วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พากิน พาเที่ยว ตลาดน้ำบางคล้า เมืองแปดริ้ว


ชื่อ - สกุล นายปรีชา ลีรัตนชัย
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบางคล้า
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางคล้า
เบอร์โทรศัพท์ 08-9533-9967
ชื่อเรื่อง พากิน พาเที่ยว ตลาดน้ำบางคล้า เมืองแปดริ้ว
การแก้ปัญหาเกี่ยวกับ เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2551 - ปัจจุบัน
สถานที่ หน้าที่ว่าการอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
นักช๊อป นักชิมเคยไป ตลาดน้ำเนินสะดวก , ตลาดน้ำดอนหวาย , ตลาดน้ำอัมพวา ฯลฯ แต่วันนี้ขอเชิญมาเที่ยวตลาดน้ำบางคล้ากันบ้างนะครับ
.
เมื่ออาทิตย์ก่อนนู๊น ผมพาคณะจาก กทม. ไปเที่ยว ตลาดน้ำบางคล้าโดยขึ้นทางด่วนมอเตอร์เวย์ กทม. - ชลบุรี ลงที่บางปะกง ตรงไปบางคล้า อีก 42 กม. สังเกตเป็นป้ายตลาดน้ำ บางคล้า ซ้ายมือ ตลอดเส้นทางจนถึงตลาดน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอบางคล้า
.
ตลาดน้ำบางคล้า เมื่อก้าวลงแพจะพบกับแม่ค้าน่ารักมาก อาหารอร่อยใหม่ๆ ร้อน ๆ ผมและคณะมีโอกาส ได้ทานก๋วยเตี๋ยวผัดไทแม่บุญมี , ซาลาเปาคุณป้อม , ผลไม้ดองสวนเนรัญชรา , น้ำตาลสดปากน้ำ และทานขนมถั่วแปบแป้งสดร้านคุณนิ อร่อยมากๆ และที่ลืมไม่ได้คือ กุ้งแม่น้ำเผา , ปลาช่อนอบเกลือ และอีกหลายอย่างสุดจะบรรยาย
.
ต่อจากนั้นพาเที่ยว วัดโพธิ์บางคล้า ค้างคาวแม่ไก่หลายแสนตัว เคยมีผู้ทำวิจัย ปรากฏว่าค้างคาวตัวเมียมากกว่าตัวผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่นับเท่าไรก็ไม่ถ้วน จึงอุปโหลกว่ามีมากที่สุดในโลก
.
หน้าอำเภอบางคล้า เป็นเกาะลัดทะเลน้ำจืด 8 เดือน น้ำเค็ม 4 เดือน เนื้อที่ 2,800 ไร่ มีบ้านคหบดีระดับชาติ เช่น พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ , ดร.โภคิน พลกุล , ดร.สาวิตร โพธิวิหค , พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก พร้อมทั้งที่พัก บังกะโล , รีสอร์ท และโฮมสเตร์มากมาย ตลาดเก่า ตลาดน้ำ ตลาดร้อยสิบปี ท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ อนุสาวรีย์และ สถูปเจดีย์พระเจ้าตากสิน อาหารหลากรส แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ เอกลักษณ์ท้องถิ่นตามสายน้ำบางปะกง ทัศนียภาพสวยงามริมฝั่งบางปะกงมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ประกอบด้วยต้นจาก , ต้นลำพู และชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน
.
หม่อมราชวงศ์ ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นผู้ปลุกกระแสการนำเที่ยว ตลาดน้ำบางคล้าจนติดตลาดไปแล้ว ปัจจุบันมีร้านค้า 197 แห่ง บรรยากาศร่มรื่น มีร้านค้าขายของที่ระลึก อาหาร ผลไม้ท้องถิ่นสุดพรรณนา ซึ่งเหล่านี้เป็นที่มาของบทบาทนักพัฒนาชุมชนคนบางคล้าที่ร่วมดำเนินการกับหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ยากที่จะลืมเลือน

การปรับตนเองเพื่อการทำงานอย่างมีความสุข


ชื่อ-นามสกุล นางสาวอัจฉรา เขียวภักดี
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง การปรับตนเองเพื่อการทำงานอย่างมีความสุข
วันที่บันทึกความรู้ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คนเรามักต้องพบเจอการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ เรื่อง และเรื่องที่สำคัญประการหนึ่งของการดำเนินชีวิตของเราก็คือ การทำงาน ซึ่งแต่ละคนอาจต้องโยกย้ายหรือมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานบ่อยๆ การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และการรู้จักใช้ชีวิตให้มีความสุขกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งเราคงไม่สามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ทั้งหมด แต่เราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองได้ โดยการรู้จักปรับตัวของเราเอง แต่อาจมีบางคนที่ไม่สามารถที่ปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และกับการทำงานใหม่ได้ ซึงอาจมีสาเหตุมาจากหลายๆ อย่าง เช่น

· ความเคยชิน : เคยชินกับงานทำงานแบบเดิม สถานที่เดิม และ เพื่อนร่วมงานเดิม จนติดเป็นนิสัย
· ความขี้เกียจ : อาจต้องรับภาระงานที่หนักขึ้น หรืองานที่ไม่อยากทำ ทำให้เกิดความเกียจคร้าน
· ความกังวล : การคิดอะไรไปก่อนที่จะมันจะเกิดขึ้นจริงๆ ทำให้เกิดความกังวล ว่าไม่สามารถที่จะทำได้
· การมีทัศนคติที่ไม่ดี : การมีความคิดต่องานในด้านลบ มีอคติต่องาน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่คนเราควรต้องปรับให้ได้ก่อนสิ่งอื่นๆ

สิ่งที่เราต้องทำเป็นอย่างแรกในการปรับตนเองเพื่อการทำงานอย่างมีความสุขคือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ปรับเปลี่ยนความคิดของเราที่มีต่องานใหม่ ดังคำกล่าวที่ว่า “เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน” และเมื่อเราสามารถที่จะเปลี่ยนความคิดของเราได้แล้ว การปรับเปลี่ยนสิ่งอื่นๆ ก็จะสามารถทำได้โดยง่าย ในการทำงาน ที่ใหม่ หรือเริ่มงานใหม่สิ่งที่เราต้องพบเจอ และต้องปรับตนเองนั้น อาจแบ่งได้ ดังนี้

1. การปรับตัวกับงานใหม่ : บางคนอาจได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นเราควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะปรับตัวให้สามารถทำงานใหม่ได้ โดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม สอบถามจากผู้ที่มีความชำนาญในงานนั้น และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ

2. การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน: การเข้าไปทำงานที่ใหม่เราต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆที่ทำงานอยู่ก่อนหน้า ด้วยการเข้าไปพูดคุยทำความรู้จัก ช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือ และขอคำปรึกษาในการทำงานต่างๆ ในขณะเดียวกันหากเราเป็นพนักงานเก่าเราก็ย่อมต้องรู้จักปรับตนเองให้เข้ากับคนใหม่ด้วย โดยการให้คำปรึกษา และสอนงานแก่คนใหม่ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพราะคนใหม่อาจมีประสบการณ์ในที่ทำงานเก่าที่จะสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับงานที่ทำอยู่


3.การปรับตัวเข้ากับหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา : คนเราอาจต้องปรับเปลี่ยนนิสัยการทำงานให้เข้ากับหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาเพื่อให้งานที่ทำประสบผลสำเร็จ ซึ่งหัวหน้าบางอาจเป็นคนเป็นคนทำงานละเอียด รอบคอบ บางคนอาจจะเน้นการทำงานที่รวดเร็วทันใจ ดังนั้นเราต้องรู้จักสังเกตลักษณะการทำงาน และรูปแบบการทำงานของหัวหน้าว่าเป็นอย่างไร และปรับตัวให้เข้ากับหัวหน้า มิใช่รอให้หัวหน้าปรับตัวเข้าหาลูกน้องเพียงอย่างเดียว

4. การปรับตัวกับสถานที่ทำงานใหม่ : บางคนต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงานจากเดิม จากหน้ามือเป็นหลังมือ การปรับตัวของเราต้องรู้จักคิดในแง่บวก เลือกที่จะมองหาข้อดีของสิ่งต่างๆ เพื่อจะได้อยู่อย่างมีความสุข เช่น เดิมอยู่ในเมือง ต้องมาอยู่ชนบท ก็ให้คิดว่าในเมืองมีแต่มลพิษ ชนบทอากาศดีทำให้สุขภาพดี เดิมทำงานในห้องแอร์ ต้องมาอยู่ห้องพัดลม ก็ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ใหม่ เดิมทำงานกับคอมพิวเตอร์ แต่ต้องมาทำงานประสานงานกับคนจำนวนมาก ก็ให้คิดว่าการประสานงานกับคนจำนวนมากทำให้เรามีเครือข่ายในการทำงานมากขึ้น และมีโอกาสเรียนรู้จากการทำงานของคนเหล่านั้นมากขึ้น เป็นต้น

ดังนั้นการที่เรารู้จักปรับตนเอง จะทำให้เราสามารถที่จะใช้ชีวิตไปกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเรื่องของการทำงาน ได้อย่างคนที่รู้ และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่จะตามมาคือความสุขในการทำงาน ของเรา

การดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง


ชื่อสกุล นางมาลัย วิเลปะนะ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญการ
เบอร์โทรศัพท์ 085-8154401
ชื่อเรื่อง การดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง

เนื้อเรื่อง
บ้านอ่างเตย หมู่ที่ 9 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “ อยู่ดี กินดี ” ต้นแบบ และยังเป็นหมู่บ้านศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้าน
เศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องกำหนดแนวทางการพัฒนา อยู่ที่การส่งเสริมให้ชาวบ้านสามารถพึงพาตนเองได้อย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจพอเพียง มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ความประหยัด มีการเรียนรู้ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมล้อม และความเอื้ออาทร เป็นตัวอย่างแก่หมู่บ้านอื่น ที่เข้ามาศึกษาดูงาน ในศูนย์การเรียนรู้ของหมู่บ้าน]

ขุมความรู้
- ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทำการเกษตรแบบผสมผสาน
- เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนในระดับอำเภอ ซึ่งชาวบ้านได้ดำเนินการตามจุด/ฐานเรียนรู้
เช่น การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ทำแก๊สชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ทำน้ำส้มควันไม้ และทำนาข้าว ฯลฯ

แก่นความรู้
- ชุมชนมีส่วนร่วมในขั้นตอนทุกขั้นตอนกระบวนการ
- ผู้นำมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล และต่อเนื่องในการทำกิจกรรม
- คนในชุมชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ
- คนในชุมชนเคารพกฎระเบียบ
- มีการบูรณาการระหว่างกลุ่มต่าง ๆ
- มีการเอื้ออาทรระหว่างคนในชุมชน
- มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ที่หลากหลาย และเกื้อกูลกัน
- มีแหล่งทุน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกองทุน กข.คจ.

