.1 เพื่อจัดเก็บเพิ่มเติม
2. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล
3. แต่งตั้งอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โดยอาสาสมัคร 1 คน จัดเก็บประมาณ 20 ครัวเรือน
4. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการบริหารข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล
5. คณะกรรมการบริหารข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล ประชุมชี้แจงอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
6. อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ตามแบบ จปฐ.1 จัดเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือน
7. บันทึกข้อมูลตามแบบ จปฐ.1 ลงในโปรแกรม จปฐ. ในเครื่องคอมพิวเตอร์
8. ประมวลผลข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ให้เป็นภาพรวมของหมู่บ้าน/ตำบล
9. พิมพ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ.2 ระดับหมู่บ้าน/ตำบล และให้คณะกรรมการบริหารข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล เพื่อให้ศึกษาข้อมูล
10. ประชุมเวทีประชาคม ระดับตำบล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดังนี้
- โปรแกรม Power Point ในการรายงานสรุปผลตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ระดับหมู่บ้าน/ตำบล
- โปรแกรมความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในการรายงานผลตัวชี้วัดทั้ง 42 ตัวชี้วัด ในระดับครัวเรือน/คน

โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ดังนี้
- นำเสนอด้วยโปรแกรม Power Point เปรียบเทียบข้อมูลจำนวนครัวเรือน ประชากร ชาย หญิง รวม และรายได้เฉลี่ยของประชากรในแต่ละหมู่บ้าน ของ ปี 2552 และปี 2553
.
เมื่อเวทีประชาคมได้รับทราบแล้ว ถ้าตรงกับความเป็นจริงจะยืนยันข้อมูลที่จัดเก็บและบันทึกลงโปรแกรมความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ว่ามีความถูกต้อง แต่ถ้าไม่ตรงกับความเป็นจริงก็จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลดังกล่าว ให้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงต่อไป
.
- นำเสนอด้วยโปรแกรมความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) รายงานผลที่ละหมู่บ้านเรียงตามลำดับของตัวชี้วัดจากตัวชี้วัดที่ 1 ไปจนถึงตัวชี้วัดที่ 42 โดยนำเสนอข้อมูลที่ตกเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ จำนวนเท่าไร และครัวเรือน/คน ที่ตกเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ มีใครบ้าง
.
เมื่อเวทีประชาคมได้รับทราบแล้ว ถ้าตรงกับความเป็นจริงจะยืนยันข้อมูลที่จัดเก็บและบันทึกลงโปรแกรมความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ว่ามีความถูกต้อง แต่ถ้าไม่ตรงกับความเป็นจริงก็จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลดังกล่าว ให้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงต่อไป

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน


ชื่อ – นามสกุล นายสมเดช พันแอ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081-5514288
ชื่อเรื่อง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2551
สถานที่เกิดเหตุ บ้านวังตะเคียน หมู่ที่ 8 ตำบลวังตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
ข้าพเจ้า นายสมเดช พันแอ ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ ข้าพเจ้ารับผิดชอบ ตำบลวังตะเคียน มีทั้งหมด 10 หมู่บ้านโดย บ้านวังตะเคียน หมู่ที่ 8 เป็นชุมชนที่มีหมู่บ้านจัดสรรมีจำนวนประชากรค่อนข้างมากกว่าหมู่บ้านอื่นๆในตำบล ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านมีอาชีพรับจ้าง อาชีพเกษตรกรรม อาชีพ ค้าขาย บริการและอื่นๆ เป็นที่ตั้งของ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะเคียน โรงเรียน และวัดนครเนื่องเขต (วัดต้นตาล)ซึ่งเป็นวัดที่มีโบสกระเบื้องเคลือบแห่งเดียวในภาคตะวันออก
.
มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีไทยวงปีพาทย์ นวดแผนไทย การเกษตรผสมผสาน มีผู้นำชุมชนที่มีความพร้อมมีจิตอาสามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาหมู่บ้านตำบลและชุมชนจึงมีความเห็นว่าหมู่บ้านควรจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของหมู่บ้านตำบลเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนและผู้สนใจเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมสืบสานภูมิปัญญาไทยตลอดจนมุงหวังจัดแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้านเนื่องจากมีโบราณสถานคือโบสถ์วัดต้นตาลหลังเก่าที่มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีโบสถ์ที่ก่อสร้างด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง มีวังมัจฉาหน้าวัดสามารถชมและให้อาหารปลาได้ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมประชาชนในหมู่บ้านชุมชนให้มีอาชีพและรายได้ ช่วยลดปัญหาการว่างงานและอาชญากรรม ทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจดีขึ้น สร้างความเจริญแก่หมู่บ้านตำบลต่อไป
.
ความหมายของศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชน ในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ ของชุมชน โดยเน้นการกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่ง เรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เป็นศูนย์ฯ ของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน
.
ภารกิจของศูนย์เรียนรู้ชุมชน
1. จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชน
2. เป็นศูนย์รวมของข้อมูล เช่น ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค.แหล่งน้ำ กลุ่มอาชีพ ฯลฯ รวมทั้งข่าวสาร สาระความรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เท่าทันสถานการณ์โลก
3. รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน องค์ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในชุมชน และจัดการให้เป็นหมวดหมู่ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ที่ประชาชนสามารถเข้าไปสืบค้นศึกษาและ เรียนรู้ได้ทุกเวลา
4. เป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชน
5. เป็นศูนย์ประสานและบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นำ กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย ภาคเอกชน และภาคีการพัฒนาภาครัฐ
6. เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นสถานที่ที่มีโครงสร้างเป็นอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ก็ได้ ที่มีองค์ความรู้ สามารถให้การเรียนรู้แก่ประชาชนที่ต้องการความรู้ สามารถเข้าถึงได้

องค์ประกอบศูนย์เรียนรู้ชุมชน
1) วิธีการก่อเกิด
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นความต้องการของประชาชนในชุมชน เพราะจะเป็นสมบัติของชุมชน จึงควรนำแนวคิดเข้าเวที ประชุมประชาคมของหมู่บ้าน เผยแพร่ความคิด โน้มน้าวสร้างการยอมรับ และชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีแหล่งเรียนรู้ของชุมชน การจัดเก็บองค์ความรู้ ประวัติชุมชน และภูมิปัญญาของชุมชนอย่างเป็นระบบ การแสดงข้อมูลข่าวสารของชุมชนให้ได้เรียนรู้กันอย่าง ทั่วถึง รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สม่ำเสมอ โดยเริ่มจากการจัดระเบียบแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน และให้เป็นไปตามกำลังที่ชุมชนจะสามารถดำเนินการได้ อีกทั้งให้มีขอบเขต และลักษณะตามความเห็นของชุมชน
.
2) โครงสร้าง ของศูนย์เรียนรู้ชุมชน
ประกอบด้วย
คณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร เครือข่ายองค์กรชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัคร ฯลฯ โดยมาจากการคัดเลือกของชาวบ้านเอง และชาวบ้านให้การยอมรับ ซึ่งคณะกรรมการจะร่วมมือกันวางแผน และดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้ร่วมกันกำหนด เพื่อระดมพลังให้เกิดการเรียนรู้และบริหารจัดการในศูนย์เรียนรู้ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ที่ปรึกษา เป็นภาคีการพัฒนาภาครัฐ เช่น พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน เกษตร สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระเบียบข้อบังคับ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้จัดทำขึ้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารศูนย์ฯ
สถานที่ เล็กใหญ่ไม่สำคัญ อาจจะอยู่ในห้องของอาคาร อบต. บ้านผู้ใหญ่บ้าน บ้านผู้นำ บ้านปราชญ์ชาวบ้าน ศาลาวัด ใต้ต้นไม้ ศาลากลางบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ให้พบปะ ประชุม ทำงานกันได้ตลอดเวลา ให้เป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกัน เพื่อการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องหางบประมาณมาก่อสร้างศูนย์ใหม่
การบริหารจัดการศูนย์ฯ คณะกรรมการฯ ที่ได้รับการคัดเลือก มีการบริหารจัดการเพื่อให้ศูนย์ฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรม
งบประมาณ เพื่อพัฒนาคณะกรรมการของศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชน
โครงสร้างทั้งหมดนี้ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นมาครบถ้วนในระยะเริ่มแรก ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมในแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งอยู่ในบทต่อไป
.
3) กิจกรรมการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
3.1 สถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ อาจดำเนินการได้ทั้งในอาคารศูนย์ฯ และนอกอาคารศูนย์ฯ โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน เช่น บ้านปราชญ์ชาวบ้าน ในไร่นา เพื่อสาธิตกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
3.2 กิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียน/การสอน การจัดการความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาติพันธุ์ ขนบประเพณี วัฒนธรรม การรับความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน การจัดเวทีประชาคมเพื่อการเรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน การเรียนรู้ผ่าน E-Learningการสาธิต การจัดนิทรรศการ การจัดสัมมนา อภิปราย ฯลฯ
.
4) เนื้อหาสาระข่าวสารความรู้ ประกอบด้วย
4.1 ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค ทะเบียนผู้นำ กลุ่ม/องค์กร ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น อัตลักษณ์ของชุมชน แผนชุมชน โครงการกิจกรรม ฯลฯ
4.2 ข่าวสาร (สารสนเทศ) ได้แก่ สารสนเทศชุมชน 13 องค์ประกอบ ได้แก่ ประวัติหมู่บ้าน แผนที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ (ภูมิอากาศ/ฤดูกาล) ลักษณะของประชากร (อัตราความหนาแน่น/โครงสร้างประชากร) ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน (เกษตร/อุตสาหกรรม/รับจ้าง ฯลฯ) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้านศิลปะ/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่บริการ การคมนาคม(การเดินทางไปยังหมู่บ้าน) ประเพณี/เทศกาลประจำปี ทักษะ/ฝีมือ/แรงงานของหมู่บ้าน อื่น ๆ
4.3 ความรู้ ได้แก่ ความรู้ด้านวัฒนธรรม การประกอบอาชีพ/ผลิตภัณฑ์ชุมชน องค์ความรู้ที่ชุมชนต้องการ เพื่อค้นหาอัตตลักษณ์ชุมชน ความรู้ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ความรู้ข่าวสารจากภายนอก

