วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

ความรู้เรื่อง  การบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
เจ้าของความรู้   นางสาวขวัญดาว เล้าสุขสุวรรณ์
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ  
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง
บันทึกเมื่อ  วันที่  25  พฤษภาคม  2558
เรื่องเล่า
การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)เป็นงานนโยบายกระทรวงมหาดไทยที่มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนรับผิดชอบดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกปี ซึ่งการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.จะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัดระดับอำเภอและระดับตำบลเป็นทีมงานขับเคลื่อนการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลเป็นภาพรวมที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละปี

ในแต่ละปีเน้นการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด ในส่วนของการบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ โดยมีกระบวนการขั้นตอนตั้งแต่การชี้แจงการจัดเก็บแก่อาสาสมัครจัดเก็บ การบันทึกประมวลผล การตรวจสอบและรับรองข้อมูลจากเวทีประชาคม ในแต่ละปีจะประสบปัญหาที่แตกต่างกันไป เช่น จำนวนประชากรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากอำเภอบางปะกง อยู่ในเขตอุตสาหกรรม ปีประชากรแฝงจำนวนมาก ข้าพเจ้าจึงได้มีการวางแผนเพื่อจะให้ได้จำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และข้อมูลที่จัดเก็บนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

บันทึกขุมความรู้
การดำเนินงานระดับอำเภอ
  • ประสานผู้นำท้องที่สำรวจครัวเรือนที่อยู่จริงในพื้นที่ ที่เกิน 6 เดือน เพื่อแจ้งเป้าหมายการจัดเก็บ จปฐ. ให้จังหวัดทราบ
  • การวางแผนการปฏิบัติงานและการประชุม
  • ทำหนังสือแจ้งหน่วยงานภาคีพัฒนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้รับทราบกำหนดระยะเวลา และการสนับสนุนงบประมาณการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. 
  • แต่งตั้งคณะทำงานฯและจัดประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับอำเภอ ระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลฯ
  • ต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับทราบถึงปัญหาอุปสรรค และช่วยกันแก้ไข
  • สนับสนุนการบันทึกและประมวลผล โดยการจัดประชุมเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลให้คำแนะนำวิธีลงโปรแกรม การบันทึกข้อมูลวิธีการแก้ไขปัญหาโปรแกรมติดขัดหรือมีปัญหาและติดตามบันทึกข้อมูลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องโดยทางโทรศัพท์

การดำเนินงานระดับพื้นที่

  • ประชุมชี้แจงและจัดเก็บ ต้องทำก่อนที่อื่น ซึ่งต้องประสานกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านให้คัดเลือกอาสาสมัคร ซึ่งเราจะเน้นอาสาพัฒนาชุมชน และผู้ที่มีจิตอาสาจริงๆ มีความเสียสละและอดทน


แก่นความรู้ (เทคนิคสำคัญของความสำเร็จ)
  • ต้องศึกษากระบวนการบริหารจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ให้เข้าใจลึกซึ้งถึงบทบาทหน้าที่ กระบวนการดำเนินงาน การบูรณาการแต่ละหน่วยงาน
  • ต้องลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิด เพื่อจะได้ทราบว่าทางผู้จัดเก็บหรือผู้บันทึกข้อมูลพบปัญหาอะไรบ้าง เพื่อการดำเนินงานจะได้รวดเร็ว แก้ไขปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น