วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ชื่อ-นามสกุล นางอมรา วงศ์ศรีรัตน์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 089-7542866
ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ดอกไม้จันทน์หลากสี)
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ รูปแบบผลิตภัณฑ์ ลดมลภาวะ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2546
สถานที่ หมู่ที่18 ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
.
เนื้อเรื่อง
งานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน / กลุ่ม / องค์กรต่างๆ ในปี พ.ศ 2540 เศรษฐกิจเริ่มตกต่ำ ทุกคนเริ่มคิดที่จะรวมกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสตรีเป็นงานที่ข้าพเจ้าชอบ ข้าพเจ้าได้ทำงานร่วมกับองค์กรสตรี และมีการส่งเสริมอาชีพ จัดประชุมกลุ่มสตรีที่ประชุมก็ขอให้มีการจัดฝึกอบรมทำดอกไม้ประดิษฐ์ ประเภทดอกไม้จันทน์ ซึ่งอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ทำอยู่กับบ้าน และใช้เวลาว่างจากงานประจำก็สามารถทำและมีรายได้เสริม แล้วอาชีพนี้ต้องมีตลาดรองรับแน่นอน แต่รูปแบบก็ยังเป็นรูปแบบเดิมๆที่ทำกันอยู่ทั่วไป
.
ข้าพเจ้าได้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว มีคำสั่งให้ปฎิบัติงานตำบลศาลาแดง ข้าพเจ้าได้สานต่อโดยการส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มสตรี เนื่องจากข้าพเจ้าเคยสนิทคุ้นเคยกับกลุ่มฯเพราะเคยเชิญกลุ่มไปเป็นวิทยากรสอนให้ความรู้กับสตรี ที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
.
ดอกไม้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์หลากสี ซึ่งเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับตอนนั้น เริ่มแรกก็ยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่าไหร่มีการต่อต้านว่างานศพไม่ควรใช้ดอกไม้จันทน์ที่มีสีสัน บางครั้งคนที่ซื้อไปก็ยังไม่ค่อยกล้าเท่าไหร่กลัวจะถูกวิจารณ์ แต่ประธานกลุ่มให้เหตุผลว่าดอกไม้หน้าศพหรือพวงหรีดก็ยังมีสีสรรสวยงามเพื่อให้เจ้าภาพ และแขกที่มาในงานใจไม่หดหู่ แล้วดอกไม้จันทน์ทำไมหลากสีไม่ได้
.
ในปี 2546 มีการลงทะเบียนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และมีการคัดสรรผลิตภัณฑ์ชุมชนดอกไม้จันทน์หลากสีตำบลศาลาแดง ได้รับรางวัล ระดับ 5 ดาว และคัดสรรระดับประเทศได้ ระดับ 3 ดาว กลุ่มสตรีดอกไม้ประดิษฐ์แสงจันทร์ ภายใต้การดูแลของนางปราณี แสงจันทร์ เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เราจำนำเสนอในวันนี้ โดยนางปราณี แสงจันทร์ ได้พัฒนารูปแบบใหม่ๆ ที่มีสีสันสวยงาม ที่มาแห่งความเชื่อว่าดอกไม้จันทน์ที่สามารถส่งคนขึ้นสวรรค์ได้ จึงได้คิดรูปแบบใหม่ๆ อาทิเช่น ดอกไม้จันทน์เป็นดอกลีลาวดี ดอกแก้ว ดอกจำปี ดอกกุหลาบ ดอกบัว ดอกทิวลิป , มีช่อประธานทั้ง ช่อเล็ก ช่อใหญ่ ,ช่อเชิญพระ สำหรับพระสงฆ์
.
ความหลากหลายของสีสัน สีขาวม่วง สีครีม สีโอรส สีเขียวครีม สีเขียวเข้ม สีชมพู สีเหลือง สีเหลืองทอง สีแดง สีฟ้า การพัฒนากลุ่มได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันทำพวงหรีดดอกไม้จันทน์หลากสี ซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ด้วยแนวคิดของประธาน และความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกกลุ่มสตรี
นอกจากนี้ยังช่วยลดมลภาวะโดยการนำก้านธูปที่วัดหลวงพ่อโสธรที่ผู้คนมาสักการะวันละมากๆนำมาเป็นส่วนประกอบชิ้นหนึ่งในการทำดอกไม้จันทน์
.
การประยุกต์ใช้ดอกไม้จันทน์พวงหรีดนี้เป็นการช่วยลดต้นทุนให้แก่ผู้เป็นเจ้าของงาน เพราะพวงหรีดดอกไม้จันทน์เมื่อเจ้าภาพได้รับจากผู้มาเคารพศพ ถึงเวลาประชุมเพลิงเจ้าภาพก็แกะดอกไม้จันทน์ใส่พานให้แขกที่มาร่วมประชุมเพลิง
.
ปัจจุบันดอกไม้จันทน์หลากสีตำบลศาลาแดง เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย มีผู้ติดต่อจากจังหวัดต่างๆขอมาศึกษาดูงาน และเชิญกลุ่มไปเป็นวิทยากรสอนให้ความรู้ จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปหลายจังหวัด ก่อให้กลุ่มมีรายได้ต่อเนื่อง และทางกลุ่มก็ได้จำหน่ายอุปกรณ์ วัตถุดิบ เนื่องจากผู้มาศึกษาดูงานให้ความสนใจสามารถซื้อกลับไปทำที่บ้าน สำหรับผู้ที่มาศึกษาดูงานซื้อไปประกอบเองที่กลุ่ม และสร้างเครือข่ายร่วมกัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นดอกไม้จันทน์หลากสี และการปฎิบัติงานเพื่อสังคม ส่งผลให้นางปราณี แสงจันทร์ ได้รับปริญญาศิลปะศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา
.
บันทึกขุมความรู้
- งานพัฒนาชุมชนกับการมีส่วนร่วม
- สตรีกับการพัฒนาอาชีพ
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
- ผลิตภัณฑ์ช่วยลดมลภาวะ
.
แก่นความรู้
- ศึกษาปัญหารับทราบช้อมูล
- ประชุมปรึกษาหารือ
- ใช้ภูมิปัญญาพัฒนารูปแบบลดค่าใช้จ่าย/ลดมลภาวะ
.
กลยุทธในการทำงาน
1. ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล ก่อนดำเนินการให้ศึกษาข้อมูลในพื้นที่ที่จะดำเนินการ โดยหาข้อมูล เก็บข้อมูล และนำมาจัดทำโครงการ เพื่อให้ผู้นำสามารถช่วยเราจัดการและสนับสนุนการทำงานและหาตลาดให้กลุ่มที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะที่ปรึกษา
2.ปรึกษาหารือ กับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและขอรับการสนับสนุนจากกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน และสร้างความเข้าใจกับชุมชน
3. สร้างความพึงพอใจ ให้กับกลุ่มและผู้มาศึกษาดูงาน ลดมลภาวะ/ค่าใช้จ่าย
4. งานสัมฤทธิผลรู้สึกเป็นสุข สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของ
เบอร์โทรฯ ติดต่อกลุ่ม คุณปราณี แสงจันทร์ 081-7511248

3 ความคิดเห็น: