ชื่อ สกุล นางกาญจนา
ประสพศิลป์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด
กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 08-9831-5435
ชื่อเรื่อง
องค์ความรู้จากการติดตามการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชา
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ
การปฏิบัติงานในพื้นที่
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2558
สถานที่เกิดเหตุ พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
มี 11 อำเภอ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ซึ่งมีหน้าที่สำคัญต้องสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง
บรรลุตามวิสัยทัศน์ของกรมการพัฒนาชุมชน ด้วยการแปลงนโยบายจัดทำยุทธศาสตร์ ถ่ายทอด มาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
และติดตามสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
จากการที่ข้าพเจ้า
ได้มีโอกาสติดตามการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชา นางสาวเพ็ญแข ศรีสุทธิกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน
ซึ่งข้าพเจ้ามีหน้าที่ต้องให้ข้อมูล
และรับนโยบายมาถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม สามารถขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ บรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน “ชุมชนเข้มแข็ง
เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง”
ก็เลยอยากถ่ายทอดความรู้และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์
เป็นแนวทาง เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานให้กับเพื่อนร่วมงานทุกคน ดังนี้
1.
การทำงาน ให้มองโลกในแง่บวก
ให้ภูมิใจกับงานที่ทำ และตั้งใจทำให้ดีที่สุด เพราะเป็นงานที่สร้างบุญ
สร้างกุศล
สร้างงาน สร้างอาชีพ ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
(เติมเอง...ทำสำเร็จบารมีเกิด) เมื่อใดที่ท้อให้มองอาชีพอื่น ต้องไปฆ่าสัตว์
ตัดชีวิต ต้องไปไล่จับผู้ร้าย ฯลฯ
2. การสรุปผลงานให้ผู้บังคับบัญชา
ควรมีข้อมูลเป็นรูปธรรม ดังนี้
2.1
ข้อมูลทั่วไปของอำเภอ/สำนักงาน
2.2
แผนที่ยุทธศาสตร์ของสำนักงาน
2.3
ข้อมูลงานกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ของกรม ฯ ในแต่ละกิจกรรมประกอบด้วย
1) ข้อมูลพื้นฐาน จำนวนเท่าไร
2) ดำเนินการไปได้เท่าไร อย่างไร
3) กิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อ
4) ปัญหา/อุปสรรค
5) ได้ดำเนินการแก้ไข ไปแล้ว
อย่างไร
2.4
ข้อมูลที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งอื่น อะไรบ้าง ดำเนินการไปแล้วอย่างไร
มีปัญหา/อุปสรรค
2.5 กิจกรรมเด่นที่เป็นแบบอย่าง
สามารถศึกษาดูงานได้ มีที่ไหนบ้าง
3.
การสร้าง
และพัฒนาทีมงานภายใต้สถานการณ์ “คนน้อย เงินน้อย งานมาก” โดยการสร้างทีมงาน
ที่ประกอบด้วย ผู้นำกับเจ้าหน้าที่
ในลักษณะทีมงานเชิงพื้นที่ ทีมงานตามประเด็นงาน ทีมผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ “โต๊ะผู้นำ”
เป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนางานตามภารกิจ
4. การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
4.1 ให้จัดทำฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ
(ได้รับงบกรมฯ,หน่วยงานภาคี)
4.2 วางแผนการพัฒนาให้มีศักยภาพเป็นศูนย์เรียนรู้ได้
โดยใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน
เป็นตัวอย่างได้
5 จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามแนวทางของกรมฯ
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างคุณธรรม ให้กับคนในชุมชน
และสร้างนิสัยในการออม ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และหมู่บ้านที่มีเงินทุน กข.คจ. หมู่บ้านที่มีความพร้อม
6 การดำเนินงานตลาดนัดชุมชน
ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้
6.1 ต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด
เช่น ทำเล ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ที่นำมาจำหน่าย ฯลฯ
6.2 ต้องจัดสถานที่
สร้างบรรยากาศให้น่าสนใจ
6.3 ต้องมีความต่อเนื่อง