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน


ชื่อ – นามสกุล นางวันวิสา ทองหาญ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081-8643859
ชื่อเรื่อง การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ครัวเรือนเป้าหมายที่ยืมเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)และไม่ชำระคืน
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2548
สถานที่เกิดเหตุ บ้านแพรกกระทุ่มศาลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางขวัญ

เนื้อเรื่อง
ข้าพเจ้า นางวันวิสา ทองหาญ ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบตำบล คือ ตำบลบางขวัญ และได้รับผิดชอบพื้นที่ในตำบลบางขวัญ มีเงินงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ บ้านชวดตาสี หมู่ที่ 7 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537 , บ้านแพรกกระทุ่มศาลา หมู่ที่ 6 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 , บ้านคลองบ้านใหม่ หมู่ที่ 1 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 , บ้านคลองบ้านใหม่ หมู่ที่ 11 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 , บ้านคลองกลาง หมู่ที่ 3 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 และ บ้านบางขวัญ หมู่ที่ 8 ได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 โดยได้รับงบประมาณ หมู่บ้านละ 280,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,680,000 บาท แต่ ในปี 2544 บ้านแพรกกระทุ่มศาลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางขวัญ ซึ่งได้รับงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 มีครัวเรือนเป้าหมายที่ยืมเงิน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนค้างชำระ จำนวน 1 ราย

บันทึกขุมความรู้
สาระสำคัญโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ ครัวเรือนยากจนยืมเงินไปประกอบอาชีพแล้วนำส่งคืนตามกำหนด

การบริหารเงินทุนตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)

ขั้นตอนที่ 1 กรมการพัฒนาชุมชน ขออนุมัติเงินงวดตามจำนวนที่ได้รับจัดสรรต่อสำนักงบประมาณ
ขั้นตอนที่ 2 สำนักงบประมาณจัดสรรโอนเงินงบประมาณตามโครงการ กข.คจ. โดยจัดสรรให้ คลังจังหวัดตามเป้าหมายที่ได้รับจัดสรรของแต่ละจังหวัด
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาการจังหวัดเบิกจ่ายเงินจากคลังจังหวัดตามจำนวนที่ได้รับจัดสรรเพื่อสั่งจ่ายเป็นเช็คให้กับพัฒนาการอำเภอ โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่าย เงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ 2539 ข้อ 5 และข้อ 6
.
ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาการอำเภอนำเงินทุนที่ได้รับตาม ขั้นตอนที่ 3 ฝากเข้าบัญชีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภายใน 3 วันทำการ และโอนเข้าบัญชีเงินฝากของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน ตามโครงการ กข.คจ. ทันที (ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 6 วรรค 2) ในระหว่างนี้กำหนดให้ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ จัดฝึกอบรมเตรียมความพร้อมองค์กรประชาชนผู้รับผิดชอบบริหารจัดการเงินทุน และครัวเรือนยากจนเป้าหมายตามโครงการ กข.คจ ตามหลักสูตรที่กำหนด จำนวน 3 วัน โดยใช้งบประมาณ หมู่บ้านละ 10,000 บาท พร้อมกับให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้านเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้ที่ธนาคาร เพื่อรอรับเงินทุนหมู่บ้านละ 280,000 บาท ที่พัฒนาการอำเภอจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากเมื่อได้รับจัดสรร แล้วจึงบริหารจัดการต่อไป
.
ขั้นตอนที่ 5 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน พิจารณาอนุมัติโครงการ และอนุมัติเงินยืมให้ครัวเรือน โดยผ่านความเห็นชอบจาก คปต. (ปัจจุบันมีเฉพาะพัฒนากร) จากนั้นให้ครัวเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ยืมเงินทำสัญญาตามแบบที่กำหนดในระเบียบฯ
.
ขั้นตอนที่ 6 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน แจ้งครัวเรือนที่ได้รับอนุมัติให้ยืมเงินเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ธนาคารเดียวกับบัญชีเงินฝากของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติ และลงบัญชีคุม (บัญชี 4 เล่ม (โครงการปี 2536-2541) หรือบัญชี 2 เล่ม (โครงการ ปี 2542-2544) )
.
ขั้นตอนที่ 7 ครัวเรือนเบิก/ถอนเงินทุนไปประกอบอาชีพตามโครงการที่ขอยืม
ขั้นตอนที่ 8 ครัวเรือนคืนเงินยืมให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้านเป็นเงินสด ตามสัญญาที่กำหนด โดยให้ใช้คืนภายในระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะอาชีพที่ดำเนินการ
.
ขั้นตอนที่ 9 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน นำเงินที่ครัวเรือนคืนเงินยืมฝากเข้าบัญชีเงินฝากตามโครงการ กข.คจ. ของหมู่บ้าน ภายใน 3 วันทำการ ขั้นตอนที่ 10 คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน แจ้งครัวเรือนยากจนเป้าหมายในบัญชีลำดับต่อไป ให้เสนอโครงการและคำขอยืมเงิน เพื่อยืมเงินในรอบและ/หรือครั้งต่อไป โดยดำเนินการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 5 – 9
.

การยืมเงินและการคืนเงินยืมโครงการ กข.คจ.
1.ผู้มีสิทธิยืมเงิน คือ ครัวเรือนยากจน หมายถึง ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. (ระเบียบฯ ข้อ 4)
2. การยืมเงิน
.
ขั้นตอนการยืมเงินและวิธีปฏิบัติตามระเบียบฯ

ขั้นที่ 1 การเสนอโครงการและคำขอยืมเงิน ให้หัวหน้าครอบครัวหรือผู้แทนซึ่งมีสิทธิขอยืมเงินตามโครงการ ยื่นเอกสารต่อ กม. ดังนี้ (1) คำร้องตามแบบท้ายระเบียบ(คำขอยืม) (2) โครงการหรือกิจกรรมที่ครัวเรือนยากจนจะดำเนินการ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 ข้อ 16
.
ขั้นที่ 2 การอนุมัติโครงการและคำขอยืมเงิน ให้ กม. ปรึกษา คปต. ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารและพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อประกอบในการพิจารณาอนุมัติโครงการและให้เลขานุการ กม. แจ้งผลการพิจารณาโครงการให้อำเภอทราบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 17
.
ขั้นที่ 3 การทำสัญญายืมเงิน ในการทำสัญญายืมเงิน ให้ทำตามที่กำหนดท้ายระเบียบฯ จำนวนอย่างน้อย 3 ชุด โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) มอบให้ครัวเรือนยากจนผู้ยืม จำนวน 1 ชุด (2) กม. เก็บไว้ จำนวน 1 ชุด (3) ส่งให้อำเภอ จำนวน 1 ชุด (ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 21)
.
ขั้นที่ 4 การจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนยากจนผู้ยืมเงิน การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากคณะกรรมการฯ หมู่บ้านตามโครงการ กข.คจ. ให้ กม.เบิกจ่ายเงินในบัญชีดังกล่าว เพื่อจ่ายให้ครัวเรือนยากจนเป็นราย ๆ ตามหลักฐานการอนุมัติโครงการของ กม. - การจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนยากจน ให้จ่ายเป็นเช็ค หรือโอนเข้าบัญชีครัวเรือนยากจน - การออกเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้กรรมการหมู่บ้าน จำนวน 2 คน เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายร่วมกันตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 22
.
การคืนเงินยืม
ขั้นตอนการคืนเงินยืม วิธีปฏิบัติตามระเบียบฯ ที่อ้างอิง
ขั้นที่ 1 การใช้คืนเงินยืมของครัวเรือนยากจน การใช้คืนเงินยืมให้เป็นไปตามแผนการใช้คืนของ กม. โดยในปีแรกให้ใช้คืนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนปีต่อไปให้ใช้คืนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และมีกำหนดระยะเวลาใช้คืนไม่เกิน 5 ปี ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 ข้อ 23
.
ขั้นที่ 2 การนำเงินที่ครัวเรือนยากจนส่งคืนเข้าบัญชีเงินฝากของหมู่บ้าน การเก็บรักษาเงิน ให้กรรมการหมู่บ้าน นำเงินที่ครัวเรือนยากจนส่งใช้คืนเข้าบัญชีเงินฝากคณะกรรมการฯ ตามโครงการ กข.คจ. ที่เปิดไว้ที่ธนาคารฯ ภายในสามวันทำการ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2536 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 ข้อ 25

แก่นความรู้
หากคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ได้บริหารโครงการฯ ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2539 อย่างเคร่งครัด จะไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ต้องเข้าไปพูดคุยกับครัวเรือนเป้าหมายว่ามีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง และเข้าไปพูดคุยสร้างความสนิทสนมทำให้เกิดความเกรงใจและเห็นใจเจ้าหน้าที่ทำให้ครัวเรือนที่มีปัญหาคืนเงินยืมได้

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) บ้านแพรกกระทุ่มศาลา หมู่ที่ 6 ตำบลบางขวัญ ให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2. พัฒนาการอำเภอ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
3. ประสานงานกับปลัดอำเภอผู้ประสานงานตำบล กำนันตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข

4. กำหนดขั้นตอนในการสืบหาความจริง
4.1 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
4.2 เชิญคณะกรรมการ กองทุน กข.คจ. และครัวเรือนยืมเงินมาให้ข้อเท็จจริงแก่คณะกรรมการ
4.3 คณะกรรมการ กข.คจ. สอบข้อเท็จจริง ร่วมกันสรุปผลการสอบข้อเท็จจริง โดยมีการจดบันทึกการประชุมฯ
4.4 ดำเนินการตามความเห็นที่เสนอ
-โดยให้คณะกรรมการฯ ที่นำเงินไปบันทึกการรับสภาพหนี้ และกำหนดให้มีการผ่อนชำระคืนเงินดังกล่าวตามกำหนด
- ผู้ค้างชำระเงินยืม นำ เงินยืมคืนให้แก่คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. กรณีหากยังไม่มีความพร้อมในการชำระคืนเงินยืมทั้งจำนวน ให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินยืม และให้ชำระคืนเงินยืมเป็นรายงวด

4.5 ครัวเรือนเป้าหมายที่ค้างชำระ จำนวน 1 ราย เป็นเงิน 6,000 บาท ในปัจจุบัน ครัวเรือนเป้าหมายที่ค้างชำระได้นำเงินมาชำระคืนให้แก่คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. แล้ว
จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานในบางกิจกรรม หากไม่สามารถดำเนินการหรือแก้ไขปัญหาได้เอง การให้ผู้บังคับบัญชาได้รับรู้ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการค้นหาปัญหาและแก้ไขได้เป็นอย่างดี

วิธีการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ


ชื่อ-สกุล นายชัยพร เพชรโชคชัย
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 089-7547241
ชื่อเรื่อง วิธีการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ

เนื้อเรื่อง
กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชนบทและสนองนโยบายของรัฐบาลในการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชนบทให้ดีขึ้น โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของชุน การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนการพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นตำบลน่าอยู่ ดังนั้น การประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น จึงเป็นวิธีการสำคัญในการกระตุ้นให้องค์กรชุมชนและประชาชนทุกหมู่บ้านในตำบล ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังความสามารถของตนเอง เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชน และเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ และให้กำลังใจแก่บุคคล องค์กร ชุมชน ที่สามรถดำเนินกิจกรรมจนประสบผลสำเร็จ

ปัจจัยที่จะทำให้มีความสำเร็จ ในการจัดการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชน มีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ
1. กิจกรรมที่จะประกวดจะต้องเป็นกิจกรรมที่มีการดำเนิการตามหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้นและประชาชนต้องเป็นผู้ดำเนินการและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จะประกวด
2. คน หมายถึง ผู้นำชุมชน(กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน,กรรมการ,กลุ่ม,องค์กร,ผู้ทรงคุณวุฒิ,ปราชญ์ชาวบ้าน,ผู้นำศาสนา)และประชาชนในหมู่บ้าน/ตำบลนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความเสียสละ,มีความอดทน,มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและเห็นถึงประโยชน์ในการประกวดกิจกรรมนั้น
3. เงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย เป็นค่าอาหาร,ค่าวัสดุ/อุปกรณ์, และอื่นๆ
4. วัสดุ/อุปกรณ์ เช่น ป้ายผ้า,กระดาษทำเอกสาร,เครื่องเสียง ฯลฯ
5. ข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของหมู่บ้าน/ตำบล,ข้อมูลของกิจกรรมที่จะประกวด,ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ( กชช.2 ค.),ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของระดับหมู่บ้าน(จปฐ.) ฯลฯ
6. หลักเกณฑ์การประกวดกิจกรรมฯ เช่น คุณสมบัติของกิจกรรมที่จะประกวด,เงื่อนไขต่างๆ
7. วิชาความรู้ในกิจกรรมที่จะประกวด เช่น จะต้องรู้โครงสร้างบทบาทหน้าที่ของกรรมการ,สมาชิก และวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่จะประกวดเป็นอย่างดี
8. เวลา หมายถึง การจัดสรรเวลาในการเตรียมการประกวด เช่น การจัดทำเอกสาร,การจัดสถานที่,การประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบทั้ง 8 ประการ ที่จะทำให้การประกวดกิจกรรมฯ ประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องมี

วิธีการดำเนินงาน ดังนี้
1. การหาผู้นำและแนวร่วมในการดำเนินการประกวดกิจกรรมฯ โดยการพบปะพูดคุยกับผู้นำชุมชน เช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้าน คหบดี ประชาชนทั่วไป ให้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการจัดการประกวดกิจกรรม โดยใช้วิธีการกระตุ้นความคิด,การสร้างข้อเปรียบเทียบ,ผลดี,ผลเสีย,การยกย่อง,การชมเชย,การพาไปทัศนะศึกษาดูงานกิจกรรมที่ประกวดของหมู่บ้านตำบลอื่น ซึ่งผู้นำและประชาชนที่เห็นด้วยนั่น ก็จะเป็นหัวหน้าและผู้นำในการจัดการประกวดกิจกรรมฯ

2. การจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน/ตำบล เพื่อเผยแพร่ความคิดและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประกวดกิจกรรมฯให้กับประชาชนในหมู่บ้าน/ตำบล ได้ทราบโดยขอมติที่ประชุมเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ

3. การวางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดวัน,เวลา,สถานที่ที่จะดำเนินการประกวด โดยแบ่งขั้นตอนดังนี้
3.1 ขั้นเตรียมการ
3.1.1 แบ่งงาน/แบ่งทีมงาน ได้แก่
- การประชาสัมพันธ์
- การจัดหางบประมาณ(การขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและเอกชน),การรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาและกองทุนต่างๆ /การจัดงานหารายได้
- การประสานงานกับเอกชนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อเชิญร่วมกิจกรรม และสนับสนุนให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณ,วัสดุอุปกรณ์,สถานที่ และวิชาการความรู้เพิ่มเติม
- การจัดทำข้อมูลเอกสาร,การจัดทำป้ายบอกทาง,ป้ายโครงการ,ป้ายประกวดกิจกรรม,ป้ายบอร์ดคณะกรรมการและสมาชิก
- การจัดสถานที่ (จัดโต๊ะ,เก้าอี้,เครื่องเสียง ฯลฯ)
- การต้อนรับ การจัดอาหาร
- การซักซ้อมทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของกรรมการ/สมาชิก/โครงสร้าง,วัตถุประสงค์ ของกิจกรรมที่จะประกวด
- กำหนดตัวพิธีกร,ผู้นำเสนอผลงาน,และซักซ้อมผู้นำเสนอผลงานฯ
3.1.2 การปรับปรุงกิจกรรมให้เป็นไปตามโครงสร้าง วัตถุประสงค์ บทบาทหน้าที่ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ของกิจกรรมที่จะประกวด

3.2 ขั้นดำเนินการประกวดกิจกรรมฯ
3.2.1. ออกหนังสือเชิญผู้มีเกียรติร่วมงาน,หนังสือกล่าวรายงาน
3.2.2. จัดสถานที่ (จัดโต๊ะ,เก้าอี้,ติดป้ายกิจกรรมฯ,จัดดอกไม้ประดับ,ติดตั้งเครื่องเสียง)
3.2.3. การต้อนรับ (การมอบพวงมาลัยดอกไม้) และการจัดอาหาร
3.2.4. การกล่าวรายงานผลงาน,การแนะนำคณะกรรมการ,การตอบข้อซักถาม
3.2.5. การพาเยี่ยมชมกิจกรรมการประกวด
3.2.6. การมอบของที่ระลึกและขอบคุณคณะกรรมการ

