วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สวัสดิการชุมชนสร้างกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เข้มแข็ง

เจ้าของความรู้     กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน 
สังกัด              สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง            สวัสดิการชุมชนสร้างกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เข้มแข็ง
เป็นงานเกี่ยวกับ   กองทุนแม่ของแผ่นดิน
เบอร์โทรศัพท์      038-511239
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ มกราคม – กันยายน 2557
สถานที่เกิดเหตุการณ์ 11 อำเภอ   รวม 198 กองทุน/หมู่บ้าน
เนื้อเรื่อง
  กระทรวงมหาดไทย มอบให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดินตั้งแต่ ปี 2547 เป็นต้นต้นมา เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง เอาชนะยาเสพติด โดยใช้พลังชุมชนในพื้นที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 198 กองทุน และกรมการพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนงบประมาณต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดินทุกปี เพื่อให้กองทุนแม่ของแผ่นดินมีความเข้มแข็งแลพะขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องจัดสวัสดิการชุมชน เพื่อให้กองทุนแม่ของแผ่นดิน มีความเข้มแข็ง  
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Asset)
          . ติดตามผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง
          . ดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนแม่ของแผ่นดิน
          ๓. ส่งเสริมการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินต่อเนื่อง
          ๔. จัดกิจกรรมหาทุนกองทุนแม่ของแผ่นดินสม่ำเสมอ
แก่นความรู้ (Core Competency)
          ๑. การดำเนินงานของกองทุนแม่ของแผ่นดิน ต้องมีแผนปฏิบัติงาน
          การร่างระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน นำเข้าประชุมสมาชิก ลงมติ ประกาศใช้
3. การปฏิบัติตามระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน หมวดค่าใช้จ่ายเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน จัดสวัสดิการ ให้แก่สมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยใช้มติที่ประชุมสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม และการประสานงาน ตัวอย่าง ดังนี้
3.1 เด็กแรกเกิด ได้รับเงินขวัญถุง 599 บาท
3.2 ทุนการศึกษา อนุบาล 1 ทุน ประถมฯ 1 ทุน มัธยมฯ 1 ทุนๆ ละ 500 บาท
3.3 เจ็บป่วยเข้านอนโรงพยาบาลครั้งละ 500 บาท
3.4 สมาชิกตาย กองทุนแม่ซื้อพวงหรีดช่วยงานไม่เกิน 300 บาท ช่วยฌาปนกิจ 700 บาท
ดำเนินการตามระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน (ข้อ 3.1,3.2,3.3,3.4 ขึ้นอยู่กับเวทีประชาคมของ
แต่ละหมู่บ้าน เป็นผู้กำหนดโดยใช้เงินสมทบ,เงินบริจาค,เงินศรัทธาฯ โดยไม่นำเงินขวัญถุงพระราชทานมาใช้จ่าย)   
4.      ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
การจัดสวัสดิการให้สมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน เห็นประโยชน์อย่างแท้จริงของกองทุนแม่ฯ นอกจากจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแล้ว ยังมีสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เป็นการทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เป็นที่ศรัทธาและเป็นศูนย์รวมใจของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และทำให้กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง
กลยุทธ์ในการทำงาน
วิทยากรดำเนินการจัดเวทีประชาคมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค 5 ก และหลักการ 3 ข ในการดำเนินการประชุม ดังนี้
เทคนิค 5 ก ได้แก่
ก1 = สมาชิกกลุ่ม คือ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนแม่ฯ
ก2= กรรมการ ให้มีการเลือกคณะกรรมการกองทุนแม่ฯ จากสมาชิกกองทุนแม่
ก3= กติกา การดำเนินงานต้องมีกติกา หรือระเบียบกองทุนแม่ฯ ไว้สำหรับให้กรรมการและสมาชิกกองทุนแม่ฯ ยึดถือในการปฏิบัติงาน
ก4= กิจกรรม การดำเนินงานกองทุนแม่ฯต้องมีการกำหนดกิจกรรมหรือแผนงานไว้สำหรับการปฏิบัติงาน
ก5=  การดำเนินงาน คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนแม่ต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์กองทุนแม่ฯ ที่ได้กำหนดไว้
หลักการ 3 ข ได้แก่
          ข1 = เล่าเรื่องของ ยกตัวอย่างกองทุนแม่ของแผ่นดินที่เข้มแข็ง ด้านการบริหารงานงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีการดำเนินการอย่างไร, ด้านการบริหารจัดการเงินทุน มีการดำเนินการอย่างไร, ด้านกิจกรรมเด่นของกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีอะไรบ้าง, มีปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข
          ข2 = ให้ดูของ คือให้ดูวิดีโอศูนย์เรียนกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่น ของภาคต่าง ๆ จำนวน 3 เรื่อง และนำคณะกรรมการศึกษาดูงานหมู่บ้านกองทุนแม่ดีเด่น
          ข3= ให้ทำของ ให้คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระดมความคิดว่าจะวางแผนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน จะมีวิธีดำเนินการอย่างไร
          การดำเนินงานโดยใช้เทคนิค 5 ก และและการการ 3 ข ผสมผสานกับการจัดทำระเบียบกองทุนแม่ฯ แบบมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนแม่ฯ เพื่อจัดให้สมาชิกได้มีสวัสดิการเป็นการเอื้ออาทร ดูแลกันเองของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ปลอดภัยจากยาเสพติด
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.      แนวทางการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน

2.      การมีส่วนร่วม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น