วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากกับการสร้างรายได้ชุมชน

นายชวลิต ศิริวัฒนโยธิน
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางคล้า

1.หลักการ
รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาโครงการหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  ที่เกิดจากศักยภาพของชุมชน อันก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน  โดยการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาอาชีพ  โดยรัฐบาลให้การสนับสนุน องค์ความรู้ใหม่ การเข้าถึงแหล่งทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด  เพื่อเชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ   ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นช่องทางหนึ่งในการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุน  แหล่งผลิต แหล่งตลาด แหล่งความรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็นกลไกขับเคลื่อนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนากลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP  ให้มีคุณภาพและมาตรฐานสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มและชุมชนซึ่งส่งผลต่อประชาชนในหมู่บ้านให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

อำเภอบางคล้า ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง  โดยมีเป้าประสงค์ คือ ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  โดยใช้กลยุทธ์ที่สำคัญ  คือ บูรณาการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยพลังเครือข่ายชุมชน สู่การสร้างรายได้ชุมชน   ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก  เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการและพัฒนาขีดความสามารถด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน   เป็นช่องทางในการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุน แหล่งผลิต แหล่งตลาด แหล่งความรู้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และเป็นกลไกขับเคลื่อนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพ  การบริหารจัดการแหล่งทุน  กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP  สำหรับการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชน เพื่อส่งผลต่อประชาชนในหมู่บ้าน ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานราก  ระหว่างภาคีการพัฒนาในระดับอำเภอ โดยการบริหารจัดการและให้บริการในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนเครือข่าย OTOP เครือข่ายทุนชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและภาคีหน่วยงานภาครัฐ

2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
  1. จัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สถานที่ถาวร หรือ เป็นจุดแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
  2. คัดเลือกคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ที่มาจากเครือข่ายต่างๆ เช่น OTOP  กทบ. กข.คจ.  ออมทรัพย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
  3. สร้างทีมวิทยากรจากคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เครือข่ายต่างๆ
  4. ให้บริการแสดงสินค้า OTOP ข้อมูลข่าวสาร งานเอกสาร  แบบฟอร์มต่างๆ ให้คำปรึกษาแนะนำ
  5. จัดบริการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก นอกสถานที่ ให้บริการความรู้ สาธิต ให้คำปรึกษา
  6. ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นสถานที่พบปะเจรจาธุรกิจชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.แก่นความรู้
  1. การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม องค์กรชุมชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP
  2. การมีส่วนร่วมของเครือข่าย  ชุมชน  สมาชิกศูนย์ เป็นพลังให้เกิดองค์ความรู้ เกิดการแลกเปลี่ยน
  3. การบูรณาการกิจกรรมในศูนย์ฯเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิก กลุ่ม องค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น