วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม

ชื่อ -  นามสกุล  นายนภดล    มโนอิ่ม
ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ชำนาญงาน
สังกัด   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม)
สถานที่ บ้านคลองบ้านใหม่  หมู่ที่  13  ตำบลโพรงอากาศ  อำเภอบางน้ำเปรี้ยว  จังหวัดฉะเชิงเทรา

ตามที่รัฐบาลได้น้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับภาคีการพัฒนา อื่นๆ ทั้งที่เป็นองค์กรภาครัฐ และภาคประชาชน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน (พัฒนากร) ผู้รับผิดชอบประสานงานตำบล เป็นผู้ทำหน้าที่ประสานการขับเคลื่อนระดับตำบล/หมู่บ้านให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางที่กำหนด

ในปี พ.ศ. 2558 บ้านคลองบ้านใหม่  หมู่ที่ 13  ตำบลโพรงอากาศ ได้รับงบประมาณโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตามงบประมาณโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประชาชนในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ในการติดตามประเมินผลหลังจากพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยวดำเนินการขับเคลื่อนหมู่บ้านตามโครงการฯ พบว่า  บ้านคลองบ้านใหม่ หมู่ที่  13  ตำบลโพรงอากาศ          ได้นำวิถีชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในทุกระดับทั้งในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน  และระดับชุมชน ด้วยการยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้เงื่อนไขความรู้ ควบคู่คุณธรรม

โดยในระดับบุคคลได้ดำเนินกิจกรรม การปรับเปลี่ยนแนวคิดทัศนคติ  ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในการดำรงค์ชีวิต การปลูกจิตสำนึกตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    การเรียนรู้ตนเอง จัดทำแผนชีวิตเพื่อการพัฒนาตนเอง  การจัดทำบัญชีครัวเรือน และการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการออมโดยให้ความร่วมมือโครงการออมเพื่อพ่อหลวง  

ส่วนระดับครัวเรือนมีกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ของครัวเรือน เช่น การปลูกมะนาวในบ่อปลอกซิเมนต์เพื่อบังคับให้ได้ผลผลิตในช่วงมะนาวในท้องตลาดมีราคาแพง การทำน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้ในครัวเรือน  การปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองและรวมกลุ่มกันไปขายที่ตลาดนัดหน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นตลาดที่ได้รับการรับรองจากจังหวัดว่าปลอดภัยปลอดสารพิษ การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน การตรวจสอบการใช้จ่ายประจำวัน และลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะกับอบายมุขจากบัญชีครัวเรือน กิจกรรมการเรียนรู้ การทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานการอาชีพที่ทำประจำวัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครัวเรือนที่มีกิจกรรม อาชีพคล้ายกัน  เพื่อพัฒนา  ภูมิปัญญาและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นมา ค่านิยม ธรรมเนียมของชุมชน กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาด เรียบร้อย สวยงาม ป้องกันการเกิดโรคระบาด การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับเพิ่มความสวยงามหรือการปลูกพืชผักสวนครัวและในปัจจุบันบ้านคลองบ้านใหม่  ได้มีการรวมกลุ่มการปลูกมะนาว เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้คนในชุมชนและส่วนหนึ่งเอาไว้ใช้การพัฒนาหมู่บ้านอีกทางหนึ่งด้วย

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assests)
          1.ความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของบุคคลในชุมชน มีผลในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
          2.การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากระดับบุคคล สู่ครัวเรือน และชุมชน เป็นลักษณะของการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นและต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
          3.ความสำเร็จของการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยปัจจัยทั้งภายในชุมชน เช่น ตัวของคนในชุมชนเอง ผู้นำชุมชน ทรัพยากรภายในชุมชน และปัจจัยภายนอกชุมชน เช่น การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แก่นความรู้ (Core Competencies)
          1.การประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ
          2.การลงมือปฏิบัติจริงให้เห็นผล

กลยุทธ์ในการทำงาน
          1. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
          2. จัดเก็บข้อมูลเอกสารอย่างเป็นระบบและปัจจุบัน
          3. ประสานการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
          4. ติดตาม/ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
          1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          2.ตัวชี้วัด 6x2 ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
          3.แบบประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด
          4.หลักการพัฒนาชุมชน
          5. ภาวะผู้นำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น