ผลสำเร็จของงานพัฒนาชุมชน


ชื่อ – นามสกุล นางรงรอง พงษ์ชวลิต
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (พัฒนาการอำเภอ)
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 081 – 6363791
ชื่อเรื่อง ผลสำเร็จของงานพัฒนาชุมชน
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่


เนื้อเรื่อง
งานด้านพัฒนาชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำงานร่วมกับผู้นำ กลุ่ม องค์กร ภาคีการพัฒนา ซึ่งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจำเป็นต้องมีการศึกษา เรียนรู้ และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางการทำงานเสมอ ไม่ว่าการทำงานกับพื้นที่ในหมู่บ้าน ชุมชน หรือการให้ความสำคัญกับงานของภาคีทั้งหลาย หรือการทำงานในด้านการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมแก่ผู้นำชุมชน โดยเฉพาะการทำงานในพื้นที่ ที่มีความขัดแย้งภายในกลุ่ม หรือชุมชน นั้นต้องมีความละเอียดอ่อนในด้านการปฏิบัติงาน การทำงานแต่ละอย่าง แต่ละครั้งอาจมีผลที่ทำให้ฝ่ายที่มีแนวความคิดไม่ตรงผู้นำของชุมชน หรือมีเงื่อนไขในการเข้าร่วมกิจกรรม ดังนั้นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจะดำเนินกิจกรรมใดๆ จำเป็นต้องกระทำอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง หาข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่เอนเอียงไปกับฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดมองภาพของชุมชนให้แตกแยกแยะปัญหาให้กระจ่าง สร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการตัดสินใจ ไม่ใช่การชี้นำของเจ้าหน้าที่ หรือผู้นำที่มีผลประโยชน์แฝงเพียงบางกลุ่ม โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีงบประมาณลงในพื้นที่ หรือกิจกรรมที่มีผลกำไรตอบแทน ต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจ(ประชุมชี้แจงกับสมาชิก)และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องยึดติดพื้นที่ ยึดติดปัญหา ยึดติดกับผู้นำ กลุ่ม องค์กร ภาคีการพัฒนา หากเราชาวพัฒนาชุมชนตั้งใจในการทำงานแล้ว ผลสำเร็จของงานพัฒนาชุมชน คงไม่ไกลเกินจริง ซึ่งจากประสบการณ์ในการทำงานในพื้นที่ เราพบว่าผู้นำชุมชนทุกระดับ กลุ่ม องค์กร ภาคีการพัฒนาต่าง ๆให้ความร่วมมือในการจัดทำงานและการจัดกิจกรรมในพื้นที่ เป็นอย่างดี จากการใช้กลยุทธ์ในการทำงานดังกล่าวข้างต้น

ขุมความรู้
การทำงานในพื้นที่จะได้ผลสำเร็จนั้น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.การสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภาคประชาชน ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กร ภาคีการพัฒนาต่าง ๆ
2.การวางตัวเป็นกลางในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ กลุ่มต่าง ๆ
3.เป็นนักประชาธิปไตย
4.ห่วงใยพื้นที่ ไม่ทิ้งห่างปัญหา แสวงหาข้อมูล
5.อย่าลืมหลักการพัฒนาชุมชน

แก่นความรู้
อย่าใช้ความรู้สึกส่วนตนในการแก้ปัญหาในพื้นที่ ควรยึดหลักการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างทุกอย่าง จะประสบผลสำเร็จ และยั่งยืนตลอดกาล

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การทำงานในพื้นที่ต้องคำนึงถึงประชาชนในพื้นที่ คำนึงถึงสภาวการณ์ในพื้นที่และต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสม
2. มีความเป็นกลางไม่เอนเอียง มีข้อมูลที่ถูกต้องอยู่ในมือ
3. ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สองศาสนา สองวัฒนธรรม


ชื่อ – นามสกุล นางสาวอำพร ไม้แก้ว
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 085-9201905
ชื่อเรื่อง “สองศาสนา สองวัฒนธรรม”
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานในพื้นที่ที่มีการนับถือศาสนาพุทธและอิสลาม
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2552
.
เนื้อเรื่อง
การทำงานพัฒนาชุมชน ในพื้นที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนนับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ข้าพเจ้ารับผิดชอบประสานงานประจำตำบลโยธะกา และตำบลดอนเกาะกา ซึ่ง ทั้งสองตำบลมีประชาชนที่นับถือทั้งศาสนาพุทธและอิสลาม การปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าว ในระยะเวลา 1 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา งานต่าง ๆ ที่ประสานไปยังพื้นที่ก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยการประสานงานในพื้นที่ที่ประชาชนนับถือทั้ง 2 ศาสนา (พุทธและอิสลาม) ก็ต้องเข้าใจธรรมเนียมของแต่ละศาสนา เช่น ในการจัดประชุมในพื้นที่ก็ต้องกำหนดเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะศาสนาอิสลาม ต้องหลีกเลี่ยงการนัดประชุมในวันศุกร์ เนื่องจากต้องปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาที่มัสยิด และที่สำคัญ เรื่อง อาหารเวลาจัดอบรมเต็มวันก็ต้องสั่งที่รับประทานได้ทั้งพุทธและอิสลาม
.
การดำเนินงาน ภายใต้ “สองศาสนา สองวัฒนธรรม” ที่เป็นผลงานเด่นชัดที่สุด ก็คือ การดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ของชมรมบุสตา TO BE NUMBER ONE บ้าน คลองหกวา หมู่ที่ 13 ตำบลดอนเกาะกา ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นองค์ประธาน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับเยาวชนในและตำบลขึ้นมากมาย โดยชมรมบุสตาฯ ขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้สโลแกนที่ว่า “สองศาสนา สองวัฒนธรรม รวมเป็นหนึ่งเดียว” เป็นหลักในการอยู่ร่วมกันและปฏิบัติงานร่วมกัน โดยยึดคติที่ว่า “จุดปิดเราไม่ละเมิด จุดเปิดเราร่วมกัน” นั่นคือ การทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ศาสนา คือศาสนาพุทธและอิสลาม กล่าวคือ เรื่องใด สิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติทางศาสนาและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นศาสนาอิสลามหรือศาสนาพุทธ ก็ถือว่าเป็นจุดปิด จะไม่เข้าไปสอดแทรกก้าวก่าย แต่ถ้ามีส่วนใดสามารถจะช่วยส่งเสริม สนับสนุน หรือมีส่วนร่วมได้ถือว่าเป็นจุดเปิด ก็จะเข้าไปร่วมปฏิบัติ ซึ่งทำให้เกิดความสามัคคี เกิดความเข้มแข็งของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
.
กิจกรรมที่เยาวชนและผู้นำในชุมชนบ้านคลองหกวา หมู่ที่ 13 ตำบลดอนเกาะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทำร่วมกัน ซึ่งสมาชิกของชมรมร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรม เช่น การแข่งขันกีฬา , การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ , ปลูกผักสวนครัว , การทำถุงผ้า , การรณรงค์แก้ไขปัญหายาเสพติด ฯลฯ จนกระทั้งชมรมบุสตาฯ ได้เข้าประกวดโครงการ TO BE NUMBER ONE ระดับภาค ได้รับรางวัลดีเด่นระดับภาค และปัจจุบันได้รับรางวัลรองชนะเลิศประเภทชุมชนระดับประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัด
.
ดังนั้น ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่มี “สองศาสนา สองวัฒนธรรม” ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ยากอย่างที่บางท่านคิดกัน หากเราเข้าใจ เข้าถึง ประชาชนอย่างแท้จริง มีความจริงใจ เต็มใจให้บริการ ไม่ว่าจะทำพื้นที่ใด ก็สามารถทำให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้เช่นกัน
.
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
- การเข้าใจในหลักปฏิบัติของศาสนาพุทธและอิสลาม
- การทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ สองศาสนา สองวัฒนธรรม ได้อย่างราบรื่นบรรลุวัตถุประสงค์
.
แก่นความรู้ (Core Competency)
- ปรึกษาหารือ
- สร้างความพึงพอใจ
- ตั้งใจ เต็มใจบริการ เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล
.
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. ปรึกษาหารือ ก่อนทำงานในพื้นที่ก็จะปรึกษาพี่ ๆ ที่ทำงานที่มีประสบการณ์ทำงานในตำบลโยธะกา และตำบลดอนเกาะกา ตลอดจนท่านพัฒนาการอำเภอ ว่าแต่ละหมู่เป็นอย่างไร นับถือศาสนาอะไร เพื่อเตรียมใจ และวางแผนการทำงาน
2. สร้างความพึงพอใจ สร้างความพึงพอใจในการทำงานในแต่ละหมู่บ้านวางตัวเป็นกลาง ชี้แจงเหตุผลในการจัดประชุมแต่ละครั้งว่ามีวัตถุประสงค์อะไร และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไร ให้ความสำคัญกับการจัดหาอาหารกลางวันกับร้านอิสลาม รับประทานได้ทั้งพุทธและอิสลาม
3. ตั้งใจ เต็มใจบริการ เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล มีความตั้งใจในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเต็มใจในการให้บริการประชาชนทุกคน ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนได้รับความร่วมมือในการประสานงานต่าง ๆ ในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนงานสำเร็จด้วยดี

การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ชื่อ-นามสกุล นางอมรา วงศ์ศรีรัตน์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 089-7542866
ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ดอกไม้จันทน์หลากสี)
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ รูปแบบผลิตภัณฑ์ ลดมลภาวะ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2546
สถานที่ หมู่ที่18 ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
.
เนื้อเรื่อง
งานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน / กลุ่ม / องค์กรต่างๆ ในปี พ.ศ 2540 เศรษฐกิจเริ่มตกต่ำ ทุกคนเริ่มคิดที่จะรวมกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสตรีเป็นงานที่ข้าพเจ้าชอบ ข้าพเจ้าได้ทำงานร่วมกับองค์กรสตรี และมีการส่งเสริมอาชีพ จัดประชุมกลุ่มสตรีที่ประชุมก็ขอให้มีการจัดฝึกอบรมทำดอกไม้ประดิษฐ์ ประเภทดอกไม้จันทน์ ซึ่งอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ทำอยู่กับบ้าน และใช้เวลาว่างจากงานประจำก็สามารถทำและมีรายได้เสริม แล้วอาชีพนี้ต้องมีตลาดรองรับแน่นอน แต่รูปแบบก็ยังเป็นรูปแบบเดิมๆที่ทำกันอยู่ทั่วไป
.
ข้าพเจ้าได้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว มีคำสั่งให้ปฎิบัติงานตำบลศาลาแดง ข้าพเจ้าได้สานต่อโดยการส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มสตรี เนื่องจากข้าพเจ้าเคยสนิทคุ้นเคยกับกลุ่มฯเพราะเคยเชิญกลุ่มไปเป็นวิทยากรสอนให้ความรู้กับสตรี ที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
.
ดอกไม้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์หลากสี ซึ่งเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับตอนนั้น เริ่มแรกก็ยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่าไหร่มีการต่อต้านว่างานศพไม่ควรใช้ดอกไม้จันทน์ที่มีสีสัน บางครั้งคนที่ซื้อไปก็ยังไม่ค่อยกล้าเท่าไหร่กลัวจะถูกวิจารณ์ แต่ประธานกลุ่มให้เหตุผลว่าดอกไม้หน้าศพหรือพวงหรีดก็ยังมีสีสรรสวยงามเพื่อให้เจ้าภาพ และแขกที่มาในงานใจไม่หดหู่ แล้วดอกไม้จันทน์ทำไมหลากสีไม่ได้
.
ในปี 2546 มีการลงทะเบียนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และมีการคัดสรรผลิตภัณฑ์ชุมชนดอกไม้จันทน์หลากสีตำบลศาลาแดง ได้รับรางวัล ระดับ 5 ดาว และคัดสรรระดับประเทศได้ ระดับ 3 ดาว กลุ่มสตรีดอกไม้ประดิษฐ์แสงจันทร์ ภายใต้การดูแลของนางปราณี แสงจันทร์ เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เราจำนำเสนอในวันนี้ โดยนางปราณี แสงจันทร์ ได้พัฒนารูปแบบใหม่ๆ ที่มีสีสันสวยงาม ที่มาแห่งความเชื่อว่าดอกไม้จันทน์ที่สามารถส่งคนขึ้นสวรรค์ได้ จึงได้คิดรูปแบบใหม่ๆ อาทิเช่น ดอกไม้จันทน์เป็นดอกลีลาวดี ดอกแก้ว ดอกจำปี ดอกกุหลาบ ดอกบัว ดอกทิวลิป , มีช่อประธานทั้ง ช่อเล็ก ช่อใหญ่ ,ช่อเชิญพระ สำหรับพระสงฆ์
.
ความหลากหลายของสีสัน สีขาวม่วง สีครีม สีโอรส สีเขียวครีม สีเขียวเข้ม สีชมพู สีเหลือง สีเหลืองทอง สีแดง สีฟ้า การพัฒนากลุ่มได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันทำพวงหรีดดอกไม้จันทน์หลากสี ซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ด้วยแนวคิดของประธาน และความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกกลุ่มสตรี
นอกจากนี้ยังช่วยลดมลภาวะโดยการนำก้านธูปที่วัดหลวงพ่อโสธรที่ผู้คนมาสักการะวันละมากๆนำมาเป็นส่วนประกอบชิ้นหนึ่งในการทำดอกไม้จันทน์
.
การประยุกต์ใช้ดอกไม้จันทน์พวงหรีดนี้เป็นการช่วยลดต้นทุนให้แก่ผู้เป็นเจ้าของงาน เพราะพวงหรีดดอกไม้จันทน์เมื่อเจ้าภาพได้รับจากผู้มาเคารพศพ ถึงเวลาประชุมเพลิงเจ้าภาพก็แกะดอกไม้จันทน์ใส่พานให้แขกที่มาร่วมประชุมเพลิง
.
ปัจจุบันดอกไม้จันทน์หลากสีตำบลศาลาแดง เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย มีผู้ติดต่อจากจังหวัดต่างๆขอมาศึกษาดูงาน และเชิญกลุ่มไปเป็นวิทยากรสอนให้ความรู้ จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปหลายจังหวัด ก่อให้กลุ่มมีรายได้ต่อเนื่อง และทางกลุ่มก็ได้จำหน่ายอุปกรณ์ วัตถุดิบ เนื่องจากผู้มาศึกษาดูงานให้ความสนใจสามารถซื้อกลับไปทำที่บ้าน สำหรับผู้ที่มาศึกษาดูงานซื้อไปประกอบเองที่กลุ่ม และสร้างเครือข่ายร่วมกัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นดอกไม้จันทน์หลากสี และการปฎิบัติงานเพื่อสังคม ส่งผลให้นางปราณี แสงจันทร์ ได้รับปริญญาศิลปะศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา
.
บันทึกขุมความรู้
- งานพัฒนาชุมชนกับการมีส่วนร่วม
- สตรีกับการพัฒนาอาชีพ
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
- ผลิตภัณฑ์ช่วยลดมลภาวะ
.
แก่นความรู้
- ศึกษาปัญหารับทราบช้อมูล
- ประชุมปรึกษาหารือ
- ใช้ภูมิปัญญาพัฒนารูปแบบลดค่าใช้จ่าย/ลดมลภาวะ
.
กลยุทธในการทำงาน
1. ศึกษาปัญหา รับทราบข้อมูล ก่อนดำเนินการให้ศึกษาข้อมูลในพื้นที่ที่จะดำเนินการ โดยหาข้อมูล เก็บข้อมูล และนำมาจัดทำโครงการ เพื่อให้ผู้นำสามารถช่วยเราจัดการและสนับสนุนการทำงานและหาตลาดให้กลุ่มที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะที่ปรึกษา
2.ปรึกษาหารือ กับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและขอรับการสนับสนุนจากกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน และสร้างความเข้าใจกับชุมชน
3. สร้างความพึงพอใจ ให้กับกลุ่มและผู้มาศึกษาดูงาน ลดมลภาวะ/ค่าใช้จ่าย
4. งานสัมฤทธิผลรู้สึกเป็นสุข สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของ
เบอร์โทรฯ ติดต่อกลุ่ม คุณปราณี แสงจันทร์ 081-7511248

การสร้างโอกาสในการเรียนรู้

ชื่อ-นามสกุล นายสิทธิชัย ปาหุไณยกุล
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ 08 97712587
ชื่อเรื่อง การสร้างโอกาสในการเรียนรู้
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การขาดโอกาสการเรียนรู้
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2552
สถานที่ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
.
เนื้อเรื่อง

จากการที่กระผมได้ทำงานสัมผัสใกล้ชิดกับพื้นที่ จึงได้รู้ว่าสิ่งสำคัญที่ชาวบ้านยังขาดอยู่ นั่นคือ “โอกาสในการได้รับการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง” กล่าวคือ แม้ในบางครั้งชาวบ้าน,07'ดโครงการหนึ่งในสิ่งที่ักษณะจากบนลงล่าง แม้ในบางครั้งจะได้รับการส่งเสริมจากกาสในการได้รับการเรียนรู้จะได้รับการอบรม/ส่งเสริมตามโครงการใดโครงการหนึ่งจากหน่วยงานราชการ แต่ก็จะเป็นไปในลักษณะจากบนลงล่าง ชาวบ้านจึงไม่มีโอกาสที่จะเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ คำถามคือ แล้วทำอย่างไรล่ะ ชาวบ้านจึงมีโอกาสได้รับการเรียนรู้อันตรงกับความต้องการของตนเอง
.
กระผมได้ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน ให้มีการจัดทำข้อมูลความต้องการในการอบรมอาชีพของคนในชุมชน ว่าแต่ละครัวเรือนมีความต้องการที่จะได้รับการอบรมอาชีพหรือการเรียนรู้เรื่องใด และให้เก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ และเมื่อมีหน่วยงานใด กลุ่มใด หรือตำบลอื่นใด ได้จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพ และการอบรมนั้นตรงกับความต้องการของคนในชุมชนที่ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลไว้ กระผมก็จะประสานไปยังหน่วยงาน กลุ่ม ผู้นำชุมชน พัฒนากร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงการนั้นๆ เพื่อให้ชาวบ้านเหล่านั้นได้มีโอกาสเข้าร่วมรับการอบรมเป็นกรณีพิเศษ แม้ชาวบ้านเหล่านั้นจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายในการอบรมก็ตาม

.
ดั่งเช่นกรณีในครั้งหนึ่ง ที่ตำบลศาลาแดงได้มีการจัดอบรมการทำไข่เค็ม กระผมได้ประสานงานไปยังตำบลศาลาแดงและพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลศาลาแดง เพื่อขอให้ชาวบ้านจากตำบลบึงน้ำรักษ์ที่มีความต้องการฝึกอาชีพการทำไข่เค็มได้มีโอกาสเรียนรู้ ในที่สุดชาวบ้านเหล่านั้นได้รับการเรียนรู้การทำไข่เค็มร่วมกับตำบลศาลาแดง โดยไม่ต้องรอโอกาสในวันข้างหน้า หลังจากนั้นชาวบ้านก็ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มไข่เค็มขึ้น โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “บึงน้ำรักษ์พัฒนา” และกลุ่มได้มีรายได้เสริมจากการทำไข่เค็มขาย
.
ในการพัฒนาทักษะอาชีพ กระผมได้นำไข่เค็มจากกลุ่มบึงน้ำรักษ์พัฒนาไปให้ผู้รู้เรื่องไข่เค็มอีกตำบลหนึ่งลองรับประทาน และได้นำไข่เค็มจากผู้รู้นั้นไปให้กลุ่มบึงน้ำรักษ์พัฒนาลองรับประทานเช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายจึงเกิดแนวคิดที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำไข่เค็ม ต่อมาจึงได้มีการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพขึ้น ดั่งเช่นข้อสรุปที่ได้ว่า “ดินจอมปลวกเป็นดินที่ดีที่สุดสำหรับการนำมาพอกไข่เค็ม”
.

สุดท้าย กระผมอยากจะบอกว่า โอกาสที่ได้รับการเรียนรู้นั้น จำเป็นต้องแสวงหา ไม่ใช่รอให้มาหาเราเอง และผมขอฝากวิธีการทำไข่เค็ม เพื่อให้ท่านที่สนใจ ได้มีโอกาสลองทำเพื่อรับประทานหรือเป็นอาชีพเสริมรายได้ก็ได้
.
วิธีการทำไข่เค็ม
1. นำไข่เป็ดมาล้างให้สะอาด
2. เตรียมดิน โดยบดดินปลวกให้ละเอียด นำมาแช่ในน้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ใส่เกลือลงไปในอัตรา เกลือ 1 ส่วน ต่อดิน 3 ส่วน
3. นำไข่เป็ดคลุกลงไปในดินที่เตรียมไว้ให้ทั่วทั้งฟอง แล้วนำมาคลุกด้วยขี้เถ้าแกลบทันทีเก็บไข่ไว้ในภาชนะเป็นเวลา 15 วัน จึงนำไปต้มได้
.
บันทึกขุมความรู้
- การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม

.
แก่นความรู้
- ฐานข้อมูลชุมชน
- เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล
.
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. จัดทำฐานข้อมูลชุมชน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำรวจปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน
2. เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล เข้าใจ คือ มีความเข้าใจในความเป็นชุมชน เข้าใจปัญหาของชุมชน และเข้าใจความต้องการของชุมชน เข้าถึง คือ มีการให้การเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างเข้าถึง ด้วยการประสานงาน และนำไปสู่ผลสำเร็จของงาน

การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ชื่อ – สกุล นางสาวปนัฐวรรณ เสงี่ยมจิตร์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์ติดต่อโทร. 089-8686386
ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เมษายน ปี 2552
.
เนื้อเรื่อง
การดำเนินกิจกรรมหลักของหมู่บ้านบ้านคลองกลาง หมู่ที่ 11 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และบนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท และคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ และมีกิจกรรมเครือข่ายอื่นๆ ได้แก่ โรงสีข้าวชุมชน ร้านค้าชุมชน ปั้มน้ำมันซื้อน้ำมันในราคายุติธรรม กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด และมีกิจกรรมช่วยเหลือคนในหมู่บ้าน อาทิเช่น การจัดสวัสดิการให้แก่คนจน คนชรา ผู้ด้อยโอกาส ซึ่งผู้นำหมู่บ้านได้กำหนดเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต และแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในชุมชน จึงได้รับคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาชุมชนกบินทร์บุรีส่งเข้าร่วมประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ของจังหวัดปราจีนบุรี ในปี 2552
.
ในปี 2552 กรมการพัฒนาชุมชนมีการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านเกณฑ์ชี้วัด 6 X 2 และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลกบินทร์ได้ให้ความรู้ ความเข้าใจในการประเมินฯ และดำเนินการแล้ว พบว่า
.
1. การลดรายจ่าย
ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว ในบริเวณบ้านเพื่อบริโภคในครัวเรือน เหลือก็สามารถจำหน่ายเพิ่มรายได้ และได้บริโภคผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษ ช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้นเองและใช้ภายในกลุ่ม เพื่อเป็นการลดต้นในการซื้อปุ๋ยเคมี และใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
.
2. การเพิ่มรายได้
นอกจากทุกครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายแล้ว ยังมีการประกอบอาชีพที่เพิ่มรายได้แก่คนในชุมชน การเพาะเห็ดในบริเวณบ้านเพิ่มรายได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเลี้ยงโค ที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงเป็นอย่างดีเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเป็นอย่างยิ่ง
.
3. การประหยัด
บ้านคลองกลางมีกลุ่มองค์กรและกองทุนในชุมชนที่ทุกคนร่วมกันก่อตั้ง ประกอบด้วย กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโค-กระบือ กลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน
.
4. การเรียนรู้
ราษฎรบ้านคลองกลางมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้ยั่งยืน
.
5. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
บ้านคลองกลาง มีการใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติ ทั้งในการประกอบอาชีพและใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการใช้เศษไม้ในการหุงต้มอาหาร การทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักใช้เองในชุมชน
.
6. เอื้ออารี
บ้านคลองกลางมีกิจกรรมช่วยเหลือเด็ก คนยากจน คนชรา คนด้อยโอกาส และขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ และคนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการปลูกป่า ถางหญ้า ตามโครงการหน้าบ้านน่ามอง
.
กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากภาคีการพัฒนา เช่น พัฒนาชุมชน เกษตร ปศุสัตว์ ประมง องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น นอกจากนี้ สมาชิกกลุ่มยังได้สร้างการเรียนรู้เพิ่มเติมโดยการฝึกอบรม และการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาตนเองและการไปสู่มืออาชีพอย่างแท้จริง ดังเช่นการฝึกอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง การศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และการฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นต้น
.
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- จุดคลิ๊ก ชีวิตเปลี่ยน
- ความรู้เข้าใจถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แก่นความรู้ (Core Competency)
- การศึกษาพื้นที่โดยการปรึกษาหารือ
- ตั้งใจ เต็มใจบริการ เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล
.
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การศึกษาพื้นที่โดยการปรึกษาหารือ
ก่อนเข้าทำงานในพื้นที่ จะต้องมีการปรึกษาพี่ที่ทำงานที่มีประสบการณ์ทำงานในตำบลกบินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน และพัฒนาการอำเภอ ว่าแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน

2. ตั้งใจ เต็มใจบริการ เข้าใจ เข้าถึง งานสัมฤทธิ์ผล
มีความตั้งใจในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เต็มใจในการให้บริการประชาชน ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนความร่วมมือในการประสานงานต่างๆ ของพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนนสำเร็จลุล่วงด้วยดี

แนวทางการดำเนินงานโครงการ กข.คจ.

ชื่อ-นามสกุล นายนภดล มโนอิ่ม
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 038-581441
ชื่อเรื่อง แนวทางการดำเนินงานโครงการ กข.คจ.
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การไม่คืนเงินยืมของครัวเรือเป้าหมาย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ .2546
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านบึงตาหอม ม.7 ต.โยธะกา อ.บางน้ำเปรี้ยว
.
เนื้อเรื่อง
ครัวเรือนเป้าหมายที่ยืมเงินตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของหมู่บ้านนี้ค้างชำระตั้งแต่เมื่อปี 2536 ครั้งแรกจนถึงปี พ.ศ.2546เนื่องจากเป็น หมู่บ้านที่ประชาชนส่วนใหญ่ปรกอบอาชีพทำนาและมีปัญหาน้ำท่วมนา น้ำเค็มเข้าถึงท้องนาเป็นประจำทุกๆปีทั้งที่ตามสัญญายืมเงินไปประกอบอาชีพทำนา ไม่ใช่ยืมไปเลี้ยงวัวที่ต้องใช้เวลาในการคืนเงินยืมตามระเบียบที่ว่าการใช้คืนเงินยืมภายในระยะเวลา 5 ปี การเข้าไปพูดคุยและตามลูกหนี้จนในปัจจุบันสามารถคืนเงินยืมทุกรายและการยืมเงินเป็นปัจจุบันมีระบบ บัญชีที่ถูกต้อง กรรมการเข้าใจในระบบ
.
บันทึกขุมความรู้
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนไม่จำเป็นต้องใช้คืนเงินยืมภายในระยะเวลา 5 ปีหรือทำสัญญายืมเงินกำหนดชำระคืนภายใน 5 ปี
.
แก่นความรู้
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนการยืมเงินให้เป็นความต้องการและจำเป็นจริงๆของผู้กู้จะไม่มีปัญหาในการใช้คืนเงินคืน
.
กลยุทธ์ในการทำงาน
ตามระเบียบที่ทำให้เป็นปัญหาไม่จำเป็นต้องแจ้งกรรมการหรือลูกหนี้ให้ทราบทั้งหมด การยืมเงินให้ทำให้ลูกหนี้เห็นว่าเป็นการยากที่จะได้เงินยืมจะทำให้เขาเหล่านั้นยึดรักษาระเบียบอย่างเคร่งครัด จะทำให้เกิดปัญหากับการติดตามลูกหนี้เป็นรายคนสามารถแก้ปัญหาได้ทีละคน
.
กฎระเบียบ แนวคิด ที่เกี่ยวข้อง
การเขียนสัญญายืมผู้ยืมต้องเขียนเองต่อหน้ากรรมการและต้องลงลายมือชื่อ เองในสัญญายืมโดยคู่สมรสหรือทายาทต้องรู้เห็นการยืมด้วย การขูดลบผู้ลงลายมือชื่อกำกับคือผู้ยืม

การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม


ชื่อ – นามสกุล นายชูชาติ เอี่ยมวิจิตร์
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 089-9841207
ชื่อเรื่อง การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานร่วมกันภายในองค์กร
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน

.

เนื้อเรื่อง
การแก่ไขปัญหา การบริหารงานของราชการวันนี้ จะเกิดปัญหาอะไรก็ตามผู้รับผิดชอบ คือหัวหน้า หรือที่ เรียกว่า “ผู้บริหาร” ถ้าจะให้ผู้บริหารมีศักยภาพในการแก่ไขปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาระบบความคิด ให้สามารถคิดเชิงการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผมเองก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำหน้าที่การบริหารงานพัฒนาชุมชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ก็ได้ศึกษาหลักการ แนวทาง ระเบียบวินัย ของข้าราชการ นำมาปรับใช้ในการบริหารงานอยู่ตลอดเวลา ว่า ทำอย่างไร ผู้บริหารงานพัฒนาชุมชน จะคิดงานในลักษณะ Positive Shocking กล่าวคือ คิดงานทันเกม ทุกคนยอมรับและมีผลต่องานพัฒนาชุมชน

.

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
วิธีการก็คือ ผมอยากเสนอว่า ความคิดของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญถ้าจะพัฒนาความคิดปัจจุบัน เราควรจะพัฒนาในประเด็นสำคัญ คือ
1.ปรับความรู้ ความคิดใหม่ โดยเฉพาะการปรับปรุงในเรื่องข้อมูลข่าวสาร วิธีการทำงาน
2.ปรับกระบวนการบริหารใหม่ ให้รู้จักการทำงานแบบบูรณาการ ทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม สร้างลักษณะความเป็นผู้นำกับคนในองค์กร
3.ปรับวัฒนธรรมการทำงานใหม่ ทำงานให้รู่จักประหยัด ลดขั้นตอนที่สำคัญ หรือในสำนักงาน ควรจะมีบรรยากาศการทำงาน
.
ทั้ง 3 ประเด็น ผมได้นำมาพัฒนาตนเองให้ทันสมัย เพราะต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัด และกรมการพัฒนาชุมชน วิธีการปรับความรู้ ความคิดใหม่ ปรับกระบวนการบริหารใหม่ และปรับวัฒนธรรมการทำงานใหม่ ทำให้การบริหารงานพัฒนาชุมชนบรรลุวัตถุประสงค์ ของการบริหารงานภาครัฐ คือเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจของประชาชน

.
แก่นความรู้ (Core Competency)
ในการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ของผมได้ให้บุคคลในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการบริหารด้วย โดยไม่ได้ผูกขาดกับการเป็นผู้นำ หรือหัวหน้า ทุกคนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน คือ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมติดตามประเมินผล นอกจากบุคคลภายในองค์กรแล้ว การบริหารงานของผมยังต้องบูรณาการ กับหน่วยงานภาคีการพัฒนาอื่นๆ ด้วย ทำให้งานพัฒนาชุมชนได้รับความร่วมมือด้วยดีจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตามการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมก็มิได้ประสพผลสำเร็จไปทุกประการ เคยมีปัญหาด้านการบริหารงานคือบุคคล คือ บุคลากรในองค์กรของเราเกิดการขัดแย้ง ไม่เข้าใจ ไม่ทำงานร่วมกัน ผมก็ได้นำหลักความต้องการของมนุษย์เข้ามาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ ดังนั้นถ้าเราเข้าใจ และสามารถวิเคราะได้ว่าบุคคลที่มีปัญหา เขามีปัญหาความต้องการในเรื่องอะไร เราก็สามารถหาวิธีการ แก่ไขปัญหาได้โดยยึดหลัก การมีส่วนร่วม คือการเข้าไปพูดคุย และสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทำให้บุคคลเหล่านั้น อยู่ร่วมกันได้ทำงานอย่างมีความสุขเกิดประสิทธิ์ผลของงาน และเรื่องส่วนตัวอย่างดี

.

กลยุทธ์ในการทำงาน
การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ผมได้นำกลยุทธ์ “นโม” คือ ใช้ หลักความอ่อนน้อมที่ตัวผมเองมีอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้
1. นโม อยู่ที่ใจ มีใจดี คิดดี และทำดีต่อผู้อื่น
2. นโม อยู่ที่หน้า ยิ้มแย้ม เบิกบาน จริงใจ
3. นโม อยู่ที่ศรีษะ รู้จักสัมมาคารวะก้มศรีษะเมื่อพบผู้ใหญ่
4. นโม อยู่ที่ตัว เคารพนบนอบ อย่าถือดี
5. นโม อยู่ที่ปาก พูดจาดี ไม่ส่อเสียด

ดังนั้น การบริหารงานคงจะไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ผู้บริหารงานสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติแล้วประสพผลสำเร็จได้ทุกเรื่อง รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผม คงจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่สนใจและนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมต่อไป...

แนวทางการดำเนินงาน ศอช.ต.

ชื่อ – สกุล ว่าที่ ร.ต.จักพันธ์ คำแท้
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 08-6816-9973
ชื่อเรื่อง ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนอย่างไรให้เข้มแข็ง
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ แนวทางการดำเนินงาน ศอช.ต.
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2551
สถานที่ ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
.

เนื้อเรื่อง
ศอช. เป็นการผนึกกำลังของผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรเครือข่าย ให้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน ดำเนินการในรูปแบบเครือข่าย เป็นองค์การภาคประชาชน ชื่อเต็มว่า
“ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน” ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งในงานพัฒนาชุมชนด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถผู้นำ /กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายองค์การชุมชน ฉะนั้นหน่วยงานจำเป็นต้องกำหนดผู้รับผิดชอบและผู้รับผิดชอบต้องกระตุ้นคณะกรรมการ ศอช.ทุกระดับให้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ และประโยชน์ที่จะได้รับต่อชุมชน เกิดจิตอาสาในการแก้ไขปัญหาชุมชน ในที่สุดความสำเร็จในการขับเคลื่อน ศอช.เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน

.
การก่อเกิด ศอช.ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา นั้น..ได้แรงผลักดันทั้งส่วนภาคราชการเอกชนภายในตำบลโดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนคอยให้คำปรึกษาและในฐานะเป็นกรรมการและเลขานุการคณะทำงานส่งเสริมศูนย์ประสานงานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน เริ่มแรกการประสานงานเป็นไปด้วยความล่าช้าเนื่องจากกลุ่มองค์กรยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ยังไม่มีจิตอาสา ต่อมามีการประชุมบ่อยขึ้นคณะกรรมการเริ่มเข้าใจในบทบาทมากขึ้นทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
.