3.3 ขั้นหลังการประกวดกิจกรรมฯ
3.3.1. ประชุมจัดเวทีประชาคม,ขอบคุณผู้นำ,กลุ่มองค์กร และประชาชนที่ให้ความร่วมมือ โดยให้การยกย่อง ชมเชยและขอบคุณ
3.3.2 ปรับปรุงและรักษากิจกรรมที่ประกวด ตามคำแนะนำและติชมของกรรมการที่ตัดสินการประกวดให้กลุ่มกิจกรรมที่ประกวดมีความยั่งยืนต่อไป
3.3.3 ออกหนังสือ ขอบคุณหน่วยงาน,บุคคลที่ให้งบประมาณสนับสนุนการประกวดกิจกรรมฯ

จากองค์ประกอบปัจจัยและวิธีการที่จะให้การประกวดกิจกรรมประสบผลสำเร็จนั้น ปัจจัยที่สำคัญคือ คน ถ้าได้ผู้นำและประชาชนที่มีความเสียสละมองเห็นถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม มีใจรักในงานพัฒนาหมู่บ้าน มีความตั้งใจจริงแล้ว จะเป็นตัวผลักดันให้การประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนดำเนินไปตามขั้นตอนวิธีการดำเนินงานการประกวดกิจกรรมประสบผลสำเร็จได้ และในส่วนของปัจจัยเรื่อง เงิน,วัสดุ/อุปกรณ์,ข้อมูลต่างๆ,หลักเกณฑ์การประกวดฯ,วิชาความรู้ในกิจกรรมการประกวด,และเวลาจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่จะทำให้เกิดวิธีการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมจะสำเร็จได้ตามเป้าหมาย

การถ่ายภาพเพื่อทำวีดิทัศน์


ชื่อ-นามสกุล นายสุรเดช วรรณศิริ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง การถ่ายภาพเพื่อทำวีดิทัศน์
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ถ่ายภาพแล้วเสีย ใช้ไม่ได้ หรือภาพไม่พอแก่การนำไปตัดต่อ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2551
สถานที่ หลายพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
ในหนึ่งปี ผมทำวีดีทัศน์หลายเรื่อง ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือ ภาพถ่ายมาแล้วใช้ไม่ค่อยได้ หรือภาพไม่พอใช้ในการตัดต่อ เพราะปัญหาภาพเหวี่ยงไปมา ภาพย้อนแสง พิธีกรไม่มองกล้อง เสียงไม่ชัดเจน ภาพที่ได้มีน้อยเกินไป ทำให้ต้องใช้ภาพซ้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ผมแก้ปัญหาเหล่านี้จากประสบการณ์ของผม โดยเลียนแบบรายการโทรทัศน์ที่ผมสนใจ เช่น รายการกบนอกกะลา หรือปราชญ์เดินดิน เป็นต้น

วิธีการก็คือจะคิดเรื่อง กำหนดกรอบที่จะนำเสนอมาก่อน กำหนดระยะเวลาเมื่อตัดต่อแล้วจะให้เหลือกี่นาที จะต้องหาภาพอะไรมาใส่ให้พอที่จะตัดต่อ เขียนสคริป กำหนดภาพและเสียงที่ต้องการ การนำเสนอให้ตรงประเด็น อย่ายาวมาก เยิ่นเย้อ เดี๋ยวนี้การนำเสนอแต่ละเรื่องนั้น ความยาวประมาณ 5-6 นาที ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นวีดิทัศน์สารคดีอาจมีความยาวมากกว่านั้น อย่างไรก็ตามผมมีความเห็นว่าไม่ควรเกิน 30 นาที

ก่อนไปถ่ายทำดูแลอุปกรณ์ถ่ายทำให้พร้อม เช่น กล้องวีดิโออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ม้วนเทปว่างหรือสามารถอัดทับได้หรือไม่ หรือจะต้องใช้ม้วนใหม่ หรือฮาร์ดไดร์ฟ มีพื้นที่เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอต้องลบหรือนำภาพเก่าออกก่อน แบตเตอรี่ชาร์ทไฟเพียงพอหรือไม่ ขาตั้งกล้องต้องใช้หรือไม่ ถ้าต้องการถ่ายภาพนิ่ง ๆ นาน ๆ อาจต้องใช้ขาตั้งกล้อง ไมค์ดูดเสียงต้องเตรียมให้พร้อม หากไม่มีจะทำอย่างไร สำหรับผมใช้เครื่องบันทึกเสียงแทนไมค์ดูดเสียง รวมความว่าทุกอย่างต้องเช็คให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ

วันถ่ายทำไปแต่เนิ่น ๆ ดูสถานที่ ดูแสง หาทำเลเหมาะ ๆ สวย ๆ เวลาถ่ายทำให้ถ่ายงานหลักก่อน ถ่ายไปตามสคริป ให้มีการซูมใกล้/ไกล/ปานกลาง มีมุมบน/ล่าง แพนซ้าย/ขวา หลาย ๆ มิติ เรื่องของแสงจัดให้เหมาะสม ระวังความมืดหรือสว่างเกินไป อาจทำให้ไม่น่าดูหรือน่ารำคาญ

การสัมภาษณ์ให้ถ่ายยาวไปตั้งแต่เริ่มพูดจนจบ แล้วไปถ่ายภาพ Insert ภายหลัง การถ่ายภาพ Insert ให้ถ่ายสั้น ๆ ครั้งละ 7-8 วินาทีพอแล้ว ถ่ายไปตามเรื่องราวหรือที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พูดถึง การถ่ายภาพผู้ถูกสัมภาษณ์ บางทีต้องเขียนบทให้เขาพูด พยายามให้เขาพูดตามสบาย ถ้าเขาพูดไม่ได้จริง ๆ อาจแอบถ่ายตอนซ้อมก็ได้ ถ่ายหน้าตรงบ้าง ด้านข้างบ้าง สำหรับพิธีกร การพูดอยู่หน้ากล้อง สายตาต้องจับจ้องอยู่ที่เลนส์กล้อง หรือบางคนเรียกว่าตาจิกอยู่ที่กล้อง ไม่เช่นนั้น จะรู้สึกว่าไม่ได้พูดกับคนดู

สุดท้าย ผมขอแนะนำให้ผู้ที่จะจัดทำวีดิทัศน์ลองหลับตาจินตนาการถึงเรื่องที่คุณจะทำ ภายในเวลาที่นำเสนอประมาณ 5-6 นาที มีเรื่องราวอย่างไรบ้าง มีภาพ มีเสียงอย่างไร นั่นแหละ...ไปถ่ายทำมาตามนั้น...

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1. การถ่ายภาพวิดีโอที่ดี
2. การเตรียมความพร้อมก่อนถ่ายทำวิดีโอ

แก่นความรู้ (Core Competency)
1. ยึดหลักการถ่ายภาพที่ดี
2. ต้องมีสคริปทุกครั้ง
3. นำเสนอให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
2. หลักการถ่ายภาพที่ดี
3. คู่มือการถ่ายภาพ และคู่มือการใช้กล้องวีดิโอ

เทคนิคการเข้าถึงประชาชนของพัฒนากรมือใหม่

ชื่อ - สกุล นางรำพา ชนะพลชัย
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 081-7346994
ชื่อเรื่อง เทคนิคการเข้าถึงประชาชนของพัฒนากรมือใหม่
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2532
สถานที่ ตำบลซึ้ง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

เรื่องเล่า
ในปี พ.ศ. 2532 ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งเปลี่ยนสายงานจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ เป็นพัฒนากรครั้งแรก ที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พัฒนาการอำเภอสมัยนั้น คือ หัวหน้า สุรชัย วิชญธรกุล หรือที่พวกเราเรียกกันว่า “พี่แซร์” มอบหมายให้ข้าพเจ้ารับผิดชอบตำบลซึ้ง ซึ่งมีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ จำนวน 10 หมู่บ้าน กำนันตำบลซึ้งสมัยนั้น คือ นายประสาร เขมะสุข ในฐานะพัฒนากรมือใหม่ ข้าพเจ้ามีแต่ความวิตกกังวลว่าจะปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้ไม่ได้ เพราะทราบมาว่า คนที่จะเป็นพัฒนากรนั้นจะต้องพูดเก่งโดยเฉพาะการพูดกับคนหมู่มากในที่ชุมชน และต้องทำงานเข้ากับกำนันผู้ใหญ่บ้านได้

เมื่อทราบว่าจะต้องแนะนำตัว และนำเรื่องราชการไปชี้แจงต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในที่ประชุมสภาตำบล ข้าพเจ้าก็เป็นอันกินไม่ได้ นอนไม่หลับล่วงหน้าไปหลายคืน กลัวว่าจะพูดจากับเขาไม่รู้เรื่อง กลุ้มอกกลุ้มใจเป็นอย่างมาก แต่โชคดีที่มี คุณนพรัตน์ รามางกูร หรือที่คนสนิทเรียกว่า “พี่แดง” ซึ่งเป็นนักวิชาการในสำนักงานพัฒนาชุมชนเขต 2 (สมัยนั้น) “พี่แดง” เป็นครูคนแรกของชีวิตการเป็นพัฒนากรมือใหม่ คอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและพร่ำสอนถึงเทคนิคในการทำงานในชุมชน โดยช่วยร่างแม้กระทั่งคำพูดแนะนำตัว และเรื่องที่จะต้องชี้แจงเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มสตรีทำทุเรียนกวน ซึ่งตำบลซึ้งได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีนั้น ให้ที่ประชุมสภาตำบลทราบ ท่านเชื่อหรือไม่กับคำว่า “สวัสดีค่ะ ดิฉัน รำพา ชนะพลชัย พัฒนากรประจำตำบลซึ้งคนใหม่ “

