วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การส่งเสริมช่องทางการตลาด OTOP

ชื่อ สกุล นายเนตร  ขันคำ
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอท่าตะเกียบ
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
หมายเลขโทรศัพท์ 081-2652403
ชื่อเรื่อง “ การส่งเสริมช่องทางการตลาด OTOP” 


เนื้อเรื่อง
ปี 2558  กรมการพัฒนาชุมชนได้มีการส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP เชิงรุกสู่สากลในหลากหลายช่องทาง เช่น
     1. โครงการ OTOP Midyear เป็นการเปิดตลาดให้ผู้ประกอบการ ที่มีสินค้า ระดับ 3-5 ดาวได้มีแหล่งจำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภคโดยตรง
     2. โครงการ OTOP Delivery โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำส่งผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วส่งตรงถึงผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP อีกทางหนึ่ง
     3. โครงการ OTOP Mobile to the Factoryเพื่อให้ผู้ผลิต,ผู้ประกอบการ OTOP ได้เรียนรู้ทักษะด้านการบริหารจัดการ และเป็นการส่งเสริมด้านการตลาดสินค้า OTOP เพิ่มช่องทางทางการจำหน่ายสินค้า OTOP และความร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างชุมชนกับโรงงาน และชุมชนกับชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว
     4. การนำเสนอสินค้า OTOP ทางเว็บไซด์ของอำเภอ และเว็บไซด์ไทยตำบล ดอทคอม
     5. การจำหน่ายสินค้าในตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ ของแต่ละชุมชน อำเภอ

เทคนิค
สำนักงานพัฒนาชุมชน ได้จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดแก่กลุ่ม OTOP ในเชิงรุก โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากส่วนต่างๆในการดำเนินการ ดังนี้
     1. การพัฒนา OTOP โดยอาศัยกลไกการขับเคลื่อนของคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ และระดับตำบล ในการประสานความร่วมมือ
     2. การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ หรือด้านวิชาการ  
     3. การมีวิสัยทัศน์ในการทำงานของคณะกรรมการเครือข่าย OTOP     4. การนำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และแหล่งจำหน่าย OTOP รวมถึงการมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในแต่ละด้านมาบูรณาการร่วมกัน

แก่นความรู้
     1. การประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ/ภาคเอกชนคณะกรรมการเครือข่าย OTOP และกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP
     2. การพัฒนาการเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยี เทคนิค วิธีการ ด้านการผลิต การตลาด การศึกษาความเป็นไปได้ของตลาดของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท
     3. แนวคิดในการนำสินค้าของชุมชนให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับเพิ่มมากขึ้น

กลยุทธ์ในการทำงาน
     1. การสร้างความเข้าใจ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ที่ดีกับคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าของชุมชน
     2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนา OTOP ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ
     3. กระตุ้นให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ มีกำลังใจในการพัฒนาสินค้า โดยการส่งเสริมด้านการตลาดให้กับทุกกลุ่ม ทุกราย


แนวคิด ทฤษฏีที่สอดคล้อง
     1. ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่าย และ ชุมชน
     2. การพัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ แก่กลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP        
     3. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น