วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐาน OTOP Quadrant D

ชื่อ- นามสกุล นางศิริกาญจน์    แดงงาม
ตำแหน่ง        นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด            สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้        0944784797
ชื่อเรื่อง        การพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐาน  OTOP Quadrant  D    

อำเภอแปลงยาว มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่อยู่ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา จำนวน  10 ราย โดยแยกเป็นประเภทผลิตภัณฑ์ได้ 3 ประเภท คือ ประเภทอาหาร 5 ราย ประเภทของใช้ 2 ราย  และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร  3 ราย  โดยทั้ง 10 ราย ได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านการผลิต โดยได้มีการกำหนดให้มีการพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จำนวน 6 หลักเกณฑ์ ซึ่งแต่ละรายต้องผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์ อย่างน้อย 3 ใน 6 หลักเกณฑ์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP โดยยึดหลัก 4P ประกอบด้วย
1. Product คือ การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย
2. Price คือ ราคา เป็นตัวบ่งบอกภาพลักษณ์ของสินค้าที่สำคัญที่สุด
3. Place คือ ช่องทางการจำหน่าย วิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า
4. Promotion คือ ส่งเสริมการจำหน่าย  การส่งเสริมการจำหน่ายหรือการส่งเสริมการขายมีบทบาทสำคัญที่ช่วยเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม OTOP ในกลุ่มประเภท D ของอำเภอแปลงยาว  ดำเนินกิจกรรมภายใต้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการใช้หลัก 4 P และเกณฑ์การพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 3 ใน 6 ของหลักเกณฑ์ ซึ่งขอยกตัวอย่างการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ของนางสมปอง นะราแก้ว       ผู้ผลิตสับปะรดกวน ดังนี้

กลุ่มประเภทอาหาร ของนางสมปอง  นะราแก้ว   มีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียน OTOP   เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ (Product) ได้แก่ สับปะรดกวน   จัดอยู่กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภท D ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา

สถานการณ์ปัจจุบันของผู้ผลิต   ในด้านผลิตภัณฑ์ ยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านของ อย. และมผช. เนื่องจากขาดงบประมาณในการปรับปรุงโรงเรือน  แต่ในแผนการพัฒนาของผู้ผลิต ได้มีการกำหนดให้มีการดำเนินการด้านการขอมาตรฐาน อย. และผู้ผลิตได้มีการเข้าร่วมประชุม อบรม เพื่อรับความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกือบทุกด้านของผลิตภัณฑ์   ในปัจจุบันได้มีการเชิญสาธารณสุขอำเภอเข้าตรวจสอบพื้นที่เพื่อวางแผนการปรับปรุงโรงเรือนเพื่อยื่นขอมาตรฐาน อย. จนได้รับใบรับรองมาตรฐาน อย. จากสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จุดเด่นคือ   มีความตั้งใจในการดำเนินกิจกรรม ต้องการพัฒนากลุ่มให้เป็นกลุ่ม OTOP ที่มีศักยภาพเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆ  และเป็นแหล่งพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

ส่วนอีก 9 ราย  ก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่นกัน โดยส่วนใหญ่ จะเน้นในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น ชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์ (Product)  เพื่อเพิ่มยอดการจำหน่ายสินค้า (Price) ในราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ และสร้างคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในตลาด ตรงกับความต้องการของลูกค้า มีมาตรฐานสร้างความเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์


สรุป ในฐานะเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบงาน OTOP ของอำเภอแปลงยาว  เชื่อว่าในกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP  จำนวน 10 ราย ของอำเภอแปลงยาว  ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D)    ที่ได้รับประมาณสนับสนุนจากทั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และจากหน่วยงานในอำเภอแปลงยาว ต่างๆ ที่ร่วมกันสนับสนุนและพัฒนากลุ่ม จะสามารถพัฒนากลุ่มของตนเองให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ หรือผ่านหลักเกณฑ์การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย จำนวน 3 ใน 6 ตามตัวชี้วัดกิจกรรมของกรมการพัฒนาชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้หลัก 4P ร่วมด้วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้           ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น