กว่าจะเป็น ศอช.ต.ท่าถ่าน ที่เข้มแข็งเริ่มแรก ผู้รับผิดชอบต้องศึกษาทำเข้าใจในระเบียบกระทรวงมหาไทยว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน พ.ศ.2551 ต่อจากนั้นต้องสร้างความใจในเวทีสาธารณะต่างๆ กับ ผู้นำชุมชน /กลุ่ม/ องค์กร เครือข่าย ว่า ศอช. คืออะไร ได้ประโยชน์อะไร ทำไมต้องมี ศอช. หน้าที่สำคัญของ ศอช.มีอะไรบ้าง และประกอบด้วยใครบ้าง
.

เมื่อสร้างความเข้าใจในเบื้องต้นแล้วให้เวทีคัดเลือกคณะกรรมการกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน เมื่อได้คณะกรรมการฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อำเภอรับรองผลการคัดเลือกคณะกรรมการฯโดยออกเป็นประกาศอำเภอ ต่อจากนั้น ประธาน ศอช.ต. เรียกประชุมคณะกรรมการฯ ในการจัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำระเบียบข้อบังคับ ดำเนินการสำรวจกลุ่มองค์กรภายในตำบล ว่ามีกลุ่มอะไรบ้าง ใครเป็นประธาน มีเงินทุนเท่าไร มีผลิตภัณฑ์อะไร ซึ่งมีที่ทำการ ศอช.ต.ท่าถ่าน ตั้งอยู่ ณ อบต.ท่าถ่าน
.
เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าว ได้จัดทำแผนผังคณะกรรมการ ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆติดตั้งภายในศูนย์ฯ ต่อจากนั้น กรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้เลือก ศอช.ต.ท่าถ่านเป็นพื้นที่นำร่องศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน(ภาคกลาง) ดำเนินโครงการตำบลนำร่องสมานฉันท์ด้วยมาตรฐานงานชุมชนและจิตสำนึกพลเมืองด้านการจัดการความขัดแย้งของชุมชน ผลผลิตที่ได้จากโครงการนี้ คือ โครงสร้างและกระบวนการทำงาน ด้านการบริหารงบประมาณ และทรัพยากร ด้านการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย ด้านการจัดสรรผลประโยชน์ต่อสมาชิก และได้ดำเนินโครงการอบรมหลักสูตรพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ให้กับคณะกรรมการ ศอช.ต.ท่าถ่าน ทำให้คณะกรรมการ ศอช.ได้รับความรู้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
.
การแก้ปัญหาชุมชนโดยศูนย์ยุติธรรมชุมชนพนมสารคาม การจัดเวทีพูดคุยหาทางออกของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การป้องกันและเผยแพร่ให้ความรู้ เช่น การจัดบอร์ดกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจแนวทางการปฏิบัติ เรื่องการลดความขัดแย้งภายในชุมชนเพื่อยุติคดีก่อนถึงกระบวนการทางศาลยุติธรรมทางสถานีวิทยุชุมชนพนมสารคาม ในที่สุดคณะกรรมการ ศอช.ต.ท่าถ่าน เริ่มเข้าใจในบทบาทหน้าที่/เข้าใจแนวทางในการแก้ไขปัญหาชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน การทำงานโดยมีแผนปฏิบัติการ ทำงานร่วมกับภาคี และดำเนินการจัดเวที ศอช.ต.สัญจรเพื่อได้รับทราบปัญหาต่างๆภายในหมู่บ้านตำบลทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด วิเคราะห์ปัญหา การแก้ปัญหาของชุมชนด้วยวิถีทางชุมชน คือ คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน
.

การขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนให้เข้มแข็ง ผู้รับผิดชอบต้องศึกษาให้เข้าใจในแนวทางการดำเนินงาน ศอช. ต้องสร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการ ศอช.และภาคีเครือข่าย และที่สำคัญต้องกระตุ้นให้คณะกรรมการ ศอช.มีจิตอาสารับใช้ชุมชนโดยไม่หวังค่าตอบแทน แล้วผู้รับผิดชอบต้องมีการติดตามเป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
.
แนวคิดทฤษฏีที่นำมาใช้
การมีส่วนร่วม/การทำงานเป็นทีม/การจัดการความรู้/การบริหารจัดการ/การสร้างเครือข่าย/
หลักการดำเนินงานตามระบบมาตรฐานงานชุมชน
.

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1. ความร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ ในชุมชนตำบลท่าถ่าน โดยการสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก
และเป็นคณะกรรมการ
2. ประชาชนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี มีวินัยในตนเองจะเห็นได้จากความร่วมมือ
ในการทำกิจกรรม ทุกคนให้ความร่วมมือพึ่งพอใจในการปฏิบัติงาน
3. การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
4. คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ตลอดจนสมาชิกมีความรับผิดชอบสูง จึงทำให้งานดำเนิน
ไปด้วยความเรียบร้อย
5. ชุมชนมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ ศอช.ต. สังเกตได้จากชุมชนไม่มีความขัดแย้ง และไม่มีการทะเลาะวิวาท เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ในกรอบของผู้ปกครอง
6. มีตัวแทนภูมิปัญญาชาวบ้านในคณะกรรมการ ศอช.ต.ในการเผยแพร่ข่าวสาร วิชาชีพ
กฎหมาย ศิลปะ วัฒนธรรมของชุมชน
7. กองทุนหมู่บ้านสามารถให้ทุนในการกู้ยืมกับชาวบ้านในการประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง
8. มีศูนย์เรียนรู้ มีวิทยากรให้ความรู้ด้านวิชาชีพ
9. กลุ่มสตรีร่วมทำกิจกรรมในการพัฒนาหมู่บ้าน กิจกรรมสตรีอำเภอ กิจกรรมสตรีจังหวัด
10.กลุ่มฌาปนกิจช่วยเหลือเงินเบื้องต้นกับสมาชิกที่เสียชีวิต
11.มีการถ่ายทอดความรู้ระหว่างเครือข่ายโดยคณะกรรมการ ศอช.ต.ในหมู่บ้าน ตำบล
.

แก่นความรู้ ( Core Competencies)
1. สร้างความพอใจ
2. วิธีการยุติข้อพิพาทก่อนถึงศาลพิจารณาคดี
3. จัดเวทีประชาพิจารณ์
4. จัดหาคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ย/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในรูปแบบ ศอช.ต.
5. ความเชื่อมั่นในตนเอง
6. คณะกรรมการ ศอช.ต.เข้าใจในบทบาทหน้าที่
7. การได้รบผลประโยชน์ร่วมกัน
8. การพัฒนาความรู้ของคณะกรรมการ ศอช.ต โดยจัดเวทีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง การเข้ารับการอบรมจากหน่วยราชการ
9. การระงับข้อพิพาทภายในหมูบ้าน ตำบล ในรูปแบบการทำงาน ศอช.ต.ร่วมกับศูนย์
ยุติธรรมชุมชนพนมสารคาม
10. จัดทำระเบียบ ศอช.ต. ภายใต้ระเบียบกระทรวงมหาไทยว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์
ประสานงานองค์การชุมชน พ.ศ.2551
11. ส่งเสริมให้ชุมชนรู้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิพึงได้/กฎหมายประจำวัน
12. สร้างให้เกิดการยอมรับโดยเปิดโอกาสให้ผู้อื่นแต่คงความสามารถ/คิดเห็น โดยเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเรียน/ชุมชน เสริมให้ตระหนักโดยการรับฟังความคิดเห็น
13. ประกาศทางอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการ ศอช.ต.ท่าถ่าน
14. คำสั่งอำเภอแต่งตั้งทำงานส่งเสริม ศอช.ต.ท่าถ่าน
.

กลยุทธ์ในการทำงาน
1. วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ศอช.ต.ท่าถ่าน
1.1เพื่อให้ผู้นำชุมชน/กลุ่ม/องค์กรชุมชน/เครือข่ายองค์การชุมชน/ชุมชน ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน
1.2เพื่อให้ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ
.

2. ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน
ในฐานะพัฒนากรได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน ดังนี้
1. จัดประชุมชาวบ้าน/ผู้นำ/กลุ่มองค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจถึงหลักการแนวทาง
ดำเนินงานประสานงานองค์การชุมชนตำบล ท่าถ่าน โดยมีผู้เข้ร่วม 50 คน
2. นัดประชุมผู้แทนกลุ่มองค์กรต่างๆ เพื่อพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการบริหาร
ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน
3. ออกหนังสือประกาศอำเภอพนมสารคาม เรื่องรับรองผลการคัดเลือกคณะกรรมการ
ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2551
4. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอพนมสารคามขอความร่วมมือจากหัวหน้างานในสังกัด
มท.ระดับอำเภอและหน่วยภาคีการพัฒนาฯ พิจารณาคัดเลือกข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
และ อปท.เป็นคณะทำงาน ร่วมกับ นายก อบต.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน(คณะส่งเสริม ศอช.ต.ท่าถ่าน)
5. ออกคำสั่งอำเภอพนมสารคาม เรื่องการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน ที่ 111/2551 สั่ง ณ วันที่ 19 มีนาคม 2551
6. ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน
และคณะทำงานส่งเสริมศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านเพื่อร่างระเบียบและกำหนดแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน
7. ดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน ตามแผนที่กำหนด
8. ติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน
9. สรุปบทเรียนในการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน
10. ประเมินผลการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน
.

3. ผลสำเร็จของงาน (เชิงประมาณ/คุณภาพ)
1.มีสถานที่ทำการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน จำนวน 1 แห่ง ที่ตั้งอยู่ที่
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าถ่าน
2.ได้คณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านที่มีความสามารถในการบริหารจัดการจากกลุ่ม/องค์กร 7 หมู่บ้าน ได้คณะทำงาน 1 คณะ 25 คน
3.มีแผนปฏิบัติงานประจำปีของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถาน ดังนี้
3.1 การประชุมเครือข่าย
3.2 การประชุมระหว่างเครือข่าย
3.3 การสัมมนาเครือข่าย
3.4 จัดฝึกอบรม
3.5 ข้อตกลงในการแบ่งปันผลประโยชน์ชัดเจน
3.6 จัดทำเอกสารผลการดำเนินงานของเครือข่าย
3.7 ประสานงานเพื่อช่องทางการตลาดต่อชุมชน
3.8 ตั้งกองทุนสวัสดิการเครือข่าย
4. ดำเนินการตามกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการทำงานของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน
5. ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านมีความสามารถในการขับเคลื่อนกิจกรรมและเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่กลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในหมู่บ้าน/ตำบลได้

.
4. การนำไปใช้ประโยชน์
1. เป็นแบบอย่างในการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบล
2. เกิดช่องทางการพัฒนาหมู่บ้าน / ตำบล และรู้ปัญหาของหมู่บ้าน
3. สามารถนำปัญหาที่ได้ในหมู่บ้านเสนอไว้เป็นแผนชุมชนระดับหมู่บ้าน ตำบล
4. สามารถนำฐานข้อมูลต่าง ๆ ภายในตำบล ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.
5. ความยุ่งยากในการดำเนินการ/ปัญหา/อุปสรรค
1. การประสานงานกลุ่ม / องค์กร / หน่วยงานภาคีการพัฒนา
2. การให้ข้อมูลของกลุ่ม/องค์กรไม่ชัดเจนในการจัดเก็บข้อมูล
.

