เจ้าของความรู้ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์
การถอดบทเรียนครัวเรือนยากจน
1) กระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนพื้นที่ มีบางส่วนเป็นคนนอกพื้นที่ๆ
เข้ามาทำงานในด้านการเลี้ยงกุ้ง อาชีพส่วนใหญ่
ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เลี้ยงกุ้ง ปลา และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างทั่วไป
มีการลดรายจ่ายในครัวเรือนที่ไม่จำเป็น มีระบบเฝ้าระวัง
ดูแลคนในชุมชนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด
มีการรักษาความสะอาด และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ส่วนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น คือ ระหว่างปี
พ.ศ. 2550 – 2558 ที่ผ่านมา วิถีชีวิตของชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ปัญหาต่างๆ เริ่มเข้ามามีผลกระทบต่อคนในหมู่บ้านมากขึ้น การประกอบอาชีพทางด้านการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา
ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากภาวะทางธรรมชาติเกิดโรคกุ้งระบาด ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะปัญหาความยากจน เริ่มมีหนี้สินจากภาวะเศรษฐกิจ หรือ
ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้นำชาวบ้านเริ่มมองเห็นปัญหาของหมู่บ้าน
และคิดหาหนทางแก้ไขปัญหาความยากจน จึงเริ่มประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม
ให้ชาวบ้านนำแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้านดี
ได้แก่ ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นทั้งด้านฐานะพร้อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม พื้นที่บริเวณบ้านมีการปลูกผักสวนครัว
มีเงินกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และมีระเบียบของหมู่บ้านที่ใช้ปฏิบัติร่วมกัน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้านลบ ได้แก่ การครองชีพของชาวบ้านมีความแตกต่างกัน ตามสภาพเศรษฐกิจ
และการประกอบอาชีพ การประชุมกลุ่ม
หรือเวทีประชาคมหมู่บ้าน ต้องใช้เวลาช่วงวันหยุด
หรือช่วงเย็นที่ชาวบ้านว่างจากการทำงาน ชาวบ้านมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาจากการสร้างฐานะและการประกอบอาชีพและสภาพเศรษฐกิจ
ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
2) การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดเพื่อพึ่งพาตนเองนั้น
เริ่มมาจากการลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยการออมเงิน
สร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครับเป้าหมาย ปัจจุบันครัวเรือนเป้าหมาย มีกิจกรรม
ให้ครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือนไปประกอบอาชีพ ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำบัญชีครัวเรือน
ทำของใช้ในครัวเรือน มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การปลูกผักสวนครัวริมรั้วและพื้นที่บริเวณรอบๆ บ้าน เป็นครอบครัวที่ปลอดยาเสพติด
และมีระเบียบกฎเกณฑ์ของครอบครัว มีกิจกรรมและการฝึกอบรมอาชีพที่สอดแทรกความพอเพียงมาโดยตลอด
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจน ที่เกิดขึ้นได้
เพราะ
1) ความร่วมมือของครัวเรือนยากจนและสมาชิกในครัวเรือน 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ การลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 3) การมีแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน 4) การพัฒนาอาชีพหลักและอาชีพเสริม
5) ต้องหาจุดที่
“พอเพียง” ของครัวเรือนยากจน ให้เจอ จึงสรุปเป็นการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน
ดังนี้
(1)
การลดรายจ่าย
1.1 ครัวเรือนทำสวนครัว ได้แก่ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่และ
ไม่ฟุ่มเฟือย มีการลดรายจ่ายในครัวเรือน (ทำนาข้าวแผนใหม่ / ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ / ปลูกผัก
/ เลี้ยงปลา / เลี้ยงเป็ดไข่ / เลี้ยงกบในกระชัง / ทำน้ำยาล้างจาน /ทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม / อื่น ๆ) ลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น
1.2 ครัวเรือนปลอดอบายมุข
ได้แก่ เป็นครัวเรือนที่ปลอดยาเสพติด ไม่ดื่มสุรา มาสูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน
(2) ด้านการเพิ่มรายได้
2.1
ได้แก่ มีการวางแผนชีวิต แผนการผลิต (ทำนาข้าวแผนใหม่ /
ขายของ / เลี้ยงเป็ดพันธ์ไข่ / เย็บจากมุงหลังคา/รับจ้างตัดหญ้า
/ ปลูกผักสวนครัว / อื่นๆ) ทำแบบพอประมาณ รอบคอบ คิดอย่างมีเหตุมีผล
2.2 มีการเข้าร่วมกับกลุ่มอาชีพ
เช่น(ทำดอกไม้จันทน์ / พวงหรีด และกิจกรรม อื่นๆ ) ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่ม ทำจำหน่ายในหมู่บ้าน
และบริเวณใกล้เคียง
(3) ด้านการประหยัด
3.1
ครัวเรือนมีการออมทรัพย์
ได้แก่ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตของหมู่บ้าน
สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เพื่อรับฝากเงินสัจจะของสมาชิก สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง
และครอบครัว
(4) ด้านการเรียนรู้
4.1 ครัวเรือน มีการสืบทอด
และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
การปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่สืบทอดจากคนรุ่นก่อนมีการทำประชาคมหมู่บ้านสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่บ้าน
4.2 สมาชิกในครัวเรือนยากจน
มีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ได้แก่
การศึกษาหาความรู้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา จากสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ
โทรทัศน์ ที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ทำให้คนในหมู่บ้านได้รับทราบแนวทางการดำเนินชีวิตที่มุ่งเน้นให้คนมีชีวิตที่เรียบง่าย
ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล
(5)
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์ ดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ที่ประชาชน
และหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินงานในเทศกาล หรือวันหยุดทางราชการ เช่น วันพ่อแห่งชาติ
5 ธันวาคม หรือวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม มีการร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
เพื่อดูแล รักษา สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น