วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม

ชื่อ-สกุล    นางพัชรา  อุไร 
ตำแหน่ง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์  จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์  ๐๘๙-4051653
องค์ความรู้       การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม
ชื่อเรื่อง    ผู้นำในการบริหารให้ประชาชนในพื้นที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน

เนื้อเรื่อง
ผู้นำในการบริหารให้ประชาชนในพื้นที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงบ้านท่าถั่ว  หมู่ที่ 3 ตำบลบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านที่ได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชนในปีงบประมาณ 2554 มีผู้นำท้องถิ่นในที่นี้หมายถึงคณะกรรมการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทในการทำให้หมู่บ้านประสบความสำเร็จในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1.ลักษณะทางสังคมในพื้นที่ เช่น ศักยภาพและบทบาทของผู้นำ ได้รับการศึกษาของผู้นำอยู่ในระดับมีความรู้ มีคุณธรรม ทำงานอย่างซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ให้คุณค่าความสำคัญกับระบบความอาวุโสและระบบเครือญาติสูง  ชุมชนให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางศาสนา การรักษาประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น และการรักษาศีลธรรมและธรรมะค่อนข้างมาก เพราะมีวัดมงคลโสภิต(วัดต้นสน)  ชุมชนมีความเข็มแข็งในการร่วมกิจกรรมในพื้นที่ มีจิตสำนึกรักท้องถิ่น

2.ลักษณะทางเศรษฐกิจ เช่น มีการประกอบอาชีพที่มั่นคง รายได้ครัวเรือนที่แน่นอนมั่นคง ภาวะหนี้สินน้อย มีการออมเงิน และมีกลุ่มอาชีพในพื้นที่ ชุมชนได้รับสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐในรูปกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  กองทุนแม่ของแผ่นดิน สถาบันการเงินชุมชนด้านข่าวสารมักจะได้รับแจ้งข่าวสารในรูปแบบของการประชุมกลุ่มต่าง ๆ

3.ลักษณะทางการเมือง เช่น การบริหารงานในหมู่บ้านผู้นำชุมชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในระบบบัญชี และการให้ความสำคัญต่อสิทธิของชุมชนมีความสำคัญมากโดยขอมติจากเวทีประชาคม

4.ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย ภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน สินค้า/ผลิตภัณฑ์ของชุมชน การบริหารจัดการโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้รู้ด้านต่าง ๆ แต่ละชุมชนต่างก็มีผู้รู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นผู้รู้ทางวัฒนธรรมประเพณี และผู้รู้ทางด้านแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ซึ่งสมาชิกชุมชนก็ตระหนักดีว่าผู้รู้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนเป็นที่ยอมรับ

5.ทุนด้านสังคม ประกอบด้วย จำนวนผู้นำทางธรรมชาติ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อดีตกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภา อบต. อาสาสมัครสาธารณสุข ประธานกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสตรี กลุ่มด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสถานที่ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน เช่น สถาบันการเงินชุมชน  ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กองทุนแม่ของแผ่นดิน กองทุนหมู่บ้าน อาคารเอนกประสงค์ที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน ความร่วมมือในลักษณะของเครือข่าย


สรุป ผู้นำในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านท่าถั่ว หมู่ที่ 3 ตำบลบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรามีบทบาทในการการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามแนวปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อช่วยตนเองและครัวเรือนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเป็นหมู่บ้านต้นแบบให้หมู่บ้านอื่นได้นำไปศึกษาเรียนรู้เป็นแบบอย่าง ต้องปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง โดยต้องมีความตั้งใจจริง อดทน การใฝ่หาความรู้จากภายนอกเพื่อนำมาปรับใช้ในครัวเรือน การร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์อย่างต่อเนื่องจะเกิดการพัฒนาตนเองครัวเรือน/หมู่บ้าน ให้มีความมั่นคงและยั่งยืนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น