6. ข้อเสนอแนะ
1. ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านควรทำงานร่วมกับอาสาพัฒนาชุมชน/ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนของหมู่บ้าน/ตำบลในการจัดเก็บข้อมูลให้เพียงพอ
2. ควรจัดเวที ประชาคมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การขับเคลื่อน ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
3. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านอย่างต่อเนื่อง
4. เจ้าหน้าที่คณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านมีการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง
5. ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน พัฒนากร หน่วยงานภาคี ร่วม สรุปบทเรียนการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน
6. คณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่านเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลท่าถ่าน

.
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
- แนวคิดการจัดตั้งเครือข่ายเนื่องจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนมีผู้คนอยู่รวมกันแบบ พึ่งพาอาศัยใกล้ชิดกันความสัมพันธ์ในลักษณะเครือข่าย ถือเป็นหัวใจของการเชื่อมโยงชุมชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ชุมชนอยู่รอดจากปัญหา หรือวิกฤติต่าง ๆ
- แนวคิดการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของชุมชนจะต้องมีขึ้นโดยตลอดตั้งแต่ขั้นการร่วม วางแผนโครงการ การเสียสละกำลัง แรงงาน วัสดุ กำลังเงิน หรือทรัพยากรใด ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน แนวคิดภาวะผู้นำ หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนคนหนึ่ง (ผู้นำ) กับกลุ่ม (ผู้ตาม) ที่มีประโยชน์ร่วมกันและพฤติกรรมตนอยู่ภายใต้อำนวยการและการกำหนดแนวทางของผู้นำ
- ระบบมาตรฐานงานชุมชนเป็นเครื่องมือสำหรับผู้นำชุมชนกลุ่ม / องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กระชุมชนและชุมชน ใช้เพื่อทำให้รู้จักตนเอง สามารถประเมินและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนร่วมกับภาคีการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมสรุปถอดบทเรียน รวมทั้งการกำหนดทิศทางพัฒนาที่ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างเป็นระบบ
- ระเบียบกระทรวงมหาไทยว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน พ.ศ.2551

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ชื่อ – นามสกุล นางชาวินี วันประสาท
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต

โทร. 038-597007
ชื่อเรื่อง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

สถานที่ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 17 ตำบลทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต
.

ประวัติความเป็นมา
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านภูเขาทอง ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี 2544 นับแต่เริ่มเป็นหมู่บ้านใหม่ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ใช้ชื่อว่า “ศูนย์เรียนรู้ชุมชน” แต่กิจกรรมที่ดำเนินอยู่ในศูนย์ฯ นั้น เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับชุมชนทั้งสิ้น

.
ทำไมต้องเป็นศูนย์ข้อมูล
จากความต้องการของชุมชน ในอันที่จะสร้างศูนย์รวมของชุมชน ในทุกด้านไว้ด้วยกัน จึงได้ดำเนินการจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากคนในชุมชนในการจัดหาเงินทุน และจากความพยายามของคณะกรรมการหมู่บ้าน ตลอดจนผู้นำในชุมชนในการผลักดันให้ได้มาซึ่งงบประมาณจากส่วนราชการ และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพระยา ในการจัดสร้างศูนย์ฯ

.
เมื่อต้องเป็นศูนย์ข้อมูล
ศูนย์ฯ เริ่มจากศาลากลางบ้าน ที่ซึ่งใช้เป็นที่จัดประชุมชาวบ้าน เป็นศูนย์รวมในการดำเนินกิจกรรม จึงทำให้ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นถึงความสำคัญของศูนย์ จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเพิ่มเติมให้ประชาชนได้ใช้ทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่

ผลงานของศูนย์ข้อมูล
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านภูเขาทอง
เป็นแหล่งที่รวมของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่ทำการกลุ่มอาชีพ ที่ทำการกองทุนแม่ของแผ่นดิน แหล่งรวบรวมข้อมูลชุมชน เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชนและต่างชุมชน เป็นที่ประชุมรับข่าวสารข้อมูล เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน
.
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมดำเนินมาได้จนถึงปัจจุบัน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศูนย์เรียนรู้ดำเนินกิจกรรมอยู่ได้จนปัจจุบัน เนื่องจากคณะกรรมการมีประสิทธิภาพบริหารกิจกรรมของศูนย์ได้เป็นอย่างดี สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ในทุกเรื่องที่มีการดำเนินกิจกรรมอยู่ในปัจจุบัน

ปัญหา / อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
ศูนย์ยังขาดอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี เพื่อบริการด้านการศึกษาแก่เยาวชน และบริการชุมชน ขาดองค์ความรู้ และบุคลากรประจำศูนย์ แนวทางแก้ไข ต้องพัฒนาตัวบุคลากรในพื้นที่ด้านเทคโนโลยี และจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มเติม เพื่อให้ตอบสนองคนในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว
.

การบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน
1. ประชุมเพื่อร่วมกิจกรรมและวางแผนดำเนินกิจกรรมทุกเดือน
2. พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ผู้เข้ามาเรียนรู้สามารถพบข้อมูลได้ง่าย
3. จัดพื้นที่เป็นสถานที่ออกกำลังกายแก่เด็กและเยาวชนในชุมชน
.

การมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนา
1. อบต.ทุ่งพระยา สนับสนุนงบประมาณจัดสร้างอาคาร และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ
2. พัฒนาชุมชน พัฒนาเพิ่มพูนทักษะกรรมการ/พัฒนาองค์ความรู้ /สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ในศูนย์เรียนรู้
3. เกษตรส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพ
4. สาธารณสุข ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัย
5. กลุ่ม/องค์กร ให้การสนับสนุนกิจกรรมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมตาม กระบวนการเรียนรู้
.

วิเคราะห์กิจกรรมชุมชนที่มีในชุมชน
การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน ใช้ศูนย์เป็นแหล่งข้อมูลของชุมชน และให้บริการด้านต่าง ๆ แก่คนในชุมชนและคนภายนอก เป็นแหล่งเรียนรู้ และศูนย์ฝึกอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าแก่กลุ่มสตรีในชุมชน เป็นที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนแม่ของแผ่นดิน เป็นเวทีประชาคมตรวจสอบครัวเรือนปลอดยาเสพติด เป็นที่ประชุมเพื่อรับทราบข่าวสารข้อมูล ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านภูเขาทอง จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความร่วมมือของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันนอกจากนี้ ศูนย์เรียนรู้ยังเป็นที่รวมของเด็กและเยาวชน ในการแสดงพลัง การรวมตัวเล่นกีฬา เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นภูมิคุ้มกันเพื่อห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย

.
วิธีการปฏิบัติการถอดบทเรียน
วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการ ระหว่างถอดบทเรียน
ศึกษาข้อมูลทั่วไปของชุมชน โดยวิธีการสำรวจ สัมภาษณ์ สังเกต การซักถาม และจัดเวที
การจัดเวที เพื่อให้ได้มาในเรื่องของการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลของชุมชน และแนวทางการแก้ไข
.

เครื่องมือการถอดบทเรียน
.การจัดเก็บความรู้ระหว่างการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR)
.การจัดเก็บความรู้ “หลังการปฏิบัติงาน : Retrospect”

ปัญหา /อุปสรรค /วิธีการแก้ไขปัญหาระหว่างถอดบทเรียน
.การจัดเวทีต้องใช้เวลามาก ทำให้คนในชุมชนเสียเวลาเนื่องจากเป็นอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ทำนา ทำสวนผัก เวลาว่างมีน้อย ต้องใช้เวลาสั้น ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
.การเดินทางไม่สะดวก เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกล การไปมาต้องใช้เวลามาก ต้องใช้วิธีการจัดทีมวิทยากร เพื่อให้ได้ข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นและใช้เวลาน้อย
.

ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อการถอดบทเรียน
กิจกรรมการถอดบทเรียน เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ออกมาจัดให้เป็นหมวดหมู่ เป็นเอกสารที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ในแต่ละเรื่องนั้นออกมาจากภูมิรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล เพื่อประโยชน์ต่อผู้ศึกษาต่อไป ในการที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน ไปใช้ประโยชน์ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งองค์ความรู้บางเรื่องอาจสูญหาย หากมิได้มีการจัดทำไว้

การทำงานของอาสาสมัคร 2 หน่วยงาน


ชื่อ –นามสกุล นางเยาวเรศ แก้วยงกฎ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต
เบอร์โทรศัพท์ 08 5394 5439
ชื่อเรื่อง การทำงานของอาสาสมัคร 2 หน่วยงาน
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานด้วยใจ ไม่ใช่สิ่งตอบแทน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เดือน พฤศจิกายน ปี 2552
สถานที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต
.
เนื้อเรื่อง
วันนี้ ข้าพเจ้าได้ออมมาประชุม อาสาสมัครในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ ประจำปี 2553 โดยใช้สถานที่ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่ประชุมชี้แจง อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ส่วนใหญ่ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน , อาสาพัฒนาชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข เมื่อชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องของ จปฐ. จบแล้ว ทุกคนก็พากันคุยนอกเรื่อง ตามประสาคนที่รู้จักกัน เคยทำงานร่วมกัน บังเอิญข้าพเจ้า ก็ได้ร่วม อยู่ในวงการสนทนากับกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย มีคนพูดนำขึ้นว่า ใครเป็น อสม. ให้ไปรับวัคซีน ได้แล้ว ที่ฝ่ายสาธารณสุข ของ อบต. ได้เลยวัคซีนมาแล้ว เมื่อได้ยินเช่นนั้น ข้าพเจ้า ก็นึกแอะใจ
.
ก็เลยถามขึ้น ว่า อสม.เขามีหน้าที่ไปฉีดวัคซีนให้กับสุนัขด้วยหรือ ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า มีมากกว่านี้อีก อยู่ๆ มีคนหนึ่งในกลุ่มสนทนาก็พูดขึ้นว่า อสม. ต้องทำทุกอย่าง และ ทุกเรื่องในหมู่บ้านได้เหมือนหมออนามัย ทำให้ข้าพเจ้านึกสะท้อนใจ และคิดในใจถึง อาสาพัฒนาชุมชน(อช.) ถ้า อช. ของเราพูด ออกมาบ้างแบบนี้เราคงดีใจนะ ( ตอนนั้นก็ได้แต่เก็บความน้อยใจไว้นิดๆ แต่ไม่ได้แสดงออกมา ) เมื่อฟังเขาพูดจบ ก็เลยถามขึ้นมาว่า อสม.เขาทำงานอะไรบ้าง ทุกคนช่วยกันตอบทีละข้อ ข้าพเจ้าก็จดบันทึกไว้ เมื่อได้คำตอบแล้ว ข้าพเจ้าก็เลยชมว่า อสม.นี่เก่งนะ ทำได้ หลายอย่างเลย ( มีคนตอบมาอย่างไม่ต้องติดเลยว่า ) กว่าจะทำได้หมอเขาจะให้เข้าอบรมก่อน เป็น อสม. ต้องเข้าอบรมบ่อยมาก ( แล้วก็มีคนพูดแซงขึ้นว่า ได้เดือนละ 600 ใช้ซะคุ้มเลย)
.
มีอีกคนพูดต่อว่า ฉันหวังค่ารักษาพยาบาลมากกว่า เวลาป่วยไม่ต้องเลียตัง รักษาฟรี ข้าพเจ้าก็เลยพูดตัดบทว่า ไหนใครเป็น อสม. ชูมือหน่อย ( 80 เปอร์เซ็น ยกมือ) ก็เลยถามต่ออีกว่า แล้วใครเป็น อาสาพัฒนาชุมชนยกมือให้ดูหน่อย ผลปรากฏว่า เป็นคน เดียวกัน กับ อสม.ที่ยกมือ ข้าพเจ้าก็เลยพูดขึ้นว่า อช. กับ อสม. เป็นคน คนเดียวกันเลยนะ ทีนี้ขอถาม อาสาพัฒนาชุมชนบ้าง ทำอะไรกันบ้าง มีตัวแทน อช. ตอบขึ้นว่า ก็ทำงานด้านพัฒนาหมู่บ้านของเราไง แล้วข้าพเจ้า ก็ให้ทุกคนตอบคำถาม ทีละคน แล้วจดบันทึกไว้
.
สรุป จากการบันทึกองค์ความรู้ที่ได้รับ
อสม. และ อช. ส่วนใหญ่เป็นคน คนเดียวกัน อสม. และ อช. ทำงานด้วยใจรักงานอาสา ไม่ว่าจะสังกัดกับหน่วยงานใด พวกเขาทำงานอาสา ด้วยใจรัก งานอาสาสมัครต้องทำด้วยใจ ห้ามคำนึงถึง ค่าตอบแทน จะทำทุกอย่างได้ต้องได้รับการอบรมมาก่อน งานอาสาสมัครเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุขทางใจ (ได้ช่วยเหลือผู้อื่น/ชุมชน)
.
การเข้ารับการอบรมบ่อยๆ จะทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น (ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ) ทุกครั้งที่มีการ อบรม สัมมนา จะมีความรู้สึกที่ดี เนื่องจากมีการพัฒนาตนเองขึ้น มีการประชุม พบกันบ่อยๆ จะทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน งานอาสาสมัคร เป็นงานที่ทำเพื่อหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเอง แต่ต้องมีคนเสียสละเพื่อ ส่วนรวม

