ชื่อ
– นามสกุล นางสาวปฏิญญา ปงหาญ
ตำแหน่ง
นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 095-9517383
เรื่อง การส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้มีความสุขมวลรวม
เป็นการจัดทำกิจกรรม เกี่ยวกับการบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาเพื่อให้มีความสุขมวลรวมเพิ่มขึ้นในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.
2557 - ปัจจุบัน
สถานที่ บ้านตลาดหนองตีนนก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
กรมการพัฒนาชุมชน
ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต
และเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้าน โดยจัดกระบวนการเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน
ได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้
ประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม มีแนวทางการพัฒนาโดยใช้ตัวชี้วัด
6x2 (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ประหยัด
เรียนรู้ อนุรักษ์ เอื้ออารี) เป็นเป้าหมาย มีการประเมินระดับการพัฒนาหมู่บ้านตามเกณฑ์ชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงมหาดไทย
4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 3 ระดับ คือระดับ “พออยู่ พอกิน” “ อยู่ดี กินดี” และ “มั่งมี ศรีสุข” การประเมินความ“อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (Gross Village Happiness : GVH) และการทำปรอทวัดความสุข ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เป็นการสร้างหลักมีส่วนร่วม การใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชน มีเทคนิควิธีการและการบูรณาการทำงานกับภาคีต่างๆ
เพื่อให้เป็นต้นแบบของหมู่บ้านอื่น ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนและสร้างความพอเพียงให้กับคนในชุมชนที่จะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติที่เห็นผลเป็นรูปธรรม
บ้านตลาดหนองตีนนก
หมู่ที่ 5 ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2557 ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ทำนา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา มีความภูมิใจ มีความสนใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต
เช่นกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพื่อส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระบบบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการ และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
จากกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านโดยใช้ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็น เป็นสุข สำหรับใช้ประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาชุมชน
ที่ได้ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชน
สำหรับการอนุรักษ์ เพิ่มมูลค่าและแก้ไขปัญหาซึ่งทั้งหมดเป็นเป้าหมายการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่ง
ความอยู่เย็น เป็นสุข หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน
(Gross Village Happiness : GVH ) หมายถึง
สภาวะที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ดำรงชีวิตอย่างมีสมดุลยภาพทั้งจิต
กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้ถูกต้องดีงาม
นำไปสู่การอยู่รวมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน
และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความอยู่เย็น เป็นสุข
มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยพื้นฐานร่วม ในการสร้างความสุขของมนุษย์ได้ ๖ องค์ประกอบ ๒๒ ตัวชี้วัด ได้แก่ ๑) การมีสุขภาวะ ๒) เศรษฐกิจชุมชนเข็มแข็งเป็นธรรม ๓)ครอบครัวอบอุ่น ๔) การบริหารจัดการชุมชนดี ๕)
การมีสภาพแวดล้อมดีมีระบบนิเวศที่สมดุล และ๖) เป็นชุมชนประชาธิปไตยมีธรรมาภิบาล
สำหรับการประเมินความสุขมวลรวมของบ้านทุ่งช้าง
และใช้ปรอทวัดความสุขเป็นเครื่องมือในการประเมิน
โดยให้คนในชุมชนทั้งหมดคนพ้องต้องกัน ใช้ทุกตัวชี้วัดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
คะแนนที่ได้จะเห็นถึงระดับความสุข ว่าอยู่ในระดับ โดยมีขั้นตอนการประเมิน ความ“อยู่เย็น เป็นสุข” ดังนี้
๑. วิทยากรในการประเมิน ทำความเข้าใจในกระบวนการ
ขั้นตอนการจัดประชุมรวมทั้ง
ศึกษารายละเอียดความหมายของตัวชี้วัด
เตรียมคำถามที่สามารถสร้างความเข้าใจหรือสื่อสารกับผู้เข้าร่วมประชุมและเหมาะสมสำหรับกลุ่มคนในชุมชน
๒. ทำความเข้าใจในขั้นตอนประเด็นคำถาม
การใช้เครื่องมือกับคณะวิทยากร แบ่งงานในทีมเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ การจัดสถานที่ให้เหมาะสม
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมมากที่สุด
๓. พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล
ต้องเตรียมความพร้อมของชุมชนโดยการประชาสัมพันธ์
สร้างความเข้าใจต่อประชาชนในการเข้าร่วมประชุม
เตรียมข้อมูลความเป็นจริงของหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันตัดสินใจการประเมิน
๔. ดำเนินการประเมิน โดยสร้างบรรยากาศ
สร้างความรู้สึกผ่อนคลายเป็นกันเองในการ
ประเมิน
ชี้แจงวัตถุประสงค์ และอธิบายความหมายของแต่ละองค์ประกอบตัวชี้วัด ให้ชัดเจน
เข้าใจง่าย ให้ที่ประชุมให้เหตุผลหรือบอกวิธีการที่ทำให้ตัวชี้วัดเป็นจริง
แล้วให้ที่ประชุมให้คะแนนที่ละตัวชี้วัด โดยวิธีการยกมือให้คะแนนตามที่ต้องการ
จนครบทุกตัวชี้วัดแล้ววิทยากรจึงเฉลยความหมายในแต่ละระดับ
๕. ถามที่ประชุมต่อว่า
ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำ จะต้องทำอะไรต่อกันดี เพื่อให้ค่าคะแนน
ความสุขเพิ่มขึ้น
สำหรับหรับตัวชี้วัดที่ได้ค่าคะแนนสูงจะต้องทำอะไรต่อเพื่อให้คงอยู่และดีขึ้นอีก
แล้วนำข้อเสนอที่ได้ไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแผนพัฒนาหมู่บ้านต่อไป
จากการประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน
บ้านตลาดนหนองตีนนก
พบว่า มีค่าคะแนนความสุขมวลรวมครั้งแรก คิดเป็นร้อยละ 90.89 ระดับ อยู่เย็น
เป็นสุข และครั้งที่สองคิดเป็นร้อยละ 94.67 ระดับ อยู่เย็น เป็นสุข
เกิดจากการที่ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมส่วนรวม
ให้ความสนใจและมีความเข้าใจนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
เมื่อไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ
เมื่อกลับจากดูงานครอบครัวพัฒนาได้นำกิจกรรมมาทำที่บ้าน ได้แก่ การปลูกมะนาว การทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืชผักสวนครัว และยังได้เผยแพร่ไปยังครัวเรือนใกล้เคียงในหมู่บ้าน
และยังมีการบูรณาการกิจกรรมร่วมกับภาคีการพัฒนาที่หลากหลาย เช่น
องค์การบริหารส่วนตำบล สาธารณสุขตำบล เกษตรตำบล ปราชญ์ชาวบ้าน
และยังมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในหมู่บ้าน
สามารถสร้างจุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านการทำเกษตรกรรมได้ในชุมชน จึงเกิดเป็นความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น