ข้าพเจ้าฝึกซ้อมยกมือไหว้และซ้อมพูดกับหน้ากระจก อยู่หลายเที่ยว รวมทั้งซ้อมพูดเรื่องที่จะต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ จนจำได้ขึ้นใจ ซึ่งพี่แดงสอนว่า เวลาพูดอักขระต้องชัดเจน น้ำเสียงต้องมีหนักเบา และที่สำคัญอย่าให้เขาจับได้ว่าเราท่องมา ซึ่งในการแนะนำตัวและแจ้งเรื่องราชการต่อที่ประชุมสภาตำบลซึ้งในวันนั้น ประเมินแล้วข้าพเจ้าทำได้ดีพอสมควรไม่ประหม่าเท่าที่ควร แต่เมื่อข้าพเจ้าลงท้ายด้วยคำพูดว่า “ต้องขอความร่วมมือต่อกำนันผู้ใหญ่บ้านในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพสตรีทำทุเรียนกวน “ คำพูดที่กำนันประสารตอบกลับว่า “ ถ้าคิดว่าจะทำโครงการนี้ก็ขอให้พัฒนากรมาลองดูเอาเองก็แล้วกัน” และท่าทีเฉยเมยที่ไม่ให้ความสำคัญต่อพัฒนากรหน้าใหม่และโครงการนี้เท่าไร เท่านั้นแหล่ะ หัวใจของข้าพเจ้าที่พองโตว่าข้าพเจ้าพูดจาได้ดีพอสมควร ก็ฝ่อแฟบลงทันที

เมื่อกลับบ้านพักข้าพเจ้าก็นั่งคิดนอนคิดว่าจะทำอย่างไรให้กำนันตำบลซึ้ง ยอมรับในตัวเราให้ได้ จนในที่สุดก็ตกผลึกความคิดว่า จะต้องไม่รุกเร้าและเร่งที่จะดำเนินการเรื่องโครงการดังกล่าวในขณะนี้ ถ้าเรารุกเดี๋ยวเขาจะถอย เนื่องจากกำนันยังไม่รู้จักมักจี่เรา ผู้นำสตรีตำบลซึ้งซึ่งเป็นแกนนำของกลุ่มเป้าหมาย เราก็รู้จักแต่ชื่อ แต่ยังไม่เคยพบปะและไม่รู้จักบ้านด้วยว่าอยู่ที่ไหน มืดแปดด้านไปหมด ข้าพเจ้าจำได้จากการฝึกอบรมก่อนประจำการว่า จะต้องสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนก่อนอื่นใด แต่ที่ไหนล่ะที่จะมีผู้คนให้ข้าพเจ้าไปผูกมิตรสัมพันธ์ได้ดีเท่าที่วัด

เมื่อคิดได้ดังนั้นข้าพเจ้าก็เริ่มต้นที่ “วัดกงษีไร่ “ ทันที ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านของกำนัน ข้าพเจ้าตรงเข้าไปที่กุฏิของแม่ชีหลังหนึ่ง ไปแนะนำตัวสนทนาอยู่ด้วยเป็นนาน และเมื่อแม่ชีชวนข้าพเจ้าให้ทานข้าวกลางวัน ข้าพเจ้าก็ไม่ยอมละโอกาส และในขณะนั้น เรื่องโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มสตรีทำทุเรียนกวน ยังคงเวียนวนอยู่ในสมองของข้าพเจ้าตลอดเวลา เมื่อสบโอกาสข้าพเจ้าถามแม่ชีว่า ถ้าจะไปพบกับผู้นำกลุ่มสตรีจะไปพบได้ที่ไหน แม่ชีบอกว่า “ก็ที่วัดนี่แหละหนูมาซิ ประธานกลุ่มสตรีตำบลนี้เป็นหลานของแม่ชีเอง ชื่อ “ฮวย” เขาและสมาชิกกลุ่มสตรีจะพากันมาทำบุญที่วัดนี้ทุกวันพระ “ เท่านั้นแหละข้าพเจ้าก็รีบจดบันทึกไว้เลยว่าวันไหนคือวันพระ

และแล้วในวันพระถัดมา ข้าพเจ้าก็ได้พบกับ “ป้าฮวย” ประธานกลุ่มสตรีตำบลซึ้งและสมาชิกกลุ่มสตรีอื่น ๆ อีกมากมายสมใจ และได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับกลุ่มสตรีหลังทำบุญเลี้ยงพระเรียบร้อยแล้ว แต่ยังก่อนข้าพเจ้าตั้งใจแล้วว่าจะไม่ผลีผลามพูดเรื่องงานใด ๆ ทั้งสิ้น ในขณะนี้พบกลุ่มเป้าหมายแล้วอดใจไว้ก่อน สร้างความสัมพันธ์ก่อนค่อยพูดเรื่องงานภายหลัง และพวกเขาก็ดูจะเอ็นดูข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากทราบว่าข้าพเจ้าเป็นขาประจำอาหารกลางวันที่กุฏิของแม่ชี ซึ่งเป็นป้าของประธานกลุ่มสตรีและที่สำคัญ แม่ชีท่านนี้คือ “แม่ยาย”ของกำนันนั่นเอง และในวัดนี้เองข้าพเจ้าได้รู้จัก ภรรยากำนัน ชื่อ “เรณู” ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญคนหนึ่งของกลุ่มสตรีตำบลซึ้ง

ข้าพเจ้าใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ในการใช้รถจักรยานยนต์เข้า-ออกพื้นที่ตำบลซึ้ง แวะไปหาทักทายทำความรู้จักบ้านของกำนัน และผู้ใหญ่บ้านต่าง ๆ จนเข้านอกออกในบ้านกำนันได้อย่างดี เนื่องจากสนิทสนมกับภรรยากำนัน ซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่า “แม่” และทำให้กำนัน พลอยเอ็นดูข้าพเจ้าเหมือนลูกหลานไปด้วย และเรียกตัวเองว่า “พ่อ” ในเวลาต่อมา และที่สำคัญข้าพเจ้าไม่เคยลืมพกกล้องประจำตัว เพื่อถ่ายภาพกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ในตำบล เช่นวันพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งข้าพเจ้าใช้เป็นเทคนิคในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในหมู่บ้านซึ่งได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ข้าพเจ้าเข้าใจดีว่า ใคร ๆ ก็อยากเห็นภาพตัวเองปรากฎอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน

เมื่อคิดว่าสุกงอมดีแล้วข้าพเจ้าก็ลุยเรื่องโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มสตรีทำทุเรียนกวนทันที ซึ่งเป็นภาระหนักอกหนักใจตลอดเวลาด้วยกลัวว่าจะเบิกจ่ายงบประมาณไม่ทัน และเพื่อแสดงความโปร่งใสของการเบิกจ่ายงบประมาณของทางราชการ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงให้ทางตำบลเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เบื้องต้น ตั้งแต่รายการวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการข้าพเจ้าจะให้ทางกลุ่มสตรีเป็นผู้ไปเลือกและตกลงราคากับร้านค้าด้วยกันกับข้าพเจ้า เพื่อแสดงความโปร่งใสในการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งในที่สุดก็สามารถเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายจนได้และโครงการของข้าพเจ้าก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ในเวลาต่อมาไม่ว่าข้าพเจ้าจะขอความร่วมมือในเรื่องใด กำนันผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มสตรี จะช่วยเหลือเป็นกำลังสำคัญให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งผลงานเชิงประจักษ์ที่ยังคงเป็นความภาคภูมิใจของข้าพเจ้าจนถึงปัจจุบัน คือตำบลซึ้งได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนของจังหวัดส่งโครงการสร้างฝายน้ำล้น ซึ่งเป็นโครงการ กสช.(โครงการสร้างงานในชนบท) เข้าประกวดและได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับภาคประจำปี 2533 ได้รับรางวัลเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท ซึ่งทางตำบลซึ้งได้นำไปต่อยอดการพัฒนาโดยทำถนนลูกรังในหมู่บ้าน และในปีนั้นเองส่งผลทำให้พัฒนากรมือใหม่อย่างข้าพเจ้าได้รับการพิจาณาความดีความชอบเลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ขั้น

