ชื่อ – นามสกุล นางชาวินี วันประสาท
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต
โทร. 038-597007
ชื่อเรื่อง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
สถานที่ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 17 ตำบลทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต
.
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านภูเขาทอง ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี 2544 นับแต่เริ่มเป็นหมู่บ้านใหม่ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ใช้ชื่อว่า “ศูนย์เรียนรู้ชุมชน” แต่กิจกรรมที่ดำเนินอยู่ในศูนย์ฯ นั้น เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับชุมชนทั้งสิ้น
.
ทำไมต้องเป็นศูนย์ข้อมูล
จากความต้องการของชุมชน ในอันที่จะสร้างศูนย์รวมของชุมชน ในทุกด้านไว้ด้วยกัน จึงได้ดำเนินการจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากคนในชุมชนในการจัดหาเงินทุน และจากความพยายามของคณะกรรมการหมู่บ้าน ตลอดจนผู้นำในชุมชนในการผลักดันให้ได้มาซึ่งงบประมาณจากส่วนราชการ และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพระยา ในการจัดสร้างศูนย์ฯ
.
เมื่อต้องเป็นศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ฯ เริ่มจากศาลากลางบ้าน ที่ซึ่งใช้เป็นที่จัดประชุมชาวบ้าน เป็นศูนย์รวมในการดำเนินกิจกรรม จึงทำให้ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นถึงความสำคัญของศูนย์ จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเพิ่มเติมให้ประชาชนได้ใช้ทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่
ผลงานของศูนย์ข้อมูล
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านภูเขาทอง
เป็นแหล่งที่รวมของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่ทำการกลุ่มอาชีพ ที่ทำการกองทุนแม่ของแผ่นดิน แหล่งรวบรวมข้อมูลชุมชน เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชนและต่างชุมชน เป็นที่ประชุมรับข่าวสารข้อมูล เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน
.
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมดำเนินมาได้จนถึงปัจจุบัน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศูนย์เรียนรู้ดำเนินกิจกรรมอยู่ได้จนปัจจุบัน เนื่องจากคณะกรรมการมีประสิทธิภาพบริหารกิจกรรมของศูนย์ได้เป็นอย่างดี สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ในทุกเรื่องที่มีการดำเนินกิจกรรมอยู่ในปัจจุบัน
ปัญหา / อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
ศูนย์ยังขาดอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี เพื่อบริการด้านการศึกษาแก่เยาวชน และบริการชุมชน ขาดองค์ความรู้ และบุคลากรประจำศูนย์ แนวทางแก้ไข ต้องพัฒนาตัวบุคลากรในพื้นที่ด้านเทคโนโลยี และจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มเติม เพื่อให้ตอบสนองคนในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว
.
การบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน
1. ประชุมเพื่อร่วมกิจกรรมและวางแผนดำเนินกิจกรรมทุกเดือน
2. พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ผู้เข้ามาเรียนรู้สามารถพบข้อมูลได้ง่าย
3. จัดพื้นที่เป็นสถานที่ออกกำลังกายแก่เด็กและเยาวชนในชุมชน
.
การมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนา
1. อบต.ทุ่งพระยา สนับสนุนงบประมาณจัดสร้างอาคาร และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ
2. พัฒนาชุมชน พัฒนาเพิ่มพูนทักษะกรรมการ/พัฒนาองค์ความรู้ /สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ในศูนย์เรียนรู้
3. เกษตรส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพ
4. สาธารณสุข ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย
5. กลุ่ม/องค์กร ให้การสนับสนุนกิจกรรมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมตาม กระบวนการเรียนรู้
.
วิเคราะห์กิจกรรมชุมชนที่มีในชุมชน
การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน ใช้ศูนย์เป็นแหล่งข้อมูลของชุมชน และให้บริการด้านต่าง ๆ แก่คนในชุมชนและคนภายนอก เป็นแหล่งเรียนรู้ และศูนย์ฝึกอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าแก่กลุ่มสตรีในชุมชน เป็นที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนแม่ของแผ่นดิน เป็นเวทีประชาคมตรวจสอบครัวเรือนปลอดยาเสพติด เป็นที่ประชุมเพื่อรับทราบข่าวสารข้อมูล ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านภูเขาทอง จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความร่วมมือของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันนอกจากนี้ ศูนย์เรียนรู้ยังเป็นที่รวมของเด็กและเยาวชน ในการแสดงพลัง การรวมตัวเล่นกีฬา เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นภูมิคุ้มกันเพื่อห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย
.
วิธีการปฏิบัติการถอดบทเรียน
วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการ ระหว่างถอดบทเรียน
ศึกษาข้อมูลทั่วไปของชุมชน โดยวิธีการสำรวจ สัมภาษณ์ สังเกต การซักถาม และจัดเวที
การจัดเวที เพื่อให้ได้มาในเรื่องของการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลของชุมชน และแนวทางการแก้ไข
.
เครื่องมือการถอดบทเรียน
.การจัดเก็บความรู้ระหว่างการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR)
.การจัดเก็บความรู้ “หลังการปฏิบัติงาน : Retrospect”
ปัญหา /อุปสรรค /วิธีการแก้ไขปัญหาระหว่างถอดบทเรียน
.การจัดเวทีต้องใช้เวลามาก ทำให้คนในชุมชนเสียเวลาเนื่องจากเป็นอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ทำนา ทำสวนผัก เวลาว่างมีน้อย ต้องใช้เวลาสั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
.การเดินทางไม่สะดวก เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกล การไปมาต้องใช้เวลามาก ต้องใช้วิธีการจัดทีมวิทยากร เพื่อให้ได้ข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นและใช้เวลาน้อย
.
ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อการถอดบทเรียน
กิจกรรมการถอดบทเรียน เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ออกมาจัดให้เป็นหมวดหมู่ เป็นเอกสารที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ในแต่ละเรื่องนั้นออกมาจากภูมิรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล เพื่อประโยชน์ต่อผู้ศึกษาต่อไป ในการที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน ไปใช้ประโยชน์ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งองค์ความรู้บางเรื่องอาจสูญหาย หากมิได้มีการจัดทำไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น