ชื่อ-นามสกุล นายสิทธิชัย ปาหุไณยกุล
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ 08 97712587
ชื่อเรื่อง การสร้างโอกาสในการเรียนรู้
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การขาดโอกาสการเรียนรู้
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2552
สถานที่ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
.
เนื้อเรื่อง
จากการที่กระผมได้ทำงานสัมผัสใกล้ชิดกับพื้นที่ จึงได้รู้ว่าสิ่งสำคัญที่ชาวบ้านยังขาดอยู่ นั่นคือ “โอกาสในการได้รับการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง” กล่าวคือ แม้ในบางครั้งชาวบ้าน,07'ดโครงการหนึ่งในสิ่งที่ักษณะจากบนลงล่าง แม้ในบางครั้งจะได้รับการส่งเสริมจากกาสในการได้รับการเรียนรู้จะได้รับการอบรม/ส่งเสริมตามโครงการใดโครงการหนึ่งจากหน่วยงานราชการ แต่ก็จะเป็นไปในลักษณะจากบนลงล่าง ชาวบ้านจึงไม่มีโอกาสที่จะเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ คำถามคือ แล้วทำอย่างไรล่ะ ชาวบ้านจึงมีโอกาสได้รับการเรียนรู้อันตรงกับความต้องการของตนเอง
.
กระผมได้ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน ให้มีการจัดทำข้อมูลความต้องการในการอบรมอาชีพของคนในชุมชน ว่าแต่ละครัวเรือนมีความต้องการที่จะได้รับการอบรมอาชีพหรือการเรียนรู้เรื่องใด และให้เก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ และเมื่อมีหน่วยงานใด กลุ่มใด หรือตำบลอื่นใด ได้จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพ และการอบรมนั้นตรงกับความต้องการของคนในชุมชนที่ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลไว้ กระผมก็จะประสานไปยังหน่วยงาน กลุ่ม ผู้นำชุมชน พัฒนากร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงการนั้นๆ เพื่อให้ชาวบ้านเหล่านั้นได้มีโอกาสเข้าร่วมรับการอบรมเป็นกรณีพิเศษ แม้ชาวบ้านเหล่านั้นจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายในการอบรมก็ตาม
.
ดั่งเช่นกรณีในครั้งหนึ่ง ที่ตำบลศาลาแดงได้มีการจัดอบรมการทำไข่เค็ม กระผมได้ประสานงานไปยังตำบลศาลาแดงและพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลศาลาแดง เพื่อขอให้ชาวบ้านจากตำบลบึงน้ำรักษ์ที่มีความต้องการฝึกอาชีพการทำไข่เค็มได้มีโอกาสเรียนรู้ ในที่สุดชาวบ้านเหล่านั้นได้รับการเรียนรู้การทำไข่เค็มร่วมกับตำบลศาลาแดง โดยไม่ต้องรอโอกาสในวันข้างหน้า หลังจากนั้นชาวบ้านก็ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มไข่เค็มขึ้น โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “บึงน้ำรักษ์พัฒนา” และกลุ่มได้มีรายได้เสริมจากการทำไข่เค็มขาย
.
ในการพัฒนาทักษะอาชีพ กระผมได้นำไข่เค็มจากกลุ่มบึงน้ำรักษ์พัฒนาไปให้ผู้รู้เรื่องไข่เค็มอีกตำบลหนึ่งลองรับประทาน และได้นำไข่เค็มจากผู้รู้นั้นไปให้กลุ่มบึงน้ำรักษ์พัฒนาลองรับประทานเช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายจึงเกิดแนวคิดที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำไข่เค็ม ต่อมาจึงได้มีการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพขึ้น ดั่งเช่นข้อสรุปที่ได้ว่า “ดินจอมปลวกเป็นดินที่ดีที่สุดสำหรับการนำมาพอกไข่เค็ม”
.
สุดท้าย กระผมอยากจะบอกว่า โอกาสที่ได้รับการเรียนรู้นั้น จำเป็นต้องแสวงหา ไม่ใช่รอให้มาหาเราเอง และผมขอฝากวิธีการทำไข่เค็ม เพื่อให้ท่านที่สนใจ ได้มีโอกาสลองทำเพื่อรับประทานหรือเป็นอาชีพเสริมรายได้ก็ได้
.
วิธีการทำไข่เค็ม
1. นำไข่เป็ดมาล้างให้สะอาด
2. เตรียมดิน โดยบดดินปลวกให้ละเอียด นำมาแช่ในน้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ใส่เกลือลงไปในอัตรา เกลือ 1 ส่วน ต่อดิน 3 ส่วน
3. นำไข่เป็ดคลุกลงไปในดินที่เตรียมไว้ให้ทั่วทั้งฟอง แล้วนำมาคลุกด้วยขี้เถ้าแกลบทันทีเก็บไข่ไว้ในภาชนะเป็นเวลา 15 วัน จึงนำไปต้มได้
.
บันทึกขุมความรู้
- การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม
.
แก่นความรู้
- ฐานข้อมูลชุมชน
- เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล
.
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. จัดทำฐานข้อมูลชุมชน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำรวจปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน
2. เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล เข้าใจ คือ มีความเข้าใจในความเป็นชุมชน เข้าใจปัญหาของชุมชน และเข้าใจความต้องการของชุมชน เข้าถึง คือ มีการให้การเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างเข้าถึง ด้วยการประสานงาน และนำไปสู่ผลสำเร็จของงาน
สร้างโอกาสในการเรียนรู้ไข่เค็มครับ...
ตอบลบก็ O.K.นะ
ตอบลบได้ควมารู้ในเรื่องของการทำไข่เค็มเยอะเลย
ตอบลบ