วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ชื่อ – สกุล นางสาวปนัฐวรรณ เสงี่ยมจิตร์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์ติดต่อโทร. 089-8686386
ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เมษายน ปี 2552
.
เนื้อเรื่อง
การดำเนินกิจกรรมหลักของหมู่บ้านบ้านคลองกลาง หมู่ที่ 11 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และบนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท และคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ และมีกิจกรรมเครือข่ายอื่นๆ ได้แก่ โรงสีข้าวชุมชน ร้านค้าชุมชน ปั้มน้ำมันซื้อน้ำมันในราคายุติธรรม กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด และมีกิจกรรมช่วยเหลือคนในหมู่บ้าน อาทิเช่น การจัดสวัสดิการให้แก่คนจน คนชรา ผู้ด้อยโอกาส ซึ่งผู้นำหมู่บ้านได้กำหนดเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต และแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในชุมชน จึงได้รับคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาชุมชนกบินทร์บุรีส่งเข้าร่วมประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ของจังหวัดปราจีนบุรี ในปี 2552
.
ในปี 2552 กรมการพัฒนาชุมชนมีการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านเกณฑ์ชี้วัด 6 X 2 และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลกบินทร์ได้ให้ความรู้ ความเข้าใจในการประเมินฯ และดำเนินการแล้ว พบว่า
.
1. การลดรายจ่าย
ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว ในบริเวณบ้านเพื่อบริโภคในครัวเรือน เหลือก็สามารถจำหน่ายเพิ่มรายได้ และได้บริโภคผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษ ช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้นเองและใช้ภายในกลุ่ม เพื่อเป็นการลดต้นในการซื้อปุ๋ยเคมี และใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
.
2. การเพิ่มรายได้
นอกจากทุกครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายแล้ว ยังมีการประกอบอาชีพที่เพิ่มรายได้แก่คนในชุมชน การเพาะเห็ดในบริเวณบ้านเพิ่มรายได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเลี้ยงโค ที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงเป็นอย่างดีเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเป็นอย่างยิ่ง
.
3. การประหยัด
บ้านคลองกลางมีกลุ่มองค์กรและกองทุนในชุมชนที่ทุกคนร่วมกันก่อตั้ง ประกอบด้วย กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโค-กระบือ กลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน
.
4. การเรียนรู้
ราษฎรบ้านคลองกลางมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้ยั่งยืน
.
5. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
บ้านคลองกลาง มีการใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติ ทั้งในการประกอบอาชีพและใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการใช้เศษไม้ในการหุงต้มอาหาร การทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักใช้เองในชุมชน
.
6. เอื้ออารี
บ้านคลองกลางมีกิจกรรมช่วยเหลือเด็ก คนยากจน คนชรา คนด้อยโอกาส และขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ และคนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการปลูกป่า ถางหญ้า ตามโครงการหน้าบ้านน่ามอง
.
กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากภาคีการพัฒนา เช่น พัฒนาชุมชน เกษตร ปศุสัตว์ ประมง องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น นอกจากนี้ สมาชิกกลุ่มยังได้สร้างการเรียนรู้เพิ่มเติมโดยการฝึกอบรม และการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาตนเองและการไปสู่มืออาชีพอย่างแท้จริง ดังเช่นการฝึกอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง การศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และการฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นต้น
.
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- จุดคลิ๊ก ชีวิตเปลี่ยน
- ความรู้เข้าใจถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แก่นความรู้ (Core Competency)
- การศึกษาพื้นที่โดยการปรึกษาหารือ
- ตั้งใจ เต็มใจบริการ เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล
.
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การศึกษาพื้นที่โดยการปรึกษาหารือ
ก่อนเข้าทำงานในพื้นที่ จะต้องมีการปรึกษาพี่ที่ทำงานที่มีประสบการณ์ทำงานในตำบลกบินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน และพัฒนาการอำเภอ ว่าแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน

2. ตั้งใจ เต็มใจบริการ เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล
มีความตั้งใจในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เต็มใจในการให้บริการประชาชน ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนความร่วมมือในการประสานงานต่างๆ ของพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนนสำเร็จลุล่วงด้วยดี

3 ความคิดเห็น: