วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านวังควาย


บ้านวังควาย หมู่ที่ 5 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน เป็นหมู่บ้านชนบทเหมือนกับหมู่บ้านโดยทั่วไป คือ อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา (ปีละ 2 ครั้ง) อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงปลา ปลูกผักสวนครัว เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เวลาที่เหลือ สังสรรค์ กินเหล้า เล่นการพนัน

ปีงบประมาณ 2554 หมู่บ้านได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง ให้ดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ โครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเงิน 590,000 บาท แบ่งเป็น
1. กิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นเงิน 160,000 บาท
2. สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกด้านอาชีพแก่ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 46 ครัวเรือน เป็นเงิน 430,000 บาท

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลังดำเนินการตามโครงการแล้ว
1. ชาวบ้านให้ความสำคัญกับการประชุมประชาคมของหมู่บ้านมากขึ้น
2. ชาวบ้านให้ความสำคัญกับอาชีพเสริม (เลี้ยงไก่ไข่,เป็ดไข่,เลี้ยงปลา,เลี้ยงกบ) มากขึ้น เนื่องมาจากเป็นที่มาของรายได้ที่เพิ่มขึ้น
3. อบายมุขลดลง ชาวบ้านพูดคุยเรื่องการทำมาหากินมากขึ้น
4. ชาวบ้านมีทัศนคติที่ดีกับข้าราชการ และมองข้าราชการเป็นที่พึ่ง รับฟังมากขึ้น

ปัญหาที่ยังพบ
1. อาชีพเสริมที่ชาวบ้านทำ บางช่วงผลผลิตออกมามาก ทำให้ล้นตลาด
2. ชาวบ้านไม่มีความสามารถในเรื่องการตลาด ขาดความรู้เรื่องตลาด ขาดบุคลากรเดินตลาด
3. เงินทุนในการรับซื้อผลผลิตของสมาชิกไม่เพียงพอ
4. ไม่มีสถานที่เก็บผลผลิต (ห้องเย็น)

วิธีการแก้ไขปัญหา
1. ใช้บ้านผู้ใหญ่บ้าน เป็นสถานที่รวบรวมผลผลิต และจัดสมาชิกนำผลผลิตออกไปจำหน่าย
2. ระดมเงินทุนรับซื้อผลผลิตของสมาชิก

ข้อเสนอ
1. ด้านความรู้ในการส่งเสริมชาวบ้านในการจัดทำตลาด
2. ต้องการสถานที่จัดเก็บผลผลิต (ห้องเย็น)
3. เงินทุนในการรับซื้อผลผลิตจากสมาชิก

ความคาดหวัง
1. ชาวบ้านประกอบอาชีพที่หลากหลาย และมีรายได้เพิ่มขึ้น
2. ชาวบ้านพึ่งพาตนเอง และมีกิจกรรมพึ่งพาตนเองในหมู่บ้าน เช่น การดำเนินงานในรูปสหกรณ์ห้องเย็น

นายวีรพล  โพธิ์ชัย
พัฒนาการอำเภอคลองเขื่อน
จังหวัดฉะเชิงเทรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น