ชื่อ
- สกุล นางอำพร ศรีกุลนิภา
ตำแหน่ง
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยวเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปีงบประมาณ
2558
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านคลอง 20
หมู่ที่ 8 ตำบลโยธะกา
อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
การดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านที่มีวิถี การดำรงชีวิตแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยใช้หลักการพัฒนาชุมชนเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
บนพื้นฐานความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความรู้และคุณธรรม
สร้างระบบภูมิคุ้มกันแก่ชุมชน ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เป็นชุมชนแห่งการพึ่งตนเองอย่างเข้มแข็ง ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
เรียนรู้จากการปฏิบัติ ขับเคลื่อนกิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรม
และดำเนินการประเมินหมู่บ้านเพื่อจัดระดับเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ตามเกณฑ์การประเมินของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด เป็น 3 ระดับ คือ ระดับ
“พออยู่พอกิน” “อยู่ดีกินดี” และ “มั่งมีศรีสุข”
บ้านคลอง 20 หมู่ที่
8 ตำบลโยธะกา ได้รับงบประมาณจากจังหวัดฉะเชิงเทรา
ตามโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงรอบพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
และขยายผลการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ทุกหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน มีการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ โดยการรวมกลุ่มปลูกมะนาว สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน สร้างพลังในการบริหารจัดการ ในลักษณะของเครือข่ายระหว่างหมู่บ้าน
โดยอาศัยทุนทางสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นองค์ประกอบในการขยายผลและเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างถาวร
ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
บันทึกขุมความรู้
(Knowledge
Assests)
- การมีส่วนร่วม โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนร่วมกับแกนนำชุมชนเผยแพร่แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- การทำงานเป็นทีม แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับหมู่บ้านให้เป็นปัจจุบัน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทีมงาน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ภาคีการพัฒนาและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในการประชุมวางแผนร่วมกันขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิภาพ
- ผู้นำ/แกนนำชุมชน มีความเข้มแข็ง และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- คนในหมู่บ้านมีความสามัคคีและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
- การมีกิจกรรมต่อเนื่องหลักจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรม
- การติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่และภาคีการพัฒนา
- ความรู้ ความเข้าใจและกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำ และครัวเรือนต้นแบบในหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
- ผู้นำชุมชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
- การทำงานแบบบูรณาการ
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สนับสนุนให้หมู่บ้านดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำบัญชีครัวเรือน ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน ทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เอง เพื่อลดรายจ่าย
- ติดตาม และประเมินผลดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
- กระบวนการมีส่วนร่วม
- การทำงานเป็นทีม
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- หลักการพัฒนาชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น