OTOP ขายดี


ชื่อ-นามสกุล น.ส.ณุฎฐ์ชญา ตันติอัจฉริยกุล
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต
เบอร์โทรศัพท์ 087-067-5687
ชื่อเรื่อง OTOP ขายดี
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ความยากจน
สถานที่ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
.
เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว บรรพบุรุษของเราได้เก็บสิ่งของจำเป็นไว้ติดตัวจึงได้เกิดภูมิปัญญาที่จะหาวิธีที่จะนำสิ่งของพกติดตัวไปได้หลาย ๆ อย่าง และคิดค้นหาวัตถุดิบที่มีความคงทน จึงได้นำหนังวัวซึ่งเหลือจากการบริโภคเนื้อแล้วนำไปฟอก แล้วนำมาเย็บและได้ได้เป็นอย่างดี จากนั้นจึงมีการพัฒนามาเป็นกระเป๋าหนังที่ทุกคนรู้จักในปัจจุบัน
.
กระเป๋าหนัง ถ้าพูดคำนี้กับผู้หญิง จะได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะกระเป๋าเป็นเครื่องประดับอีกชิ้นหนึ่ง ที่ต้องติดตัวเพื่อใส่สัมภาระที่จำเป็นไปด้วย แล้วผู้หญิงก็มักจะต้องเลือกสรรให้กระเป๋าเป็นของประดับที่สำคัญเข้ากับเสื้อผ้าที่สวมใส่ เหมาะสมกับงานที่ไป แพงเท่าไร ถ้าถูกใจ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ยิ่งถ้าเป็นกระเป๋าหนังแท้ ๆ ยิ่งน่าสนใจ และคุณภาพดี ราคาถูก อันนี้ขอบอกเลยว่า ยิ่งเข้าท่าเข้าไปใหญ่
.
เพราะเหตุแห่งความจูงใจเหล่านี้นี่เอง ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์กระเป้าหนังยี่ห้อดัง ๆ จึงได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของหญิงไทยหลาย ๆ คน แต่ถ้าใครที่สนใจว่าจะยี่ห้ออะไรก็ได้ขอให้ดูดี แบบสวย คุณภาพดี ตัดเย็บประณีต ก็น่าจะพอใจได้ละก็ น่าจะลองดูของไทย ที่เป็นสินค้า OTOP ที่ผลิตจากชนบทไปลองพิจารณาก่อนตัดสินใจกันบ้างก็ไม่เลวนัก เพราะนอกจากจะเป็นการอุดหนุนและใช้สินค้าไทย เงินไม่รั่วไหลไปต่างประเทศแล้ว ยังจะช่วยให้คนไทยอีกหลาย ๆ คน มีเงิน มีงานทำไม่ต้องไปใช้แรงงานที่อื่น ได้ทำงานอยู่กับบ้าน ใช้ชีวิตที่อบอุ่นกับครอบครัวส่งผลให้คุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นของคนไทย และยังเป็นการส่งเสริมให้สินค้าไทยได้มีโอกาสรับใช้คนไทย และอาจไปไกลยังต่างแดน
.
ประวัติความเป็นมา
อำเภอสนามชัยเขต เป็นหนึ่งในสิบเอ็ด ของจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อราวเดือนเมษายน พ.ศ. 2527 เป็นจุดเริ่มต้นของกระเป๋าหนัง “Auny” ซึ่งเป็นผู้ผลิตที่มีความชำนาญในด้านการทำกระเป๋า ได้เล่าให้ฟังว่า ความชำนาญเกิดจากประสบการณ์ ที่เคยเป็นพนักงานในโรงงานเย็บเครื่องหนัง และความมุ่งมั่นบวกพรสวรรค์ในการทำงานออกแบบ ทำงานในโรงงาน 2 รอบ 4 ปี กับการออกมาล้มลุกคลุกคลาน ต่อสู้กับตลาด จึงรู้ว่าผลิตเองขายเองไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะไม่มีความรู้เรื่องตลาด ปี 2546 ได้รับความสนับสนุนจากพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต ให้เสนอสินค้า เป็นสินค้า “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” และได้เข้ารับการฝึกอบรมในด้านการตลาดหลายครั้ง ส่งเสริมให้นำผลิตภัณฑ์ ไปร่วมจำหน่ายในงานนิทรรศการต่าง ๆ อยู่เสมอ จนทำให้มีรายได้บ้าง ซึ่งแรก ๆ ก็ผลิตตามใบสั่งซื้อซึ่งเป็นของเครื่องหมายการค้า(ยี่ห้อ) อื่น ๆ ต่อมาปี 2547 จึงได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “Auny” และผลิตผลิตภัณฑ์ของตัวเองจำหน่าย
.
การผลิต
วัสดุอุปกรณ์ทุกชิ้นต้องซื้อจากภายนอกทั้งหมด คือซื้อจากร้านค้าปลีกแถววงเวียนใหญ่ กรุงเทพฯ ซึ่งหนังจะซื้อเป็นผืน ๆ ซิป กระดุม ตะขอ หัวเข็ดขัด กาว หนังวัวซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสินค้า หนังวัวหนึ่งฝืนอาจมีตำหนิบ้าง ฉะนั้นเวลาทำควรดูให้ดี ตัดหนังออกมาแล้ว การเย็บต้องประณีต ติดอุปกรณ์ให้เรียบร้อย และต้องไม่ลืมว่าต้องตรวจเช็คความเรียบร้อยของงานก่อนจำหน่ายทุกครั้งและทุกชิ้น เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจริง ๆ ไปใช้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า และเกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุดด้วยส่วนด้านแรงงานเป็นแรงงานในชุมชนซึ่งฝึกคนในชุมชนให้มีความรู้ ความชำนาญ และเป็นการเสริมรายได้ให้คนในชุมชน ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้นนอกจากมีเงินแล้ว ยังอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาทำให้ครอบครัวอบอุ่นอีกด้วย
.
การตลาด
ลูกค้าส่วนใหญ่ จะได้จากการนำสินค้าออกแสดงและจำหน่ายในงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักกันทั่วในเรื่องของสินค้าคุณภาพ การตัดเย็บประณีต แบบไม่ซ้ำใคร(เพราะออกแบบเอง) และมักจะได้ลูกค้า จากการไปร่วมแสดงและจำหน่ายสินค้ากลับมาด้วยทุกครั้ง เมื่อกิจการดีขึ้น การสั่งซื้อมากขึ้น เงินทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญ SMEs Bank จึงเป็นทางออก การกู้เงินทุนในปี 2548 จำนวน 200,000 บาท และนอกจากเรื่องเงินทุนแล้ว ยังส่งเสริมให้จัดทำระบบขาย และให้ออกงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการส่งออก ได้รับการตอบรับจากลูกค้าจำนวนมาก ยอดจำหน่าย 9 วัน ล้านกว่าบาท จึงไม่ผิดเลยที่จะพูดได้ว่า “กระเป๋าเงินล้าน” กระเป๋าได้รับความสนใจจากนิตยสารเส้นทางเศรษฐี ให้โอกาสลงในบทความพิเศษ และได้มีโอกาสออกรายการโทรทัศน์ ช่อง 5 ในรายการ “ชี้ช่องรวย”
.
การพัฒนาผลิตภัณฑ์
เนื่องจากการจำหน่ายสินค้าในปัจจุบัน สินค้าต้องมีคุณภาพและมีมาตรฐาน จึงยื่นของอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2548 และพัฒนาสินค้าตลอดจนบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจอยู่ตลอดเวลา โดยได้เข้าร่วมการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ในปี 2547, 2549 และปี 2551 ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ถือเป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก จากการที่ได้นำหนังวัว ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลายด้วยกัน เช่น กระเป๋าหนังแบบสะพาย แบบหิ้ว กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าเศษสตางค์ ซองเก็บนามบัตร พวงกุญแจ เข็มขัด
.
ความมุ่งหวัง
แม้ปัจจุบัน “Auny” จะเป็นที่รู้จักบ้างแล้ว แต่ “Auny” ก็จะมุ่งมั่นพัฒนา และออกแบบให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของลูกค้า แม้ใคร ๆ จะบอกว่าอย่างฝันให้ไกลนัก แต่ผู้ผลิตเองก็ยังหวังว่าจะผลิตสินค้าที่เป็นสินค้าที่เป็นยอดนิยมของลูกค้า และอยากเป็นสินค้าที่สามารถส่งออกได้ในอนาคต ซึ่งคงไม่ไกลไปนัก
.
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
· แนวทางการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
· วิธีการบริหารจัดการ
· การนำภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้
.
แก่นความรู้/กลยุทธ์ในการทำงาน (Core Competency)
· การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน


ชื่อ – นายสกุล นายสาโรช วันประสาท
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 084-7107451
เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับ การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน
สถานที่ บ้านแปลงแปด หมู่ที่ 10 ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชน ในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ ของชุมชน โดยเน้นการกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่ง เรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เป็นศูนย์ฯ ของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน

หลักการสำคัญของศูนย์เรียนรู้ชุมชน
เป็นแหล่งเรียนรู้ทุกด้าน ทุกรูปแบบไม่เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน
เป็นศูนย์กลางที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการพบปะ สังสรรค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือในการพัฒนาตนเองและชุมชน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน

