วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนอำเภอให้มีประสิทธิภาพ

ชื่อ นางวินิจ  บัวเจริญ
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบางน้ำเปรี้ยว 
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เรื่อง   การขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนอำเภอให้มีประสิทธิภาพ

1.ที่มาขององค์ความรู้
                 กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชน มีภารกิจหลักในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้  สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน  โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่เรียกว่าพัฒนากร ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล ใช้กิจกรรมงานพัฒนาชุมชน เป็นเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ของผู้นำ องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ ผลจากการพัฒนาที่ผ่านมา ทำให้ได้ผู้นำชุมชนที่มีศักยภาพ กลุ่ม องค์กรที่เข้มแข็ง  เครือข่ายองค์กรชุมชนมีประสิทธิภาพและชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ 
                   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เป็นหน่วยงานสังกัดกรมการพัฒนาชุมชนที่ปฏิบัติงาน
ในพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้แก่ พัฒนากร รับผิดชอบกิจกรรมงานพัฒนาชุมชนในแต่ละตำบล รับผิดชอบตั้งแต่ 1 ตำบลขึ้นไป แต่ละอำเภอมีจำนวนบุคลากรไม่เท่ากัน ตามขนาดของอำเภอ และมีพัฒนาการอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาในระดับอำเภอ หรือหัวหน้าทีม หรือผู้นำทีม  ทำหน้าที่บริหารจัดการ วางแผน กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา สอนแนะงาน และมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ประกอบกับข้อจำกัดในการทำงานที่แตกต่างกัน  เช่น จำนวนบุคลากร ทักษะประสบการณ์ปริมาณงานตามภารกิจและงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษมีจำนวนมาก งบประมาณที่จำกัด กิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นผลสำเร็จในงานพัฒนาชุมชน จึงขึ้นอยู่กับการบริหารงานของพัฒนาการอำเภอ ในการสร้างความสัมพันธ์ภายนอกและภายในองค์กร สร้างขวัญ กำลังใจให้บุคลากร หาวิธีการหรือรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมตามหลักวิชาการและประยุกต์ใช้ตามสภาพพื้นที่ สามารถขับเคลื่อนการทำงานให้ราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์

2.เนื้อหาองค์ความรู้
                จากแนวความคิดในงานพัฒนาชุมชน ได้แก่ การมีส่วนร่วม  การทำงานเป็นทีม  การบริหารจัดการ  การบูรณาการ การพัฒนาบุคลากร การสอนแนะงาน การสร้างขวัญ กำลังใจ แรงจูงใจในการทำงาน การกำกับดูแลองค์การที่ดี จึงได้ใช้แนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมงานพัฒนาชุมชนอำเภอให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนี้
                   2.1 ทีมงานภายในหน่วยงาน
                     ทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับนโยบายจากกรมการพัฒนาชุมชนนำไปสู่การปฏิบัติ จึงดำเนินการพัฒนาทีมงานภายในหน่วยงาน ดังนี้
                   2.1.1 สร้างทัศนคติเชิงบวกแก่เจ้าหน้าที่ในการทำงานเพื่อให้บริการที่ดีแก่ประชาชนพัฒนาการอำเภอต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ในการครองตน ครองคน และครองงาน ยึดหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงาน สอนแนะงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ 
                   2.1.2 สนับสนุนทีมงานพัฒนาตนเองโดยใช้ระบบ มชช. และเพิ่มพูนความรู้อยู่เสมอทั้งโดยทางตรงได้แก่ศึกษาในขั้นปริญญาโท และศึกษาจากระบบทางไกล
                   2.1.3 ให้ความสำคัญและนำค่านิยมหลักขององค์การ ABC DEF S&P มาใช้พัฒนาบุคลากร เช่น การยอมรับนับถือ ชื่นชม ยกย่อง สร้างขวัญ กำลังใจ แรงจูงใจในการทำงาน สร้างความรักความผูกพัน ความสามัคคีในหน่วยงาน
                   2.1.4 สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ทีมงานก่อนการทำงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดยออกคำสั่งแต่งตั้งมอบหมายงาน
                   2.1.5 จัดให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นทีมในบางกรณี เช่น งานเร่งด่วน ปริมาณงานมาก รับผิดทีมละหลายตำบล โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทีมงาน ร่วม
วางแผนปฏิบัติการ เน้นให้พัฒนากรสามารถทำงานแทนกันได้ โดยพัฒนาการอำเภอต้องติดตามผลการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาเป็นระยะๆ
                   2.1.6 สรุปผลการดำเนินงาน และประชาสัมพันธ์ผลงานให้ผู้บังคับบัญชา ภาคีการพัฒนา และบุคคลทั่วไปได้รับทราบ
               2.2 ทีมงานภายนอกหน่วยงาน
                    การขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน จำเป็นต้องมีภาคีการพัฒนา หน่วยงานข้างเคียง ผู้นำชุมชนองค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยการขับเคลื่อนงานจึงจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ สำหรับทีมงานภายนอกหน่วยงานได้ดำเนินการ ดังนี้
               2.2.1 บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน เช่น เกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน  (MOU)
                   2.2.2 แต่งตั้งทีมงานที่เป็นทางการจากส่วนราชการระดับอำเภอและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม โดยจัดประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน พร้อมวางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน
                   2.2.3 ให้ความสำคัญและร่วมมือกับทีมงานส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีประสานความร่วมมือ เช่น เชิญเป็นวิทยากร เข้ารับการอบรม เข้าร่วมประชุม ร่วมกิจกรรมของหน่วยงานอื่น
                   2.2.4 ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน อย่างต่อเนื่อง โดยจัดประชุมอย่างสม่ำเสมอและกำหนดแผนการดำเนินงาน การติดตาม ประเมินผลร่วมกัน  

3.บันทึกขุมความรู้       
3.1 ใช้ความรู้ทางวิชาการ รวมกับประสบการณ์ และสภาพพื้นที่ในการบริหารงาน
ประยุกต์และยืดหยุ่นตามสถานการณ์ 
             3.2 การบริหารงานองค์กรต้องยึดหลักคุณธรรม หลักธรรมาธิบาล กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เป็นหลักในการบริหารงาน
            3.3.ผู้บริหารองค์กร หรือผู้นำทีมต้องเป็นแบบอย่างที่ดี มีความเสียสละ ละเอียด รอบคอบ รู้จักเมตตา กรุณา อดทน อดกลั้น การให้อภัย  ตามหลักพรหมวิหาร 4 และค่านิยมองค์กร

4.แก่นความรู้
            4.1 รูปแบบการทำงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอที่มีประสิทธิภาพ
            4.2 การสร้างขวัญ กำลังใจ แรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้แสดงศักยภาพในการทำงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ
            4.3. การสนับสนุนให้ผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และภาคีการพัฒนามีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็งมากขึ้น

5.กลยุทธ์ในการทำงาน
            5.1 จัดประชุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เพื่อแจ้งแนวทางและวางแผนการทำงาน และองค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อทราบผลการดำเนินงานและวางแผนการทำงานโดยเน้นการมีส่วนร่วม
           5.2 ประสานการดำเนินงาน โดยใช้บทบาทหน้าที่ในตำแหน่งพัฒนาการอำเภอ และส่วนตัวสร้างความคุ้นเคย เป็นกันเองกับภาคีการพัฒนา และองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน
           5.3 ติดตามประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำแผนร่วมกับทีมงาน

6.กฏระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

                 การบริหารจัดการ การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบูรณาการ การพัฒนาบุคลากร การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน การกำกับดูแลองค์การที่ดี หลักธรรมทางศาสนา ภาวะผู้นำ หลักธรรมาภิบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น