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อตำบลซึ้งไม่เคยจืดจางไปจากความทรงจำเลย และเหนือสิ่งอื่นใดคำเรียกขานที่กำนันผู้ใหญ่บ้านเรียกข้าพเจ้าว่า “พัฒนา” ข้าพเจ้าคิดว่า ช่างเป็นชื่อเรียกขานที่ไพเราะและข้าพเจ้าภาคภูมิใจมาก เพราะบ่งบอกว่าชาวตำบลซึ้งยอมรับแล้วว่าข้าพเจ้าคือตัวแทนของกรมการพัฒนาชุมชน ของที่ระลึกนาฬิกาตั้งโต๊ะ ที่ข้าพเจ้าได้รับจากชาวตำบลซึ้ง ในคราวย้ายกลับภูมิลำเนาจังหวัดชลบุรี ปัจจุบันข้าพเจ้ายังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และยังคงระลึกถึงอยู่เสมอว่า “ตำบลซึ้ง” แห่งนี้ได้สร้างพัฒนากรมือใหม่ในครั้งนั้นให้มีผลงานและมีความภาคภูมิใจในความเป็น”พัฒนากรประจำตำบล” และเป็นนักพัฒนาชุมชนตัวแทนของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานจนถึงปัจจุบันนี้

ขุมความรุ้
1. การปฏิบัติงานในตำแหน่งพัฒนากรซี่งเป็นตำแหน่งที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และไม่คุ้นเคยทั้งสถานที่ ผู้คนและงานในพื้นที่ ทำให้มีความวิตกกังวลและไม่เชื่อมั่นในตนเองว่าจะปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้ได้
2. การเตรียมความพร้อม โดยศึกษาเรียนรู้และซักซ้อมให้ดีทำให้มีความมั่นใจและสามารถปฏิบัติงานได้เมื่อต้องปฏิบัติงานจริง
3. การหาที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ ทำให้มีแนวปฎิบัติที่ดี ทั้งมีกำลังใจที่จะฝ่าฟันงานให้สำเร็จลุล่วงได้
4. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยเข้าถึงบุคคลและกลุ่มคนเป้าหมายในการทำงาน ทำให้งานบรรลุเป้าหมาย ดีกว่าที่จะไปเร่งรัดเอางานเข้าไปยัดเยียดโดยที่ชุมชนยังไม่ยอมรับในตัวเจ้าหน้าที่
5. การทำงานโดยยึดหลักความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งผลต่อความเชื่อมั่นและไว้วางใจในเจ้าหน้าที่ของรัฐและส่งผลต่อความร่วมมือที่นำไปสู่ความสำเร็จของงาน
6. ความศรัทธาและภาคภูมิใจในหน่วยงาน และบทบาทภาระหน้าที่ของตนเอง ผลงานที่เกิดขึ้น และได้รับการยอมรับจากผู้ที่ร่วมงาน ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพในครั้งต่อๆไป

แก่นความรู้
1. สร้างความมั่นใจ : งานใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ ต้องใฝ่ใจเรียนรู้ให้เกิดทักษะและความชำนาญ
2. สร้างความสัมพันธ์ชุมชน : พื้นที่ใหม่ คนใหม่อย่าใจร้อนเร่งรัดงาน ต้องเร่งสร้างสัมพันธ์กับบุคคลและกลุ่มคนก่อน เรียนรู้คน พิ้นที่ และงานที่จะทำในพื้นที่ ให้ได้ใจจึงจะได้งาน
3. สร้างความไว้วางใจ : การทำงานที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของทางราชการ ต้องยึดมั่นในความสุจริต โปร่งใส และคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายผู้เกี่ยวข้อง และยึดระเบียบแบบแผนของทางราชการ
4. สร้างแรงบันดาลใจ : ความศรัทธาที่มีต่อหน่วยงาน ความภาคภูมิใจต่อตนเองและต่องานที่มุ่งให้เกิดผลต่อประชาชนและองค์กรของตนเองเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้อดทนต่อความยากลำบากของงานและสิ่งแวดล้อมได้

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การทำงานพัฒนาชุมชนไม่ใช่ง่ายอย่างที่คิด

ชื่อ - สกุล นายนันทวุฒิ เนียมสินธุ์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
เบอร์โทรศัพท์ 089 - 8314624
ชื่อเรื่อง การทำงานพัฒนาชุมชนไม่ใช่ง่ายอย่างที่คิด
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ผลกระทบจากการเลือกตั้งที่มีต่องานพัฒนาชุมชน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2552
สถานที่ ตำบลบางตลาด อำเภอคลองเขื่อน
.

เนื้อเรื่อง
ข้าพเจ้าได้มาปฏิบัติหน้าที่ที่อำเภอคลองเขื่อน เมื่อพฤษภาคม 2552 และรับมอบหมายให้ประสานงานตำบลก้อนแก้ว ตำบลบางโรง ตำบลบางตลาดได้ศึกษาพื้นที่ในตำบล ดูศักยภาพของหมู่บ้านต่างๆ รู้จักผู้นำชุมชน ดูข้อมูลกลุ่ม/องค์กร เพื่อการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน และได้หมู่บ้านหนึ่งมีความเข้มแข็งมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งผู้นำ กลุ่ม/องค์กร ข้อมูล สถานที่พร้อม สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนของตำบลได้ การประสานงานและการส่งเสริม สนับสนุนงานในหน้าที่รับผิดชอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
.
ในเดือนกันยายน 2552 มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เริ่มมีการแตกแยกทางความคิด แบ่งฝ่าย และผู้ใหญ่บ้านเสียชีวิตจากการป่วยในเวลาต่อมา ได้เลือกผู้ใหญ่บ้านเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ความแตกแยกทางความคิดจากการเลือกตั้งมีผลกระทบโดยตรงกับงานพัฒนาชุมชนในงานกองทุนหมู่บ้าน องค์กรพัฒนาสตรี กองทุนแม่ของแผ่นดิน และศูนย์เรียนรู้ชุมชน เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกองทุนหมู่บ้าน ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนมีที่ตั้งในบ้านผู้ใหญ่บ้าน องค์กรพัฒนาสตรีมีผู้นำสมัครเป็นสมาชิก อบต. 2 คน
.
ข้าพเจ้าได้ทำความเข้าใจในแนวทางและหลักเกณฑ์การปฏิบัติทั้งกฎ ระเบียบ ศึกษาข้อมูลผู้นำชุมชนในพื้นที่แล้ว ได้ลงไปประสานงานสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านก่อน เพราะจะมีการส่งคืนเงินกู้ ซึ่งคณะกรรมการแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน ได้นำประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วยในการแก้ไขปัญหา ประสานงาน ทำความเข้าใจพูดคุยกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ต้องใช้ความอดทน อดกั้นในการทำงาน จนมีการประชุมคัดเลือกประธานกรรมการฯ คนใหม่ และส่งใช้เงินกู้คืนตามกำหนด
.
การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีปัญหาและอุปสรรคเข้ามีมากมาย ไม่มีแนวทาง ในการคัดเลือกประธานกองทุนแม่ฯ ที่เสียชีวิต มีการแบ่งฝ่าย หาคนทำงานต่อไม่ได้ จึงได้แก้ไขปัญหาด้วยการประสานงานและปรึกษาหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ลงไปทำความเข้าใจพูดคุยกับทุกฝ่ายใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วยในการแก้ไข ปัญหานี้มีประสบการณ์จากกองทุนหมู่บ้านแล้ว ได้แจ้งให้หมู่บ้านทราบถึงแนวทางและหลักเกณฑ์การปฏิบัติ จนประชุมประชาคมหมู่บ้านคัดเลือกคณะกรรมการประสบความสำเร็จ และได้สถานที่ดำเนินกิจกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน ซึ่งใช้เวลาหลายเดือน
.
การดำเนินงานองค์กรพัฒนาสตรี กิจกรรมในหมู่บ้านมีความชัดเจนแล้ว ในการคัดเลือกคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้านที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คงไม่ประสบปัญหาอะไร เพราะได้สร้างความเข้ากับทุกฝ่ายแล้ว และประสบการณ์ที่ผ่านมาจะช่วยในการแก้ไขปัญหาได้
.
การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน จากการแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในหมู่บ้านได้ให้ทำกลุ่ม/องค์กรต่างๆ มีความชัดเจนมากขึ้นการทำงานเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย กลุ่ม/องค์กรมีที่ทำการเป็นของตนเอง ซึ่งอยู่ระหว่างส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน
.
การคำเนินงานพัฒนาชุมชนให้มีผลกระทบน้อยที่สุดการทำให้ทุกฝ่ายพึ่งพอใจ ปัญหาอาจ ยังไม่หมด เราต้องไม่หยุดนิ่งที่จะแก้ไขปัญหาให้หมู่บ้าน ประสานงานกับทุกฝ่ายเพื่อลดความขัดแย้ง ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา ใช้ชุมชนแก้ปัญหาของชุมชนเอง ใช้เวทีประชาคมในการแก้ปัญหา
.
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
-การเลือกตั้งมีผลกระทบกับงานพัฒนาชุมชน
-กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
-ใช้เวทีประชาคมหมู่บ้านในการแก้ปัญหา
.
แก่นความรู้ (Core Competencies)
-รู้ปัญหาที่เกิดขึ้น แสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา
-ปรึกษาหารือกับทุกฝ่ายและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
-ชี้แจงในหลักการ แนวทางปฏิบัติ และกฎระเบียบ
.
กลยุทธในการทำงาน
1. สร้างพลังชุมชน การสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเวทีประประชาคมใน การแก้ไขปัญหา เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนเป็นสุข
2. การประสานงาน การทำงานพัฒนาชุมชนพบปัญหา มีคนไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิบัติที่เราดำเนินการ ต้องยึดแนวทางปฏิบัติและกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้มาปรึกษาหารือกับพัฒนาการอำเภอและเชิญเข้าร่วมประชุมด้วย ต้องประสานงานสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายก่อนเพื่อลดความขัดแย้ง แล้วจัดเวทีประชาคม
.
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- แนวทางการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) - ดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกรมการพัฒนาชุมชน

ทุนสะสมที่ใช้ไม่มีหมด


ชื่อ – นามสกุล นายเกียรติศักดิ์ อรัณยะกานนท์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 08 7030 6080
เรื่อง ทุนสะสมที่ใช้ไม่มีหมด
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานราชการที่ได้รับแต่งตั้งมอบหมาย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
สถานที่ บ้านปากคลองต้นหมัน หมู่ที่ 3 ตำบลคลองบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา
.
เนื้อเรื่อง
สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจในชุมชนถือเป็นปัญหาสำคัญของชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ของทุกชนชั้นไม่ว่าจะเป็นในสังคมเมืองหรือในสังคมชนบท โดยทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535 – พ.ศ.2539) ถึงฉบับที่ 10 ปัจจุบันได้กำหนดจุดมุ่งหมายหลักโดยเน้นให้คนเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งหมายถึงพัฒนาโดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการเพิ่มศักยภาพของคนทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้มีทางเลือกในชีวิตและเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นโยบายกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดจุดมุ่งหมายไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ประชาชน “มีความสุขสมบูรณ์” โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถช่วยตัวเองได้มากขึ้น พร้อมทั้งสามารถปรับตัวให้เข้ากับทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการจะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวเป้าหมายที่สำคัญคือ “การพัฒนาคน” เพื่อดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน ในด้านการดำเนินงานพัฒนาชุมชนทุกยุคทุกสมัย
.
ผู้นำชุมชนในตำบลคลองบ้านโพธิ์ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดตั้ง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลคลองบ้านโพธิ์ขึ้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2538 มีสมาชิกก่อตั้ง 10 คน เงินสัจจะ 1,000 บาท มีคณะกรรมการบริหาร 9 คน ต่อมาได้มีการรณรงค์ให้มีการขยายกิจกรรมกลุ่มรับสมัครสมาชิกเพิ่มขันมี จำนวน 237 คนมีเงินสัจจะสะสมรวม 1,311,510 บาท มีคณะกรรมการบริหารงานจำนวน 5 คณะ รวม 20 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาดขึ้น โดยมีคณะกรรมการบริหารดำเนินงานเป็นรูปแบบการสาธิตการตลาด โดยให้สมาชิกสั่งของตามความจำเป็น ไม่มีอาคารที่ถาวร อาศัยศาลาวัดเป็นที่ดำเนินการ สมาชิกมารับของที่สั่งตามวันเวลานัดหมายการดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย มีการปันผลแก่สมาชิกและกิจการของกลุ่มมีความก้าวหน้าเป็นลำดับเรื่อยมา ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์สาธิตการตลาดที่ถาวรนำสินค้ามาวางขายได้ตามรูปแบบของศูนย์สาธิตการตลาด มีการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ สามารถนำผลกำไรมาบริหารจัดการได้ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการพัฒนาตำบล (คพต.ปี 2540) จำนวนเงิน 443,000 บาท
.
ปี 2542 ดำเนินการก่อสร้างลานค้าชุมชนขึ้นโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการพัฒนาตำบลเพื่อเป็นการขยายบริเวณอาคารศูนย์สาธิตให้กว้างขึ้นและจัดเป็นลานค้าชุมชนจำหน่ายสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกและเกษตรกรในชุมชน ปี พ.ศ.2543 ได้ขยายกิจการโดยการจัดตั้งปั๊มชุมชนจำหน่ายน้ำมันดีเซลและเบนซิน จากบริษัทบางจากมหาชน โดยการระดมหุ้นจากสมาชิก เป็นเงิน 1,008,100 บาท ในปี พ.ศ. 2546 ได้ขยายกิจการเพิ่ม โดยการจำหน่ายสินค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร อาหารกุ้ง อาหารปลา ตามมติที่ประชุมของสมาชิกกลุ่ม จากการดำเนินงานของกลุ่มโดยคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่ทุมเทกำลังกาย กำลังใจจนกิจกรรมนี้สำเร็จตามความมุ่งหวังสามารถพึ่งตนเองได้ มีกิน มีงาน มีการออม เกิดจากการช่วยเหลือซึ่งกันและกันร่วมมือร่วมใจทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมรับผลประโยชน์ ร่วมดูแลรักษา
.
เมื่อปลาย ปี พ.ศ. 2549 กลุ่มได้รับผลกระทบจากการขอลาออกของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ และถอนหุ้นจากการลงทุนในกิจกรรมเครือข่าย เป็นจำนวนมาก เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำ ไม่เอื้ออำนวย และสมาชิกย้ายออกไปทำงานนอกพื้นที่ตำบล การประกอบอาชีพของสมาชิก ในการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาเกิดผลเสียหาย เกิดโรคระบาดในการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา กระทบไปถึง กิจการขายน้ำมัน และอาหารกุ้ง อาหารปลา ตลอดจนสินค้าในศูนย์สาธิตการตลาดก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
.
ในฐานะนักวิชาการพัฒนาชุมชนผู้ปฏิบัติงานในท้องที่ จึงได้เป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการทุกฝ่าย ดำเนินการให้กลุ่มยึดมั่นดำเนินงานตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน จะต้องศึกษากิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกิจกรรมเครือข่ายที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ว่ามีผลสำเร็จเพียงใด มีปัจจัยอะไรที่สนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ และประสบปัญหาอะไรบ้างในการดำเนินงาน มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อจะนำผลการศึกษาที่ได้ไป ปรับใช้หรือปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานแก่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกิจกรรมเครือข่าย ต่อไป โดยเฉพาะกรณีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกิจกรรมเครือข่ายตำบลคลองบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
.
ดำเนินการในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ดังนี้
1. ให้กำลังใจในการปฏิบัติงานกับคณะกรรมการทุกฝ่าย
2. ประชุมสมาชิกกลุ่มชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมแสดงความคิดเห็นในการหาทางแก้ไขปัญหา
3. ประมวลสภาพปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
4. จัดลำดับแนวทางการแก้ไขปัญหา
5. ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหา
.
ขั้นตอนในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
1. ชี้แจ้งทำความเข้าใจกับสมาชิกกลุ่มถึงผลได้ ผลเสีย ให้กำลังใจ ในการรวมกลุ่ม เพื่อให้สมาชิมีความมั่นใจในการบริหารงานของกลุ่มอย่างเป็นระบบ ผลการดำเนินการ ทำให้สมาชิกมีความเชื่อมั่น ในการบริหารงาน
2. ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการขยายอัตราการถือหุ้นของสมาชิกเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการขยายการรับซื้อหุ้นจากสมาชิกที่ขอลาออกไปจากกลุ่ม ผลการดำเนินการ ทำให้สมาชิกมีหุ้นเพิ่มมากขึ้น (ตัวหารน้อยลง)
3. ปรับรายการสั่งซื้อสินค้าภายในศูนย์สาธิตการตลาดให้รองรับกับความต้องการของสมาชิก เพื่อเป็นการลดจำนวนของสินค้าที่สมาชิก ไม่จำเป็นต้องซื้อ และปรับเพิ่ม – ลดสินค้าตามความจำเป็น ผลการดำเนินการ เพิ่มสินค้าอุปโภค บริโภคมากขึ้น และลดจำนวน อาหารกุ้ง อาหารปลาน้อยลง
4. ปรับเปลี่ยนอัตราการจ้าง ของผู้ดำเนินการด้านการขายในศูนย์สาธิต และปั้มน้ำมันให้เหมาะสม เพื่อเป็นการปรับสมดุลของรายรับ – รายจ่าย ในศูนย์สาธิตการตลาด และปั้มน้ำมัน ผู้ทำหน้าที่ขายสินค้าไม่จำเป็นต้องพักค้างภายในอาคารศูนย์ และปั้มน้ำมัน ผลการดำเนินการ สามารถลดรายจ่าย และค่าใช้จ่ายบางส่วนในการดำเนินการได้ตามสภาวะ
5. หยุดจำหน่ายน้ำมันชั่วคราว เพื่อปรับปรุงอาคารปั้ม และปรับเปลี่ยนคนจำหน่ายน้ำมัน เพื่อให้เหมาะสม กับสถานการณ์วิกฤตราคาน้ำมัน ขึ้น – ลงไม่ มีมาตรฐาน และลดค่าใช้จ่าย ผลการดำเนินการ สามารถเปิดจำหน่ายน้ำมัน ได้ในเวลาต่อมาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการขาดทุนจากการปรับลงราคาน้ำมันอย่างลอยตัว
.
ปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตำบลคลองบ้านโพธิ์
สรุปได้ว่า สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตำบลคลองบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความพึงพอใจเป็นส่วนใหญ่ ส่วนปัญหาที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกิดขึ้นส่วนน้อย ได้ชี้แจงทำความเข้าใจและทบทวนหลักการนโยบาย วัตถุประสงค์ของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ให้แก่คณะกรรมการฯ และสมาชิก เพิ่มเติมจนเป็นที่เข้าใจ และพอใจในการดำเนินงานในการบริหารงานที่เป็นไปอย่าง บริสุทธิ์ โปร่งใส ยุติธรรม ของคณะกรรมการทุกฝ่าย ทุกคณะ .
หัวใจของกลุ่มออมทรัพย์ ฯ คือ ความ จริงใจ บริสุทธิ์ โปร่งใส ยุติธรรม ซื่อสัตสุจริต ที่เป็น
* ทุนสะสมที่ใช้ไม่มีหมด *
ขอความสำเร็จนี้จงประสบแก่คณะผู้ดำเนินงานทุกฝ่าย ทุกท่าน ขอให้ความดีนี้ได้จารึกไว้ในชุมชนตลอดไป

