ชื่อเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขปัญหาความยากจน
สังกัด
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองเขื่อน
จังหวัดฉะเชิงเทรา
เศรษฐกิจพอเพียงกับความยากจน
การที่เราจะสามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาความยากจนได้อย่างถูกต้อง
หรือใกล้เคียงความจริงนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ตั้งแต่ปัญหาของความยากจนว่าคืออะไร?
และเกิดขึ้นได้อย่างไร? ซึ่งหากพิจารณาจากสังคมปัจจุบันนั้น
ปัญหาความยากจนได้แพร่กระจายไปสู่บุคคลทุกกลุ่มในสังคมไทย ดังนั้นความยากจนในที่นี้จึงหมายถึง
การมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย จนถึงขั้นต้องกู้หนี้ยืมสินจากผู้อื่นมาใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน
อันเนื่องมาจากการตกเป็นเหยื่อของลัทธิบริโภคนิยม วัตถุนิยมอย่างไร้ขอบเขตจำกัด
การปรับใช้แนวความคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแนะนำให้พสกนิกรของพระองค์นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ได้แก่ ทฤษฎีใหม่ ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่
“พอมีพอกิน-อยู่ดีกินดี-มั่งมีศรีสุข” โดยมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญคือ
ควรให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของปัญหา ได้ค้นหาวิธีการในการแก้ปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาด้วยตัวเองให้มากที่สุด
ประชาชนผู้ยากจนย่อมรู้สภาพปัญหาที่แท้จริงและรู้ความต้องการที่แท้จริงว่า พวกเขามีสภาพเช่นไร
และมีความต้องการอะไรมากที่สุดตามลำดับความจำเป็น หน่วยงานภายนอกไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนควรมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง
คอยให้การชี้แนะและสนับสนุนทางด้านเทคนิคและวิชาการมากกว่าลงมือแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านโดยตรง
บทสรุป
“เศรษฐกิจพอเพียง”
คือ มุ่งหวังที่จะให้บรรลุเป้าหมายในฐานะเป็นทางเลือกของสังคมในการดำเนินชีวิต
และดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อปรับตัวให้สามารถอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข การแก้ไขปัญหาความยากจนนั้นไม่ใช่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวหรือ
ใครคนใดคนหนึ่ง แต่ทุกคนต้องร่วมมือกันจึงจะสาเร็จได้ ชีวิตที่พอเพียงจึงต้องเริ่มจากตัวเองก่อน
เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล คือ ความสามารถในการดารงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อนมีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน
ตามอัตภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด เมื่อเริ่มจากตนเองได้แล้วก็ขยายผลไปสู่ครอบครัว
เศรษฐกิจพอเพียงระดับครอบครัว คือ การพอมีพอกินไม่ฟุ่มเฟือยและไม่ฝืดเคืองนัก ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน
คือ ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ ประชาชนมีการรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจ
เพื่อต่อรองผลประโยชน์ที่เป็นธรรม การแก้ไขปัญหาความอยากจนด้วยความพอเพียง เดินทางสายกลางนั้นสามารถประยุกต์นาไปใช้ได้ทุกอาชีพ
โดยยึดหลักการ “พอมีพอกิน-อยู่ดีกินดี-มั่งมีศรีสุข”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น