ภารกิจของศูนย์เรียนรู้ชุมชน
จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชน เป็นศูนย์รวมของข้อมูล เช่น ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค.แหล่งน้ำ กลุ่มอาชีพ ฯลฯ รวมทั้งข่าวสาร สาระความรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เท่าทันสถานการณ์โลก รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน องค์ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในชุมชน และจัดการให้เป็นหมวดหมู่ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ที่ประชาชนสามารถเข้าไปสืบค้นศึกษาและ เรียนรู้ได้ทุกเวลา เป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชน เป็นศูนย์ประสานและบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นำ กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย ภาคเอกชน และภาคีการพัฒนาภาครัฐ เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นสถานที่ที่มีโครงสร้างเป็นอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ก็ได้ ที่มีองค์ความรู้ สามารถให้การเรียนรู้แก่ประชาชนที่ต้องการความรู้สามารถเข้าถึงได้
.
องค์ประกอบศูนย์เรียนรู้ชุมชน
1. วิธีการจัดตั้ง

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นความต้องการของประชาชนในชุมชน เพราะจะเป็นสมบัติของชุมชน จึงควรนำแนวคิดเข้าเวที ประชุมประชาคมของหมู่บ้าน เผยแพร่ความคิด โน้มน้าวสร้างการยอมรับ และชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีแหล่งเรียนรู้ของชุมชน การจัดเก็บองค์ความรู้ ประวัติชุมชน และภูมิปัญญาของชุมชนอย่างเป็นระบบ การแสดงข้อมูลข่าวสารของชุมชนให้ได้เรียนรู้กันอย่าง ทั่วถึง รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สม่ำเสมอ โดยเริ่มจากการจัดระเบียบแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน และให้เป็นไปตามกำลังที่ชุมชนจะสามารถดำเนินการได้ อีกทั้งให้มีขอบเขต และลักษณะตามความเห็นของชุมชน
.
2. โครงสร้าง ของศูนย์เรียนรู้ชุมชน ประกอบด้วย
คณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร เครือข่ายองค์กรชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัคร ฯลฯ โดยมาจากการคัดเลือกของชาวบ้านเอง และชาวบ้านให้การยอมรับ ซึ่งคณะกรรมการจะร่วมมือกันวางแผน และดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้ร่วมกันกำหนด เพื่อระดมพลังให้เกิดการเรียนรู้และบริหารจัดการในศูนย์เรียนรู้ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ที่ปรึกษา เป็นภาคีการพัฒนาภาครัฐ เช่น พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน เกษตร สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระเบียบข้อบังคับ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้จัดทำขึ้นที่เป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารศูนย์ฯ
.
สถานที่ เล็กใหญ่ไม่สำคัญ อาจจะอยู่ในห้องของอาคาร อบต. บ้านผู้ใหญ่บ้าน บ้านผู้นำ บ้านปราชญ์ชาวบ้าน ศาลาวัด ใต้ต้นไม้ ศาลากลางบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ให้พบปะ ประชุม ทำงานกันได้ตลอดเวลา ให้เป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกัน เพื่อการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องหางบประมาณมาก่อสร้างศูนย์ใหม่ การบริหารจัดการศูนย์ฯ คณะกรรมการฯ ที่ได้รับการคัดเลือก มีการบริหารจัดการเพื่อให้ศูนย์ฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรม
.
งบประมาณ เพื่อพัฒนาคณะกรรมการของศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชน โครงสร้างทั้งหมดนี้ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นมาครบถ้วนในระยะเริ่มแรก ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมในแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งอยู่ในบทต่อไป
.
3. กิจกรรมการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
3.1 สถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ อาจดำเนินการได้ทั้งในอาคารศูนย์ฯ และนอกอาคารศูนย์ฯ โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน เช่น บ้านปราชญ์ชาวบ้าน ในไร่นา เพื่อสาธิตกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
3.2 กิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียน/การสอน การจัดการความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาติพันธุ์ ขนบประเพณี วัฒนธรรม การรับความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน การจัดเวทีประชาคมเพื่อการเรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน การเรียนรู้ผ่าน E-Learningการสาธิต การจัดนิทรรศการ การจัดสัมมนา อภิปราย ฯลฯ
.
4. เนื้อหาสาระข่าวสารความรู้ ประกอบด้วย
4.1 ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค ทะเบียนผู้นำ กลุ่ม/องค์กร ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น อัตลักษณ์ของชุมชน แผนชุมชน โครงการกิจกรรม ฯลฯ
4.2 ข่าวสาร (สารสนเทศ) ได้แก่ สารสนเทศชุมชน ได้แก่ ประวัติหมู่บ้าน แผนที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ (ภูมิอากาศ/ ฤดูกาล) ลักษณะของประชากร (อัตราความหนาแน่น/โครงสร้างประชากร) ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน (เกษตร/อุตสาหกรรม/รับจ้าง ฯลฯ) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้านศิลปะ/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่บริการ การคมนาคม(การเดินทางไปยังหมู่บ้าน) ประเพณี/เทศกาลประจำปี ทักษะ/ฝีมือ/แรงงานของหมู่บ้าน อื่น ๆ ข่าวสารเพื่อชีวิต ข่าวสารเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน
4.3 ข่าวสารความรู้ ได้แก่ ความรู้ด้านวัฒนธรรม การประกอบอาชีพ/ผลิตภัณฑ์ชุมชน องค์ความรู้ที่ชุมชนต้องการ เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน ความรู้ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ความรู้ข่าวสารจากภายนอก

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต


ชื่อ-นามสกุล นายอนิรุธ ชาตะวราหะ
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอสนามชัยเขต
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.สนามชัยเขต
เบอร์โทรศัพท์ 086-009-7700
ชื่อเรื่อง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ความยากจน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ.2553
สถานที่ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านกระบกเตี้ย หมู่ที่ 5 ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มจัดตั้งในปีพ.ศ.2546 มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 48 คน สาเหตุในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์สืบเนื่องมาจากผู้นำได้เข้าร่วมฝึกอบรมโครงการ “เรียนรู้ ดำรงชีวิต ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง” ที่จัด โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ผู้นำได้นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด แลกเปลี่ยนกับราษฎรในหมู่บ้าน ซึ่งมีราษฎรจำนวน 48 คน มีความคิดในแนวทางเดียวกันว่าควรมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตขึ้นเพื่อพัฒนาคนในหมู่บ้าน ให้เรียนรู้ความพอเพียง ความพอดีของแต่ละครอบครัว ลด ละ เลิก ความฟุ่มเฟือย เรียนรู้ที่จะใช้เงินที่หามาได้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความขยันในการประกอบอาชีพ มีการอดออม ยึดถือสัจจะคำสัญญาและทำตามสัญญาที่ให้ไว้

ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนก้าวเดินมาถึงปัจจุบัน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านกระบกเตี้ย เป็นเสมือนหนึ่งศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนาคนให้มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น มีความเสียสละเห็นประโยชน์ส่วนรวมสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตัว มีความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อครอบครัว มีความเห็นใจซึ่งกันและกัน เอื้ออารีต่อกัน มีความเชื่อถือ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งการพัฒนาคนโดยกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านกระบกเตี้ย เป็นต้นทางของเหตุที่นำไปสู่ผลคือความ “รู้รัก สามัคคี” ของคนในหมู่บ้าน ทำให้คนในหมู่บ้านเป็นเสมือนหนึ่ง คนในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งมีขนาดของครอบครัวขนาดใหญ่ ทุกคนเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา มีความห่วงใย เอื้ออารี ดูแล ซึ่งกันและกัน และยังเป็นรากฐานที่นำไปสู่กลุ่มอาชีพ ที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับราษฎรในหมู่บ้าน ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้น แก่คนในหมู่บ้านที่เป็นสมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน ครัวเรือนเป้าหมายโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ของหมู่บ้าน ให้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ในการที่จะนำเงินที่กู้/ยืม ไปใช้ในการประกอบอาชีพตามที่เสนอโครงการต่อคณะกรรมการจริงเมื่อมีผลกำไรเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งก็นำไปออม ส่วนหนึ่งก็นำไปใช้คืนให้กับกลุ่ม ครบและตรงตามกำหนดเวลาที่สัญญาไว้ตลอดมา

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านกระบกเตี้ย ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 325 คน มียอดเงินสัจจะสะสมของสมาชิกจำนวน 1,185,900 บาท มีครัวเรือนในหมู่บ้านที่เป็นสมาชิก 76% เป็นกลุ่มที่นับวันจะพัฒนา จะเติบโต เป็นศูนย์รวมจิตใจหลักของคนในหมู่บ้านที่จะเป็นศูนย์เรียนรู้ตลอดชีวิต ในการพัฒนาคน พัฒนาสังคม พัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ช่วยสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน และสร้างความเจริญความมั่นคงให้เกิดแก่สมาชิกของกลุ่มทุกคน ส่งผลต่อความเจริญและความมั่นคงที่ยั่งยืนของชุมชน ตลอดไป

บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets) การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
· แนวทางการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน
· กรรมการต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก
· บทบาทหน้าที่ของกรรมการ ต้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน และคณะกรรมการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่
· คณะกรรมการมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน มีการจดบันทึกการประชุมเป็นหลักฐาน
· การส่งเงินสัจจะสะสมของสมาชิกส่งประจำทุกเดือน และในแต่ละปีมีการเพิ่มเงินสัจจะสะสม
· ระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม กำหนดขึ้นโดยเวทีประชาคม บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการปรับปรุง ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา สถานการณ์
· สมาชิกปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม มีมาตรการทางสังคมของกลุ่มที่จะดำเนินการกับสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ควบคู่กันกับระเบียบข้อบังคับ
· มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม และปฏิบัติตามแผน
· มีการจัดทำทะเบียน/เอกสารของกลุ่มครบถ้วน
· มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ เช่น มีการรายงานสถานะทางการเงิน และรายงานให้สมาชิกทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง มีการตรวจสอบบัญชีโดยฝ่ายตรวจสอบอย่างน้อย ปีละ 4 ครั้ง
· มีการจัดสวัสดิการแก่สมาชิก แก่ชุมชน
· มีการจัดสรรผลกำไร เช่น การปันผล/เฉลี่ยคืนให้กับสมาชิกทุกปี

แก่นความรู้/กลยุทธ์ในการทำงาน (Core Competency)
· ศึกษาสภาพปัญหา ความยากจน ของคนในหมู่บ้าน
· วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับคนในหมู่บ้าน
· หาข้อยุติ เหตุผลความจำเป็นของการเก็บออมเงินโดยกระบวนการเวทีประชาคม
· ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
· สำรวจความพึงพอใจ จากการแสดงความคิดเห็น ขอมติจากเวทีควรมีการจัดตั้งหรือไม่
· การจัดตั้งกลุ่มไม่ควรมุ่งเน้นปริมาณสมาชิก ควรเน้นคุณภาพ สมาชิกที่ร่วมจัดตั้งกลุ่มต้องมีความเข้าใจชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีอุดมการณ์ที่จะผลักดันให้เกิดธนาคารของชุมชนเพื่ออนาคตที่ดีของคนในชุมชนติดตามสนับสนุน พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อทราบปัญหาการดำเนินงาน วางแผนพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อย่างสม่ำเสมอ