ชื่อ -
นามสกุล นางสาวอัญชลี สุขถาวร
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เนื้อเรื่อง
การแก้ไขปัญหาความยากจน
เป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน เนื่องจากครัวเรือนแต่ละครัวเรือน มีสาเหตุไม่เหมือนกัน
ไม่สามารถแก้ไขด้วยนโยบาย หรือกิจกรรมด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ
และต้องใช้เวลาพอสมควรในการแก้ไข ที่สำคัญการแก้ไขปัญหาความยากจน
ต้องแก้ไขเป็นรายครัวเรือน ดังนั้น การดำเนินงานต้องทุ่มเททรัพยากร
และความเสียสละของผู้มีส่วนร่วม และชุมชน โดยอาศัยความตั้งใจของครัวเรือนยากจน
ความเอื้ออารีของชุมชนที่ครัวเรือนยากจนอยู่อาศัย
และการบูรณาการภารกิจของส่วนราชการความยากจนในอำเภอบ้านตาก
ส่วนใหญ่มีสาเหตุหลายอย่าง เช่น ครอบครัวมีลูกมาก หรือมีคนพิการ หรือมีคนเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายในครอบครัว
หรือไม่มีคนในวัยแรงงาน หรือมีผู้หาเลี้ยงครอบครัวรายเดียว หรือการเป็นหนี้นอกระบบ
บันทึกขุมความรู้
มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร
ใช้กระบวนการ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.กระบวนการชี้เป้าชีวิต
2.กระบวนการจัดทำเข็มทิศชีวิต
3.กระบวนการบริหารจัดการชีวิต
4.กระบวนการดูแลชีวิต
เทคนิคการทำงาน
ปัญหาความยากจนมีหลายสาเหตุ
ต้องแก้ไขเป็นรายครัวเรือน การบูรณาการทั้งจากหลายภาคส่วนราชการในอำเภอ ผู้นำชุมชน
ผู้นำท้องถิ่น หรือจากผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนเอง
และต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยเชิญประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชนและองค์กรภาคเอกชนต่างๆ
เข้าร่วมเวทีระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา บูรณาการแผนงานและงบประมาณ
บูรณการโครงการร่วมกัน
กลยุทธ์ในการทำงานอย่างไร
กลยุทธ์ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ใช้หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมของภาคี ซึ่งประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาคราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการนั้น มีเทคนิคสำคัญใน
การดำเนินงานคือ เทคนิคการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพราะในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ
ใช้หลักการ มีส่วนร่วมของภาคี ซึ่งประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาคราชการ องค์กรปกกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ โดยอาศัยคำสั่ง ศจพ. ระดับอำเภอ เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการทำงาน
ซึ่งคำสั่งดังกล่าว มีองค์ประกอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้สามารถบูรณาการงบประมาณ
โครงการ/กิจกรรม เพื่อให้สามารถสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจนได้ การใช้เทคนิค “หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม” ส่งผลให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี มีการแบ่งการทำงานออกเป็นทีม
สอนครัวเรือนยากจนบันทึกบัญชีรายรับ/รายจ่ายและจัดทำสมุดบัญชีรายได้รายจ่ายแจกให้กับครัวเรือนยากจนด้วย
สรุปบทเรียน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ในการแก้ไขปัญหาความยากจน อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ยึดหลักในการดำเนินงานโดยอาศัยปัจจัย ดังนี้
1. ดำเนินงานแบบบูรณาการ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาความยากจน
2. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ผู้นำ หรือองค์กรของชุมชนเอง
3. การส่งเสริมความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนเป้าหมายอย่างจริงจัง
4. การติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ
5. การส่งเสริมให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย
จัดทำบัญชีรับ –จ่ายครัวเรือน
6. ส่งเสริมให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย
ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
บทเรียนที่ดี
ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน ข้าพเจ้าได้รับบทเรียนที่ดีในการดำเนินงาน คือ
1.
ครัวเรือนยากจนทุกครัวเรือน
มีความต้องการที่จะหลุดพ้นจากขีดความยากจน หากแต่บางครั้ง ติดที่ศักยภาพ คือบางครัวเรือนที่มีศักยภาพพร้อมที่จะเข้าสู่การพัฒนา
ก็จะไม่รอช้าที่จะเข้าสู่การพัฒนาเพื่อให้หลุดพ้นจากขีดความยากจน เว้นแต่บางครัวเรือนที่ขาดศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของศักยภาพทางด้านร่างกาย
แต่เขาเหล่านั้นก็มีความต้องการเหมือนกันคือ “อยากหลุดพ้นจาก ขีดความยากจน”
2.
ความร่วมมือในการทำงาน/ช่วยเหลือ/สนับสนุน/ติดต่อประสานงานของพัฒนากร
ทีมปฏิบัติการตำบล/หมู่บ้าน และการบูรณาการความช่วยเหลือจากหน่วยงานในพื้นที่
ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายด้วยดี
มีใจให้กับการทำงานกับโครงการนี้ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจะทำให้ครัวเรือนยากจนมีรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้งให้แก้ไขปัญหาแต่เพียงผู้เดียว เพราะยังมีส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แกนนำในหมู่บ้านคอยให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ปัญหา
อุปสรรค
ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย
ไม่มีความรู้ ขาดประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ขาดเงินทุน/เงินงบประมาณในการให้การสนับสนุนครัวเรือนยากจนในการประกอบอาชีพ
ขาดการสนับสนุนในด้านวิชาการ และงบประมาณจากส่วนราชการต่าง ๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชนขาดความต่อเนื่องทำให้การสนับสนุนเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง ซึ่งครัวเรือนยากจนเป้าหมาย
เป็นครัวเรือนที่ไม่มีศักยภาพ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
ซึ่งทางออกคือการเข้าสู่กระบวนการสงเคราะห์จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น
ๆ ที่ให้การสนับสนุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น