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยกับการแก้ไขปัญหาชุมชน


ชื่อ – นามสกุล นายสุรินทร์ เทศกิจ
ตำแหน่ง นักวิชาการการจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์
เบอร์โทรศัพท์ 08-4655-4319
ชื่อเรื่อง ประชาธิปไตย กับ การแก้ไขปัญหาชุมชน
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การถอนเงินสัจจะกองทุนหมู่บ้านฯ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2552
สถานที่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
ในปี พ.ศ.2552 มีสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ได้แจ้งอำเภอฯ ในฐานะเลขาคณะอนุกรรมการสนับสนุน และติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านฯ ว่าคณะกรรมการฯ ดำเนินถอนเงินสัจจะกองทุนหมู่บ้านฯ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ได้มีการประชุมชี้แจงให้กับสมาชิกทราบ และขอให้อำเภอฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ การกระทำดังกล่าว
.
หลังจากที่ได้รับทราบเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากประชาชนในพื้นที่ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ความว่าคณะกรรมการได้ถอนเงินสัจจะกองทุนฯ จริง และอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ มาจากการเมืองท้องถิ่น โดยคณะกรรมการบางคนได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิก อบต. และคณะผู้บริหาร อบต. ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งที่แพ้การเลือกตั้งต้องการใช้ประเด็นข้อร้องเรียนดังกล่าวดำเนินการเพื่อให้เกิดผลทางกฎหมาย และให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งต่างๆ ของ อบต. เมื่อข้าพเจ้าได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว จึงได้ทำการปรึกษาหัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน เพื่อปรึกษา หารือ และกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา หลังจากนั้นได้แจ้งคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทำหนังสือเชิญสมาชิกเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบปัญหา และหาแนวทางการแก้ไข ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้านฯ โดยมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงเริ่มการประชุม
.
ข้าพเจ้า ได้ชี้แจงให้สมาชิกทราบว่า มีสมาชิกกองทุนฯ จำนวนหนึ่งมีข้อสงสัยว่าคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการถอนเงินสัจจะกองทุนฯ ออกไปให้กับกองทุนหมู่บ้านฯอื่นซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกัน ยืมเงินไปใช้จ่ายในการบริหารงานกองทุนฯ โดยไม่ได้ประชุมชี้แจงให้สมาชิกทราบ ขอให้อำเภอฯ ติดตาม ตรวจสอบ ข้าพเจ้าได้เปิดโอกาสให้คณะกรรมการที่มีส่วนรับผิดชอบแต่ละคนชี้แจง เหตุผล และความจำเป็น และให้สมาชิกได้ซัก ถาม ข้อสงสัย สรุปได้ดังนี้
.
1.คณะกรรมการ จำนวน 3 คน ที่มีอำนาจในการลงลายมือชื่อถอนเงินยอมรับกับ ที่ประชุมว่ามีการถอนเงินสัจจะกองทุนหมู่บ้านฯ ออกไปให้กับกองทุนหมู่บ้านฯอื่นซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกัน ยืมไปใช้ในการชำระหนี้ของกองทุนหมู่บ้านฯ จริง โดยไม่ได้ประชุมชี้แจงให้สมาชิกทราบ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 เป็นเงิน 100,300 บาท และได้นำเงินฝากเข้าบัญชีสัจจะออมทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2551 ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน เป็นจำนวนเงิน 101,000 บาท (รวมดอกเบี้ยจำนวน 700 บาท) เมื่อคณะกรรมการได้ชี้แจงเหตุผลในการดำเนินการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมเกิดข้อสงสัย มีการโต้แย้งกับคณะกรรมการในเรื่องการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ และจะให้ดำเนินคดีในทางกฎหมายข้อหายักยอกทรัพย์ กับคณะกรรมการทั้ง 3 คน เหตุการณ์เริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้นฝ่ายที่ไม่พอใจมีอารมณ์รุนแรง กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงคิดหาวิธีเพื่อยุติปัญหา จึงได้เสนอให้ที่ประชุมลงคะแนนเสียงเพื่อหาทางยุติปัญหาดังกล่าว จำนวน 3 ข้อ ดังนี้
.
1. คณะกรรมการฯ ดำเนินการโดยพละการทำให้เกิดความเสียหายกับกองทุนฯ ต้องรับผิดชอบโดยการลาออกทั้งหมด
2. คณะกรรมการฯ ดำเนินการโดยพละการทำให้เกิดความเสียหายกับกองทุนฯ สมควรให้ลาออกเฉพาะกรรมการที่มีอำนาจถอนเงินสัจจะ จำนวน 3 คน
3. คณะกรรมการฯ ยอมรับกับสมาชิกว่าจะปฏิบัติตามระเบียบ และได้บันทึกการประชุมไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะไม่มีการเบิกเงินสัจจะกองทุนฯ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกอีก และหากมีการกระทำเช่นนั้น คณะกรรมการจะต้องลาออกทั้งหมด และเปิดโอกาสให้สมาชิกเพิ่มหัวข้อในการลงคะแนนเสียงเพื่อยุติปัญหาเพิ่มเติม
.
ปรากฎว่าไม่มีผู้เสนอหัวข้อในการพิจารณาเพิ่มเติม จึงให้ที่ประชุมลงคะแนนเพื่อหาข้อสรุปปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจากการลงคะแนนเสียงของสมาชิกปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยตามข้อ (3) คือให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปโดยให้เป็นไปตามระเบียบของกองทุนฯ และให้คณะกรรมการผู้มีอำนาจในการถอนเงินสัญญากับสมาชิกว่า หลังจากนี้ไปจะไม่ดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามระเบียบของกองทุนฯอีก
.
หลังจากการลงคะแนนเสียงเสร็จเรียบร้อย ซึ่งเสียงส่วนเห็นควรให้คณะกรรมการชุดเดิมดำเนินการบริหารกองทุนหมู่บ้านฯ ต่อไป ซึ่งบรรยากาศต่างๆ ก็เริ่มดีขึ้น แต่ละฝ่ายมีกิริยา วาจา ที่นิ่มนวล บรรยากาศแตกต่างจากก่อนที่จะมีการออกเสียงเพื่อหาข้อยุติปัญหาอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทุกฝ่ายต่างก็ยอมรับมติเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุม ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นยุติลง ไม่บานปลายจนเกิดความแตกแยก รุกรามเป็นปัญหาของหมู่บ้านต่อไป
.
การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีเรื่องการเมือง เงิน ผลประโยชน์ เข้ามาเกี่ยวข้อง ย่อมนำมาซึ่งปัญหา การวางตัวเป็นกลาง วิเคราะห์ข้อมูล วางแผนการทำงาน และใช้หลักการประชาธิปไตย ย่อมนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้
.
1.เหตุการณ์ดังกล่าวมีปัจจัยมาจากการเมืองที่ต้องการใช้กฎหมายดำเนินคดีใน
ข้อหายักยอกทรัพย์กับคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิก และผู้บริหาร อบต. เพื่อให้พ้นจากตำแหน่งจะได้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเงินสัจจะที่คณะกรรมการถอนไปให้กับกองทุนอื่น และนำมาฝากเข้าบัญชีสัจจะกองทุนฯ ดำเนินการไม่ถึงหนึ่งเดือน ทำให้เห็นว่าไม่มีเจตนา ที่จะนำเงินไปแสวงหาผลประโยชน์ในทางอื่นๆ และไม่มีเจตนายักยอกทรัพย์
.
2.ก่อนดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ต้องมีการวางแผน ปรึกษา หารือ กับหัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน เพื่อรับทราบปัญหา กำหนดแนวทางในการไขปัญหา และสมมุติฐานเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์จริงที่จะเกิดขึ้น