เจ้าของความรู้ นางสาวนิธิวดี
วีระศิลป์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง
เรื่องเล่า
กรมการพัฒนาชุมชน
ได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการส่งเสริมการดําเนินชีวิต
ทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับหมู่บ้าน
ให้หมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นพัฒนากรใหม่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง และได้รับผิดชอบงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ข้าพเจ้าต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้นกว่าเดิม
เพื่อจะได้ลงพื้นที่และไปให้ความรู้กับครอบครัวพัฒนาในตำบลที่รับผิดชอบ
หลังจากข้าพเจ้าได้ทำงานนี้ก็ได้เรียนรู้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เข้าใจง่ายๆก็ เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตนเองได้ ปฏิบัติตนให้มีความพอเพียงกับตัวเอง อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนใคร สามารถพึ่งตนเองได้ ก่อนการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนากรจะต้องทำการวิเคราะห์ หรือ ประเมินหมู่บ้านโดยใช้ด้วยเกณฑ์ประเมิน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ดัชนีชี้วัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข ” หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (GrossVillage Happiness : GVH ) 6 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
โดยมีวิธีการคือ
หลังจากข้าพเจ้าได้ทำงานนี้ก็ได้เรียนรู้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เข้าใจง่ายๆก็ เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตนเองได้ ปฏิบัติตนให้มีความพอเพียงกับตัวเอง อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนใคร สามารถพึ่งตนเองได้ ก่อนการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนากรจะต้องทำการวิเคราะห์ หรือ ประเมินหมู่บ้านโดยใช้ด้วยเกณฑ์ประเมิน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ดัชนีชี้วัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข ” หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (GrossVillage Happiness : GVH ) 6 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
- เตรียมการประชุม พัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบลต้องประสานกับผู้นำชุมชนเพื่อประสานกลุ่มเป้าหมายมาเป็นตัวแทนของหมู่บ้านในการประเมินความสุขมวลรวม
- ก่อนการประเมินความสุขมวลรวม พัฒนากรต้อสร้างความเข้าใจ และชี้แจงวัตถุประสงค์ประสงค์ของการประเมินให้กลุ่มเป้าหมายทราบก่อน และใช้การประเมินแบบมีส่วนร่วม
- เจ้าหน้าที่ประเมินแต่ละตัวชี้วัด ทั้งหมด ๒๒ ตัวชี้วัด อธิบายความหมายตัวชี้วัดรายข้อและสร้างความเข้าใจกับผู้ประเมิน หากผู้เข้าประเมินมีข้อสงสัยความหมายตัวชี้วัดให้สอบถามและทำความเข้าใจทันที เมื่อทำความเข้าใจได้ข้อสรุปแล้ว จึงยกมือขึ้นเหนือศีรษะตามความพึงพอใจในตัวชี้วัด หากไม่พึงพอใจก็ไม่ต้องยกมือ วิทยากรผู้ช่วยนับจำนวนมือที่ยกให้เป็นค่าคะแนนพร้อมเขียนจำนวนตามระดับความสุข จนครบ
- นำผลการประเมินหาค่าเฉลี่ยระดับคะแนนแต่ละองค์ประกอบ
- นำค่าคะแนนเฉลี่ยแต่ละองค์ประกอบ จุดบนแผนผังใยแมงมุม และลากเส้นเชื่อม วิทยากรอธิบายความหมาย ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน ให้ผู้เข้าประเมินทราบ
- ก่อนการประเมินความสุขมวลรวมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนากรต้องศึกษา และทำความเข้าใจ วิธีการ ความหมายของแต่ละตัวชี้วัดให้เข้าใจก่อนการประเมิน เพือ่ให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างพัฒนากรและกลุ่มเป้าหมาย
- พัฒนากรเป็นผู้เอื้ออำนวยการประชุม และดำเนินการตามขั้นตอน
- ความสุขมวลรวมของชุมชนเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ
- การมีส่วนร่วมของชุมชน มีผลต่อคะแนนความสุขมวลรวมที่วัดได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น