วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม


ชื่อ – นามสกุล นายชูชาติ เอี่ยมวิจิตร์
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 089-9841207
ชื่อเรื่อง การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานร่วมกันภายในองค์กร
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน

.

เนื้อเรื่อง
การแก่ไขปัญหา การบริหารงานของราชการวันนี้ จะเกิดปัญหาอะไรก็ตามผู้รับผิดชอบ คือหัวหน้า หรือที่ เรียกว่า “ผู้บริหาร” ถ้าจะให้ผู้บริหารมีศักยภาพในการแก่ไขปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาระบบความคิด ให้สามารถคิดเชิงการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผมเองก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำหน้าที่การบริหารงานพัฒนาชุมชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ก็ได้ศึกษาหลักการ แนวทาง ระเบียบวินัย ของข้าราชการ นำมาปรับใช้ในการบริหารงานอยู่ตลอดเวลา ว่า ทำอย่างไร ผู้บริหารงานพัฒนาชุมชน จะคิดงานในลักษณะ Positive Shocking กล่าวคือ คิดงานทันเกม ทุกคนยอมรับและมีผลต่องานพัฒนาชุมชน

.

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
วิธีการก็คือ ผมอยากเสนอว่า ความคิดของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญถ้าจะพัฒนาความคิดปัจจุบัน เราควรจะพัฒนาในประเด็นสำคัญ คือ
1.ปรับความรู้ ความคิดใหม่ โดยเฉพาะการปรับปรุงในเรื่องข้อมูลข่าวสาร วิธีการทำงาน
2.ปรับกระบวนการบริหารใหม่ ให้รู้จักการทำงานแบบบูรณาการ ทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม สร้างลักษณะความเป็นผู้นำกับคนในองค์กร
3.ปรับวัฒนธรรมการทำงานใหม่ ทำงานให้รู่จักประหยัด ลดขั้นตอนที่สำคัญ หรือในสำนักงาน ควรจะมีบรรยากาศการทำงาน
.
ทั้ง 3 ประเด็น ผมได้นำมาพัฒนาตนเองให้ทันสมัย เพราะต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัด และกรมการพัฒนาชุมชน วิธีการปรับความรู้ ความคิดใหม่ ปรับกระบวนการบริหารใหม่ และปรับวัฒนธรรมการทำงานใหม่ ทำให้การบริหารงานพัฒนาชุมชนบรรลุวัตถุประสงค์ ของการบริหารงานภาครัฐ คือเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจของประชาชน

.
แก่นความรู้ (Core Competency)
ในการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ของผมได้ให้บุคคลในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการบริหารด้วย โดยไม่ได้ผูกขาดกับการเป็นผู้นำ หรือหัวหน้า ทุกคนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน คือ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมติดตามประเมินผล นอกจากบุคคลภายในองค์กรแล้ว การบริหารงานของผมยังต้องบูรณาการ กับหน่วยงานภาคีการพัฒนาอื่นๆ ด้วย ทำให้งานพัฒนาชุมชนได้รับความร่วมมือด้วยดีจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตามการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมก็มิได้ประสพผลสำเร็จไปทุกประการ เคยมีปัญหาด้านการบริหารงานคือบุคคล คือ บุคลากรในองค์กรของเราเกิดการขัดแย้ง ไม่เข้าใจ ไม่ทำงานร่วมกัน ผมก็ได้นำหลักความต้องการของมนุษย์เข้ามาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ ดังนั้นถ้าเราเข้าใจ และสามารถวิเคราะได้ว่าบุคคลที่มีปัญหา เขามีปัญหาความต้องการในเรื่องอะไร เราก็สามารถหาวิธีการ แก่ไขปัญหาได้โดยยึดหลัก การมีส่วนร่วม คือการเข้าไปพูดคุย และสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทำให้บุคคลเหล่านั้น อยู่ร่วมกันได้ทำงานอย่างมีความสุขเกิดประสิทธิ์ผลของงาน และเรื่องส่วนตัวอย่างดี

.

กลยุทธ์ในการทำงาน
การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ผมได้นำกลยุทธ์ “นโม” คือ ใช้ หลักความอ่อนน้อมที่ตัวผมเองมีอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้
1. นโม อยู่ที่ใจ มีใจดี คิดดี และทำดีต่อผู้อื่น
2. นโม อยู่ที่หน้า ยิ้มแย้ม เบิกบาน จริงใจ
3. นโม อยู่ที่ศรีษะ รู้จักสัมมาคารวะก้มศรีษะเมื่อพบผู้ใหญ่
4. นโม อยู่ที่ตัว เคารพนบนอบ อย่าถือดี
5. นโม อยู่ที่ปาก พูดจาดี ไม่ส่อเสียด

ดังนั้น การบริหารงานคงจะไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ผู้บริหารงานสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติแล้วประสพผลสำเร็จได้ทุกเรื่อง รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผม คงจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่สนใจและนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมต่อไป...

3 ความคิดเห็น:

  1. นโม อยู่ที่ใจ แต่ มะโน อยู่ที่ประชากรครับ สำมโนประชากร กำลังจะสำรวจ..

    ตอบลบ
  2. เป็นนักพัฒนาที่เก่งมากๆ

    ตอบลบ