วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแก้ไขปัญหาความยากจน


ชื่อ – สกุล  นางจงธพรรณ ยงพฤกษา
ตำแหน่ง     นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ                  
สังกัด        สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองเขื่อน             

เนื้อเรื่อง         
เนื่องด้วยกรมการพัฒนาชุมชนได้มีนโยบายการกระจายรายได้ และความเจริญ ไปสู่ส่วนภูมิภาค กระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมาย มีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากจนให้ดีขึ้น ตามเกณฑ์ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน(จปฐ.) คนยากจนได้มีโอกาสสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสามารถบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพได้ด้วยตนเอง

หลักการ
  1. การมีส่วนร่วมขององค์กรประชาชนและประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ 
  2. การใช้ข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมายจากการจัดเก็บและตรวจสอบขององค์กรประชาชน ในหมู่บ้าน 
  3. การมอบอำนาจและหน้าที่ ความรับผิดชอบให้องค์กรประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย คือ คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน ซึ่งเลือกตั้งโดยครัวเรือนยากจน เป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนให้หมุนเวียนคงอยู่ในหมู่บ้านตลอดไป โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ติดตามการดำเนินงานกองทุน กข.คจ.ให้มีประสิทธิภาพ 
  4. สนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพแก่ครัวเรือนจากจนเป้าหมาย หมู่บ้านละ 280,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย

ในปัจจุบันการดำเนินงานของกองทุนกข.คจ. เป็นเวลานานมากขึ้น  ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่มีผลเสียหายแก่กองทุนฯ ก็ดีไป  แต่ที่เห็นจากการทำงานในปัจจุบันกองทุนฯเริ่ม มีปัญหาเช่น มีเงินขาดไปเป็นจำนวนน้อยบ้างมากบ้าง  การที่เงินหายมีด้วยกันหลายทาง คือ 
  1. ขาดเพราะคณะกรรมการเอาเงินไปใช้หลังจากสมาชิกนำเงินมาชำระคืน 
  2. จากผู้กู้ยืมเงินไม่ย่อมชำระคืน    
  3. จากผู้กู้ยืมเงินไปเสียชีวิต

วิธีการดำเนินงาน
  1. ติดตาม/ประสานงานและให้คำแนะนำช่วยกองทุนฯอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้คณะกรรมการบริหารงานเองจนอาจคิดว่าเป็นเงินของตนเอง
  2. เมื่อเจ้าหน้าที่พบว่ามีอาการหน้าสงสัยว่าจะมีเงินหายให้ติดตามตรวจสอบทันที เข้าไปทำความเข้าใจและสนิทสนมเพื่อให้ผู้ที่นำเงินไปกล้ารับผิดแล้วรับผิดชอบเงินที่หายไป และต้องใช้วิธีพูดจูงใจให้สมาชิกเห็นความจริงใจที่ต้องช่วยเหลือเพื่อยินยอมทำสัญญารับสภาพหนี้แล้วส่งชำระหนี้ตามกำหนด
  3. ให้มีผู้ค้ำประกันการกู้  จำนวน 2 คนทุกครั้ง และให้มีการส่งเสริมการออมเงินเพื่อเป็นการป้องกันเงินหายในกรณีผู้กู้เสียชีวิตและส่งเสริมนิสัยการออมให้มีการบริจาคเงินให้กลุ่มเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนฯ เช่นค่าถ่ายเอกสาร , ค่าสมุดบัญชี,ค่าโอนเงิน ฯลฯ
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น