ยั่งยืน ไม่ใช่ทำครั้งเดียว (มีการจัดเก็บรายได้ เพื่อให้มีส่วนร่วม และนำมา
วิเคราะห์ ความเป็นไปได้ หรือแก้ไข
ปรับปรุง)
6.4 พัฒนาสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะพื้นที่ให้มีความโดดเด่น
7. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่ม
D
7.1 ให้ใช้พลังเครือข่าย OTOP
ที่มีศักยภาพ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษาในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
มาตรฐานสินค้า หรือจับคู่ในการให้คำปรึกษาเป็นพี่เลี้ยง
7.2 ส่งเริมช่องทางการจำหน่าย
8. การดำเนินงานศูนย์เศรษฐกิจฐานราก
8.1 รูปแบบคลินิกบริการประจำวัน โดยมีคณะกรรมการศูนย์ฯ เป็นผู้ให้บริการ สร้างเครือข่าย
ศูนย์บริการนอกพื้นที่ เป็นจุดเรียนรู้มีทีมวิทยากรถ่ายทอดความรู้
มีกิจกรรมสาธิต ปฏิบัติได้ การจับคู่ให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
8.2 รูปแบบการบริการนอกสถานที่ เช่น
ออกบูธร่วมกับจังหวัดเคลื่อนที่ อำเภอเคลื่อนที่ โดยจัดเป็น
คลิกนิค ให้บริการในเรื่องต่างๆ เช่น
รับปรึกษาให้คำแนะนำการจัดทำบัญชีครัวเรือน การปิดงบดุลกองทุนหมู่บ้าน โครงการ
กข.คจ. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การสาธิตทำน้ำยาล้างจาน
ทำปุ๋ยชีวิภาพ สาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน ฯลฯ
9. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
9.1 สร้างผู้นำ
อช. ให้เป็นเจ้าแห่งข้อมูล สามารถวิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้
ไม่ใช่โชว์
ปัญหาอย่างเดียว ต้องตอบให้ได้ว่า
โครงการนี้เกิดจากข้อมูลอะไร ประสานผู้นำท้องถิ่น
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนโครงการ ผ่านแผนพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
9.2 จัดทำเมนูอาชีพ
เป็นทางเลือกให้ครัวเรือนเป้าหมายตามความถนัด และความต้องการ
9.3 จัดทำเมนูโครงการ
ถ้าตกเกณฑ์ในเรื่องนี้ โครงการที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง โครงการส่วนใหญ่
แก้ปัญหาได้หลายตัวชี้วัด เช่น
โครงการตลาดนัดชุมชน ลานคนเมือง ถนนคนเดิน ฯลฯ
9.4
ส่งเสริมการออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ใช้เงินทุนที่มีอยู่ในชุมชน โดยใช้หลักการพึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (ใช้พลังชุมชน
ในการพัฒนาชุมชน)
9.5 จัดกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งเก่าและใหม่ ที่แสดงหรือสื่อถึง การนำหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต
10. การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
10.1 ประชุม
ชี้แจงทำความเข้าใจกับ คกส.ในช่วงเปลี่ยนผ่าน โอนย้ายกองทุนฯมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการพัฒนาชุมชน
10.2 คกส.ที่หมดวาระแล้วยังคงให้ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน
จนกว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนจาส่วนกลาง
10.3 โครงการที่อยู่ระหว่างการอนุมัติ
หรือโอนเงินให้ชะลอไปก่อน เนื่องจากรอแนวทางการปฏิบัติที่
ที่ชัดเจน
10.4 เร่งดำเนินการโครงการที่ค้างชำระ
โดยแยกกลุ่มปัญหาให้ชัดเจน เช่น ตั้งใจไม่คืน ไม่ประสบความสำเร็จ
ไม่ทำตามวัตถุประสงค์ รวมถึงวิธีแก้ไขที่อำเภอ/จังหวัด ได้ดำเนินการไปแล้ว ฯลฯ
และใช้มาตรการทั้งทางกฎหมาย และทางสังคมในการแก้ไขปัญหาต่อไป
10.5 ให้จัดทำฐานข้อมูล
บัญชี งบดุลต่างให้เป็นปัจจุบันเพื่อรองรับการถ่ายโอน
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. ต้องมีอุดมการณ์ในการทำงาน
2. ต้องสร้างภาคีในการทำงาน
3. ต้องรู้จัก
บูรณาการคน งาน เงิน (ทำงานเชิงกลยุทธ์)
4. ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้เป็น
เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
5. ต้องมีแผนในการขับเคลื่อนทุกกิจกรรม
6. ต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
กฎระเบียบ/แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการมีส่วนร่วม ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง หลักประชาธิปไตย ความโปร่งใส
จารีตประเพณี ความจริงใจ และจริงจัง