ชื่อ
- นามสกุล นางวาสนา กุลละวณิชย์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม)
สถานที่ บ้านคลอง 17
หมู่ที่ 9 ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ตามที่รัฐบาลได้น้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มาเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับภาคีการพัฒนา อื่นๆ
ทั้งที่เป็นองค์กรภาครัฐ และภาคประชาชน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน (พัฒนากร)
ผู้รับผิดชอบประสานงานตำบล
เป็นผู้ทำหน้าที่ประสานการขับเคลื่อนระดับตำบล/หมู่บ้านให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางที่กำหนด
ในปี
พ.ศ. 2558 บ้านคลอง 17 หมู่ที่ 9 ตำบลดอนฉิมพลี ได้รับงบประมาณโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ตามงบประมาณโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประชาชนในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ในการติดตามประเมินผลหลังจากพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยวดำเนินการขับเคลื่อนหมู่บ้านตามโครงการฯ
พบว่า บ้านคลอง 17 หมู่ที่
9 ตำบลดอนฉิมพลี ได้นำวิถีชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในทุกระดับทั้งในระดับบุคคล
ระดับครัวเรือน และระดับชุมชน ด้วยการยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ภายใต้เงื่อนไขความรู้ ควบคู่คุณธรรม
โดยในระดับบุคคลได้ดำเนินกิจกรรม
การปรับเปลี่ยนแนวคิดทัศนคติ
ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในการดำรงชีวิต
การปลูกจิตสำนึกตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การเรียนรู้ตนเอง จัดทำแผนชีวิตเพื่อการพัฒนาตนเอง การจัดทำบัญชีครัวเรือน
และการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการออม ส่วนระดับครัวเรือนมีกิจกรรมลดรายจ่าย
เพิ่มรายได้ ของครัวเรือน เช่น การปลูกมะนาว
การทำน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้ในครัวเรือน การปลูกพืชผักสวนครัว
การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน การตรวจสอบการใช้จ่ายประจำวัน
และลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะกับอบายมุขจากบัญชีครัวเรือน
กิจกรรมการเรียนรู้ การทบทวนและเพิ่มพูนความรู้
ความเชี่ยวชาญในงานการอาชีพที่ทำประจำวัน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครัวเรือนที่มีกิจกรรม อาชีพคล้ายกัน เพื่อพัฒนา ภูมิปัญญาและเพิ่มประสิทธิภาพ
รวมถึงการเรียนรู้ปรัชญา
ความเป็นมา ค่านิยม ธรรมเนียมของชุมชน
กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาด
เรียบร้อย สวยงาม ป้องกันการเกิดโรคระบาด การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับเพิ่มความสวยงามหรือการปลูกพืชผักสวนครัวและในปัจจุบันบ้านคลอง 17 ได้มีการรวมกลุ่มการปลูกมะนาว
เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย
บันทึกขุมความรู้
(Knowledge
Assests)
1. ความรู้ ความเข้าใจ
และทัศนคติของบุคคลในชุมชน มีผลในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากระดับบุคคล สู่ครัวเรือน
และชุมชน เป็นลักษณะของการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นและต่อเนื่อง
ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.
ความสำเร็จของการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยปัจจัยทั้งภายในชุมชน
เช่น ตัวของคนในชุมชนเอง ผู้นำชุมชน
ทรัพยากรภายในชุมชน และปัจจัยภายนอกชุมชน เช่น
การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แก่นความรู้
(Core
Competencies)
1.การประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ
2.การลงมือปฏิบัติจริงให้เห็นผล
กลยุทธ์ในการทำงาน
1.
ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
2.
จัดเก็บข้อมูลเอกสารอย่างเป็นระบบและปัจจุบัน
3.
ประสานการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
4. ติดตาม/ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
กฎระเบียบ
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.ตัวชี้วัด 6x2 ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
3.แบบประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงกระทรวงมหาดไทย
4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด
4.หลักการพัฒนาชุมชน
5. ภาวะผู้นำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น