วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการทำกิจกรรม 5 ส เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

ชื่อ-สกุล นายเจตพัฒน์ กันยะบุตร
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
ชื่อเรื่อง  เทคนิคการทำกิจกรรม 5 ส เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
เบอร์โทรศัพท์ 085-7581229

ความเป็นมา
ด้วยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ที่ข้าพเจ้าสังกัดอยู่ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาด จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อปี 2557 จึงทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสต้องทำ 5 ส เป็นจริงจังโดยเริ่มจากตัวก่อนแล้วจึงค่อยทำในส่วนสำนักงาน เดิมทีโต๊ะทำงานขอข้าพเจ้าค่อนข้างจะรกเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ก็หายากเนื่องจัดเก็บ    ไม่เป็นสัดส่วนและไม่เป็นระบบ จนบางครั้งก็หาไม่เจอเลยก็มี จึงเป็นโอกาสที่ดีในการบริหารการจัดการระบบการทำงานของตนเอง เพื่อให้การจัดเก็บเอกสาร พร้อมรวมไปถึงการสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น


ความหมาย5 

คืออะไร 5ส เป็นการนำ อักษรตัวหน้าของคำภาษาอังกฤษที่เขียนตามการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมาใช้เพื่อ ให้สามารถจดจำได้ง่ายจึงกลายมาเป็น คำว่า 5ส ตามลำดับดังนี้

ลักษณะนิสัยและความเป็น ระเบียบ วินัย สิ่งของในที่ทำงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ทำให้การทำงาน มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
S1 : SEIRI : สะสาง : ส1 (Clearing Up)
S2 : SEITON : สะดวก : ส2 (Organizing)
S3 : SEISO : สะอาด : ส3 (Cleaning)
S4 : SEIKETSU : สร้างมาตรฐาน : ส4 (Standardizing)
S5 : SHITSUKE : สร้างนิสัย : ส 5 Training & Discipline)

วัตถุประสงค์ของ 5
5 ส. เป็นปัจจัยพื้นฐานในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้ ส1 ,2 ,3 เป็นการจัดการในเรื่องของวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ และสถานที่ ส่วน ส4 และ ส5 เป็นการจัดการเรื่องของคน โดยมีเป้าหมายให้สถานที่ทำงานสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ลดความสูญเปล่าในการทำงาน สินค้ามีคุณภาพดี เป็นที่ประทับใจของผู้นำชุมชนและประชาชนผู้มาติดต่องาน

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
  1. ศึกษาแนวทางการดำเนินงานกิจกรรม 5 ส
  2. ค้นหาหลักการ 5 ส
  3. มีการวางแผนปฏิบัติการ 5 ส
  4. ปฏิบัติการตามแผนที่กำหนดไว้
  5. ประเมินผล-พร้อมปรับปรุงให้ดีขึ้นเสมอ 
เทคนิคโดยยึดองค์ประกอบของ 5 ส เป็นหลัก ดังนี้
1 : สะสาง คือการแยกของที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็นและขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไปโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 3 ขั้นตอนประกอบด้วย
1.สำรวจเอกสาร อุปกรณ์สำนักงาน
2.แยกเอกสาร สิ่งของให้เป็นหมวดหมู่
3.ขจัดเอกสารที่ไม่ใช้แล้ว และทำความสะอาดอุปกรณ์สิ่งที่สกปรก
          ส2 : สะดวก คือการจัดวางหรือจัดเก็บสิ่งของต่างๆในสถานที่ทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อความ สะดวกปลอดภัยและคงไว้ซึ่งคุณภาพประสิทธิภาพในการทำงานโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย
1.กำหนดของที่จำเป็น โดยการแยกเข้าแฟ้มแล้วเขียนกำกับว่าเป็นเรื่องไร
2.แบ่งหมวดหมู่ แยกประเภทของงาน ใส่แฟ้มให้เป็นปัจจุบัน
3.จัดเก็บให้เป็นระบบมีระเบียบ
                        4.บ่อยอยู่ใกล้นานๆใช้อยู่ไกล คือ อุปกรณ์ที่ใช้บ่อยให้อยู่ใกล้สะดวกในการหยิบ เช่น ปากกา ที่เย็บกระดาษ ส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยได้ใช้เก็บไว้ไกลมือหรือในตู้หรือชั้นเอกสาร เช่น คู่มืองาน หนังสือ
          ส3 : สะอาด คือการทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สถานที่และใช้ เป็นการตรวจสอบและบำรุงรักษาไปด้วยโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย
             1. กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ และทำความสะอาดเป็นประจำ
             2. ขจัดต้นเหตุของความสกปรก
             3. ทำความสะอาดแม้แต่จุดเล็กๆ สม่ำเสมอ
                   4. ปัด กวาด เช็ด ถู พื้นให้สะอาด ทุกวันทำงาน
4 : สร้างมาตรฐาน คือการรักษามาตรฐานของความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้คงอยู่ตลอดไป
             1. ไม่มีสิ่งของไม่จำเป็นอยู่ในพื้นที่ เก็บเฉพาะเอกสารที่สำคัญ ส่วนเอกสารที่ต้องใช้เก็บ   เข้าแฟ้ม และจดบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์
             2. ไม่มีสภาพรกรุงรัง
             3. ไม่มีสิ่งสกปรกตกค้าง
5 : สร้างนิสัย คือการสร้างนิสัยในการมีจิตสำนึก ทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานตามระเบียบและข้อบังคับอย่างเคร่งครัด และปรับปรุงสถานที่ทำงาน
             1. วัดประสิทธิผลการทำ 5
             2. เปรียบเทียบภาพก่อนทำ-หลังทำ 5
             3.  มีการสำรวจความพึงพอใจ สภาพแวดล้อม โต๊ะทำงานจากผู้มาติดต่อราชการ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข

แก่นความรู้/กลยุทธ์ในการทำงาน (Core Competency)
  1. มีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ของสำนักงานและส่วนของตนเอง ในกิจกรรม 5 ส ที่จะดำเนินการ 
  2. กำหนดกรอบ/แนวทาง/วางแผน ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา โดยหาข้อยุติร่วมกันว่าเราจะทำอะไรบ้าง และทำอย่างไร ในกิจกรรม 5 ส 
  3. ดำเนินการตามมาตรการ/แผนปฏิบัติการ อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
  4. การปฏิบัติกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันจนเสริมสร้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น